จุดต่อที่ถ่ายแรงดัด และจุดต่อแบบกึ่งถ่ายแรงดัด

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันอังคารแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” นะครับ


ตามที่ผมได้รับปากเพื่อนๆ เอาไว้ว่าในสัปดาห์นี้ผมจะขออนุญาตนำเอาเรื่องของจุดต่อที่จะถ่ายแรงดัดด้วยและจุดต่อแบบกึ่งถ่ายแรงดัดมาพูดถึงและอธิบายให้แก่เพื่อนๆ ให้มีความรู้และความเข้าใจที่มากยิ่งขึ้นและตามที่ผมได้เริ่มต้นอธิบายไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า โครงสร้างเหล็กรูปพรรณของเรานั้นจะมีจุดต่อภายในโครงสร้างเป็นแบบใดแบบหนึ่งหรืออาจจะมีทั้ง 3 แบบข้างต้นก็มีความเป็นไปได้ สำคัญอยู่ที่ผู้ทำการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างจะเป็นผู้กำหนดลงไปในแบบวิศวกรรมโครงสร้างและเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้วที่ผมได้เริ่มต้นทำการพูดถึงจุดต่อที่จะถ่ายแค่แรงเฉือนเพียงเท่านั้นไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว วันนี้ผมจะขอทำการอธิบายให้เพื่อนๆ ได้ทำความรู้จักกันกับจุดต่อที่จะถ่ายแรงดัด หรือ MOMENT CONNECTION และจุดต่อแบบกึ่งถ่ายแรงดัด หรือ PARTIAL MOMENT CONNECTION กันต่อเลยก็แล้วกันนะครับ

ในการก่อสร้างจุดต่อที่จะถ่ายแรงดัดและจุดต่อแบบกึ่งถ่ายแรงดัดเราอาจจะใช้เป็นจุดต่อที่อาศัยสลักเกลียว หรือ BOLT CONNECTION หรือ จุดต่อที่อาศัยการเชื่อม หรือ WELDED CONNECTION ก็ได้ ซึ่งเอาเข้าจริงๆ แล้วรูปแบบของจุดต่อที่จะถ่ายแรงดัดและจุดต่อแบบกึ่งถ่ายแรงดัดนั้นจะมีความละม้ายคล้ายคลึงกันกับจุดต่อที่จะถ่ายแค่แรงเฉือนเพียงเท่านั้นอยู่ประการหนึ่งนั่นก็คือ จุดต่อประเภทนี้จะไม่ได้ทำหน้าที่ในการถ่ายเฉพาะเพียงแค่แรงดัดเพียงแรงเดียวแต่จะถ่ายทั้งแรงตามแนวแกน หรือ AXIAL FORCE รวมถึงแรงเฉือน หรือ SHEAR FORCE และแรงบิด หรือ TORSIONAL FORCE ได้อีกด้วย แต่ที่เราเรียกจุดต่อประเภทนี้ว่าเป็นจุดต่อที่จะถ่ายแรงดัดและจุดต่อแบบกึ่งถ่ายแรงดัดนั้นเป็นเพราะว่าแรงดัดก็คือแรงหลักที่จะถูกส่งผ่านจุดต่อทั้งสองประเภทนี้น่ะครับ

โดยส่วนใหญ่แล้วลักษณะเด่นๆ ของจุดต่อที่จะถ่ายแรงดัดและจุดต่อแบบกึ่งถ่ายแรงดัดจะอยู่ตรงที่จุดต่อทั้งสองประเภทนี้จะมีการเชื่อมกันระหว่างชิ้นส่วนโครงสร้างหลักกับชิ้นส่วนโครงสร้างรองโดยผ่านชิ้นส่วนโครงสร้างเหล็กที่เราเรียกว่า CONTINUITY PLATE ซึ่งจะทำหน้าที่ในการถ่ายแรงดัดเป็นหลักและชิ้นส่วนโครงสร้างเหล็กที่เราเรียกว่า SHEAR TAB ซึ่งจะทำหน้าที่ในการถ่ายแรงเฉือนเป็นหลัก โดยที่ส่วนใหญ่แล้วเจ้า CONTINUITY PLATE นั้นก็จะถูกยึดเข้ากับชิ้นส่วนในแนวนอนหรือ FLANGE และเจ้า SHEAR TAB นั้นก็จะถูกยึดเข้ากับชิ้นส่วนในแนวตั้งหรือ WEB ของชิ้นส่วนรอง สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เป็นเพราะว่าแรงดัดที่เกิดขึ้นภายในชิ้นส่วนรองนั้นจะเกิดขึ้นและจะถูกส่งถ่ายผ่านไปโดยชิ้นส่วนในแนวนอนเป็นหลักและแรงเฉือนที่เกิดขึ้นภายในชิ้นส่วนรองนั้นก็จะเกิดขึ้นและจะถูกส่งถ่ายผ่านไปโดยชิ้นส่วนในแนวตั้งเป็นหลักนะครับ

ซึ่งก็จะเป็นไปตามที่ผมได้ทำการอธิบายไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า หากเรามีความต้องการที่จะทำการถ่ายแรงเฉือนไปยังชิ้นส่วนหลักให้ได้ เราก็มีความจำเป็นที่จะต้องทำการเชื่อมประสานชิ้นส่วนชิ้นนี้ไปยังชิ้นส่วนหลักให้ได้ด้วย สำหรับจุดต่อประเภทนี้ชิ้นส่วนที่เป็นชิ้นส่วนในแนวนอนนั้นเราก็จะต้องทำการเชื่อมหรือประสานให้เข้ากันกับตัวชิ้นส่วนหลักด้วย สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เป็นเพราะว่าแรงดัดที่เกิดขึ้นภายในชิ้นส่วนรองนั้นจะเกิดขึ้นภายในชิ้นส่วนในแนวนอนเป็นหลัก ดังนั้นหากเรามีความต้องการที่จะทำการถ่ายแรงดังกล่าวให้ส่งผ่านไปยังชิ้นส่วนหลัก เราก็จะต้องทำให้ชิ้นส่วนดังกล่าวนั้นเกิดการเชื่อมประสานซึ่งกันและกันนั่นเองครับ

ในสัปดาห์หน้าผมจะขออนุญาตนำเอาเรื่องของวิธีในการที่เราจะใช้ในการคำนวณว่า หากเรามีความต้องการที่จะทำการจำแนกว่า จุดต่อของเรานั้นเป็นแบบใดระหว่าง จุดต่อที่จะถ่ายแค่แรงเฉือนเพียงเท่านั้น หรือ จุดต่อที่จะถ่ายแรงดัด หรือ จุดต่อแบบกึ่งถ่ายแรงดัด เราจะมีวิธีในการคำนวณอย่างไรได้บ้างเอามามาพูดถึงและอธิบายให้แก่เพื่อนๆ ให้มีความรู้และความเข้าใจที่มากยิ่งขึ้น หากเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจเนื้อเรื่องเกี่ยวกับหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษ ก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความเกี่ยวกับเรื่องๆ นี้ของผมได้ในการพบกันในครั้งต่อไปของเราได้นะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันอังคาร
#ความรู้ที่มีประโยชน์เพื่อคุณผู้หญิง
#ความรู้ประเภทของจุดต่อภายในโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ
#ครั้งที่2
ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com