การติดตั้งเสาเข็มลงไปในชั้นดิน ที่มีรูปแบบการรับกำลังโดยอาศัย SKIN FRICTION เป็นหลัก

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

จริงๆ เรื่องที่ผมจะนำมาฝากเพื่อนๆ ในวันนี้ผมเคยพูดถึงหลายครั้งแล้วนะครับ แต่ ที่ผมนำมาอธิบายซ้ำอีกเพราะมีเพื่อนๆ อีกหลายคนยังขาดความเข้าใจประเด็นๆ นี้อยู่ประกอบกับการที่ในช่วงเวลานี้ผมมีเพื่อนๆ และ รุ่นพี่ที่รัก และ เคารพ ของผมหลายคนกำลังที่จะสอบเลื่อนขั้นของการเป็นวิศวกรด้วย ผมเลยคิดว่าน่าจะมีประโยชน์และควรนำมาฝากเพื่อนๆ กันอีกสักรอบนึงนะครับ

(รูปที่ 1)

(รูปที่ 2)

เราจะมาดูรูปประกอบไปพร้อมกับคำอธิบายของผมด้วยนะครับ หากในรูปที่ 1 และ 2 เป็นรูปแสดงการติดตั้งเสาเข็มลงไปในชั้นดิน โดยที่ผมขอ REMARK ไว้ตรงนี้นะครับว่ากลไกการรับกำลังของเสาเข็ม 2 ต้นในรูปเหล่านี้นั้นเป็นเสาเข็มที่มีรูปแบบการรับกำลังโดยอาศัย SKIN FRICTION เป็นหลักนะครับ โดยที่ขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางของเสาเข็มต้นซ้ายและขวามมือมีค่าเท่ากับ D1 และ D2 ตามลำดับ และ เราจะให้ค่า D เป็นค่ามากที่สุดระหว่าง D1 และ D2 นะครับ หรือ เขียนได้ว่า

D = MAXIMUM ( D1 , D2 )

ก่อนหน้านี้มีเพื่อนๆ หลายคนของผมได้บอกกับผมว่าได้ไปอ่านตำรามาหลายเล่มจากหลายๆ แหล่งด้ัวยกัน บางเล่มก็บอกว่า ระยะห่างของเสาเข็มที่ควรใช้ คือ 2 เท่าของระยะ D บ้างก็บอกว่าระยะที่นิยมและเป็นที่ยอมรับกันจริงๆ คือ 3 เท่าของระยะ D บ้าง พอเจอแบบนี้เพื่อนๆ จึงเกิดความสับสนกันนะครับว่าระยะห่างจริงๆ ที่ควรใช้นั้นควรเป็นเท่าใดกันแน่ ?

ก่อนอื่นเรามาเริ่มต้นที่พื้นฐานที่พวกเราน่าที่จะทราบกันดีอยู่แล้วนะครับ นั่นก็คือ กลไกการรับ นน ของชั้นดินที่จะทำหน้าที่รับกำลังตามแนวแกนของเสาเข็ม จะมีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบหลักๆ ได้แก่
1. การรับกำลังที่ผิวรอบข้างของตัวเสาเข็ม หรือ SKIN FRICTION
2. การรับกำลังที่ผิวล่างสุดของตัวเสาเข็ม หรือ END BEARING

ดังนั้นระยะห่างของเสาเข็มที่มีความเหมาะสมจริงๆ แล้วควรที่จะขึ้นอยู่กับว่าตัวชั้น “ดิน” ที่ทำหน้าที่รองรับตัวเสาเข็มของเรานั้น มีพฤติกรรมหรือกลไกการรับกำลังจากรูปแบบใดเป็นหลักนั่นเองครับ

ตัวอย่างเช่น หากดินของเราเป็นไปตามรูปที่ผมแนบมาด้วยในรูปที่ 1 และ 2 คือ เป็นแบบ SKIN FRICTION เป็นหลัก ในรูปที่ 1 หากเราให้ระยะห่างมีค่าเท่ากับ 3 เท่าของ D เมื่อเสาเข็มฝังตัวลงไปในดินจะทำให้รอบๆ ตัวเสาเข็มนั้นเกิดการกระจายตัวของแรงเค้น (STRESS CONTOUR) ออกไปรอบๆ ตัวเสาเข็ม จะทำให้ค่าการกระจายตัวประสิทธิผลของความเค้นนี้เกิดขึ้น (DEVELOP) ได้อย่างเต็มที่ เพราะ ระยะห่างระหว่างเสาเข็มนั้นมีมากเพียงพอ ซึ่งแน่นอนว่าจะทำให้ค่าการกระจายตัวประสิทธิผลของความเค้นในเสาเข็มทั้ง 2 ต้นนี้มีระยะห่างระหว่างกันและกัน (GAP) ที่มากเพียงพอด้วย ในรูปที่ 2 หากเราให้ระยะห่างนี้มีค่าน้อยกว่า 3 เท่าของ D เมื่อเสาเข็มฝังตัวลงไปในดินจะทำให้รอบๆ ตัวเสาเข็มนั้นเกิดการกระจายตัวของแรงเค้น (STRESS CONTOUR) ออกไปรอบๆ ตัวเสาเข็ม จะทำให้ค่าการกระจายตัวประสิทธิผลของความเค้นนี้เกิดขึ้นได้ไม่เต็มที่ เพราะ ระยะห่างระหว่างเสาเข็มนั้นมีค่าน้อยเกินไป ซึ่งแน่นอนว่าจะทำให้ค่าการกระจายตัวประสิทธิผลของความเค้นในเสาเข็มทั้ง 2 ต้นนี้มีการซ้อนทับกัน (OVERLAPPED) นั่นเองนะครับ เป็นต้น

ดังนั้นหากเพื่อนๆ เป็นผู้ออกแบบ และ กำลังทำการออกแบบส่วนเสาเข็มอยู่ เพื่อนๆ ก็ควรที่จะต้องทำการศึกษาผลจากการทำ SOIL BORING TEST ในโครงการที่เราทำการออกแบบให้เข้าใจพฤติกรรมการรับกำลังของดินให้ดีเสียก่อนนะครับ จากนั้นเพื่อนๆ จึงจะสามารถทำการกำหนดระยะห่างระหว่างตัวเสาเข็มที่มีความเหมาะสมได้ เพราะ การที่เรากำหนดให้ระยะนี้มีค่ามากๆ เอาไว้ก่อน ถึงแม้ว่าจะส่งผลดีต่อการออกแบบเสาเข็มทางด้านการรับกำลัง แต่ ก็จะส่งผลเสียอื่นๆ ตามมาเช่นกัน เช่น อาจทำให้สิ้นเปลืองพื้นที่การก่อสร้างไป มิหนำซ้ำยังทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการทำงานโครงสร้างฐานรากมากๆ ทั้ง ค่าคอนกรีต ค่าเหล็กเสริม ค่าแรงงาน ในการก่อสร้างตัวฐานราก เป็นต้น ดังนั้นเราจึงควรกำหนดระยะๆ นี้ให้มีความเหมาะสมจะเป็นการดีที่สุดต่อทุกๆ ด้านเมื่อต้องทำการออกแบบนะครับ ส่วนสาเหตุว่าเพราะอะไรเราจึงนิยมใช้ระยะห่างนี้เท่ากับ 3 เท่าของ D ก็เป็นเพราะว่าระยะดังกล่าวจะเป็นระยะที่เพียงพอต่อการที่เสาเข็มนั้นมีกลไกการรับกำลังในทั้ง 2 รูปแบบนั่นเองครับ

หวังว่าความรู้ และ ข่าวสารเล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com