จะสร้างบ้านทั้งที…ควรตอกเสาเข็มให้ลึกเท่าไหร่ บ้านถึงจะไม่ทรุด

micropile-spunmicropile-blog-06

 

BSP ภูมิสยาม ไมโครไพล์ สปันไมโครไพล์ micropile ref :  https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1190774530968670

 

จะสร้างบ้านทั้งที…ควรตอกเสาเข็มให้ลึกเท่าไหร่ บ้านถึงจะไม่ทรุด

ความสำคัญของเสาเข็ม
เสาเข็มเป็นชิ้นส่วนที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของโครงสร้างบ้าน เป็นส่วนประกอบของฐานรากซึ่งจะฝังตัวอยู่ในดินเพื่อทำหน้าที่รองรับน้ำหนักบ้านทั้งหลัง หากว่าเราสร้างบ้านแล้วไม่ได้ลงเสาเข็มไว้ น้ำหนักของตัวบ้านก็จะกดทับผิวดินด้านบนให้ค่อยทรุดตัวลงทีละนิดจนก่อให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างบ้านได้

เสาเข็มช่วยแก้ปัญหาบ้านทรุดได้ยังไง
เสาเข็มรับน้ำหนักได้อย่างไร? เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักที่กดทับได้ด้วยแรง 2 ชนิดหลักๆ คือ

แรงเสียดทานที่ผิวของเสาเข็ม (Skin Friction) คือแรงต้านที่เกิดจากแรงเสียดทานระหว่างผิวของเสาเข็มกับดินโดยรอบ ซึ่งแรงที่เกิดขึ้นนี้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของดินและลักษณะของเสาเข็มแต่ละประเภท
แรงต้านที่ปลายเสาเข็ม (End Bearing) คือแรงต้านที่เกิดขึ้นบริเวณปลายเสาเข็ม ซึ่งแรงนี้เกิดจากดินที่มารองรับที่ปลายเสาเข็ม แรงนี้จะมีปริมาณมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของดินเช่นกัน

ตอนเริ่มสร้างบ้าน ควรตอกเสาเข็มให้ลึกเท่าไหร่
ในการสร้างบ้านโดยทั่วไปนั้น เสาเข็มที่รับน้ำหนักตัวโครงสร้างหลักของบ้านควรจะตอกให้ลึกจนถึงชั้นดินแข็ง (ชั้นดินแข็งในกรุงเทพฯ จะอยู่ที่ความลึกประมาณ 21 เมตร) ซึ่งจะช่วยให้เสาเข็มมีแรงต้านได้ทั้ง 2 แบบ และช่วยป้องกันการหรุดตัวของโครงสร้างบ้านในภายหลัง

ตอนต่อเติมบ้าน ควรลงเสาเข็มให้ลึกเท่าไหร่
การต่อเติมบ้านส่วนใหญ่จะเป็นการต่อเติมบนโครงสร้างเดิม จึงควรให้วิศวกรมาทำการตรวจสอบรากฐานและโครงสร้างเดิมว่าสามารถรับน้ำหนักในการต่อเติมได้หรือไม่ ถ้าหากว่าส่วนที่ต่อเติมเข้าไปมีน้ำหนักมากจนโครงสร้างเดิมไม่สามารถรับน้ำหนักได้ จะต้องมีการลงเสาเข็มเพื่อเสริมตัวโครงสร้างเดิมด้วย เพราะว่าหากไม่เสริมฐานรากเสาเข็ม อาจจะส่งผลให้โครงสร้างเดิมของบ้านเกิดการเสียหาย ซึ่งปัญหาที่จะตามเข้ามาก็คือบ้านร้าว บ้านทรุด และอาจจะบานปลายเป็นปัญหาใหญ่โตจนถึงขั้นต้องรื้อทุบใหม่ทั้งหมดได้

หากบ้านที่ต้องการต่อเติมเป็นกลุ่มบ้านจัดสรรค์ ซึ่งจุดที่ต่อเติมมักจะแคบจนเสาเข็มขนาดใหญ่ไม่สามารถเข้ามาทำงานได้ หากตอกเสาเข็มไม่ได้ความลึกจนถึงชั้นดินแข็งก็จะเสี่ยงต่อการทรุดตัวในภายหลังอีก จากปัญหาตรงนี้จึงได้มีการออกแบบเสาเข็มแบบสปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) ขึ้นมา เพื่อให้สามารถลงเข็มได้ลึกจนถึงชั้นดินแข็งในบริเวณหน้างานที่แคบแบบนี้ได้