ขั้นตอนการคำนวณหาค่าความแข็งแกร่งของดิน ในรูปของค่าสปริงยืดหยุ่นของฐานรากแบบตื้น

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

หลังจากที่ผมได้พูดและอธิบายถึงเรื่องค่าโมดูลัสยืดหยุ่นของดินหรือว่าค่า Esoil จบไปก่อนหน้านี้แล้วซึ่งเราจะนำเอาค่าๆ นี้ไปใช้ในการคำนวณหาค่าความแข็งแกร่งของสปริงที่มีความยืดหยุ่นในทิศทางที่ขนานไปกับดินหรือค่า Ksh แต่ก่อนที่ผมจะพูดถึงค่าๆ นี้วันนี้ผมจะมาแนะนำให้เพื่อนๆ รู้จักวิธีในการคำนวณหาค่าความแข็งแกร่งของสปริงที่มีความยืดหยุ่นในทิศทางที่ตั้งฉากกับดินหรือค่า Ksv นะครับ

 

ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลจากการออกแบบงานวิศวกรรมฐานรากของเรานั้นมีความปลอดภัยอยู่ในระดับที่ดี ผมจึงอยากจะขอแนะนำแก่เพื่อนๆ ว่าเราสามารถที่จะเริ่มต้นทำการคำนวณหาค่า Ksv ข้างต้นนี้ได้จากสมการๆ นี้ นั่นก็คือ

 

Ksv = q(u) X Z / ∆(max)

 

ทั้งนี้ค่า q(u) ก็คือ ค่าแรงแบกทานประลัยของดิน (มีหน่วยเป็น แรง ต่อ ระยะทาง ยกกำลังสอง) ค่า X และ Z ก็คือ ค่าความ กว้าง และความ ยาว ของพื้นที่ๆ ดินส่วนนั้นๆ จะต้องรับผิดชอบในการรับน้ำหนักส่วนต่างๆ ของโครงสร้างฐานรากตามลำดับ (มีหน่วยเป็น ระยะทาง) และสุดท้ายค่า ∆(max) ก็คือ ค่าการทรุดตัวมากที่สุดของดินที่เรายินยอมจะให้เกิดขึ้นได้โดยที่ไม่ทำให้เกิดผลใดๆ ต่องานวิศวกรรมโครงสร้างของอาคาร (มีหน่วยเป็น ระยะทาง) โดยหากว่าเราทำการตัดหน่วยข้างต้นออกมาดังที่ได้แสดงอยู่ในรูปของโพสต์ๆ นี้ก็จะพบว่าค่า Ksv นั้นจะมีหน่วยเป็น แรง ต่อ ระยะทาง ซึ่งก็คือหน่วยเดียวกันกับค่าความแข็งแกร่งของสปริงที่มีความยืดหยุ่นนั่นเองครับ

 

โดยที่เราจะสามารถทำการหาหรือคำนวณหาค่าของ q(u) นี้ได้จากหลากหลายสมการ รวมไปถึงจากการทดสอบหลายๆ วิธีการได้นะครับแต่วิธีการง่ายๆ ที่ผมจะขอแนะนำให้ใช้ก็คือ ทำการคำนวณตามวิธีการของ TERZAGHI นั่นก็คือ

 

q(u) = (c) (Nc) + (q) (Nq) + (γ) (B) (Nγ) / 2

 

สำหรับสมการข้างต้นค่า c ก็คือ ค่าหน่วยแรงยึดเกาะกันของดิน ค่า q ก็คือ ค่าแรงดันของดินส่วนที่อยู่เหนือระดับของฐานรากขึ้นไปซึ่งจะสามารถทำการคำนวณได้จาก (γ)(Df) เมื่อค่า Df ก็คือ ความลึกของฐานราก

 

หมายเหตุที่ 1: สำหรับประเด็นนี้ผมขอแนะนำให้เพื่อนๆ ลองย้อนกลับไปอ่านโพสต์ของผมก่อนหน้านี้ที่ได้ทำการอธิบายค่าๆ นี้เอาไว้แล้วนะครับ

 

ค่า γ ก็คือ ค่าหน่วยน้ำหนักของดิน ค่า B ก็คือ ความกว้างของฐานรากที่ต้องการที่จะทำการออกแบบและสุดท้ายค่า Nc Nq และ Nγ ก็คือ ค่า BEARING CAPACITY FACTOR ซึ่งจะเป็นพารามิเตอร์ที่ไร้หน่วยและจะขึ้นอยู่กับค่ามุมเสียดทานภายในของตัวดินเป็นหลักครับ

 

หมายเหตุที่ 2: สมการข้างต้นนี้จะมีเอาไว้ใช้กับกรณีที่ดินนั้นอยู่ในสภาวะไม่ระบายน้ำหรือ UNDRAINED CONDITION ดังนั้นสำหรับดินที่อยู่ในสภาวะระบายน้ำหรือ DRAINED CONDITION เราจะต้องทำการปรับค่าของพารามิเตอร์ต่างๆ ที่อยู่ภายในสมการๆ นี้ให้เป็นแบบประสิทธิผลเสียก่อน ซึ่งจะทำให้หน้าตาของสมการข้างต้นนี้เปลี่ยนไปเป็น

 

q(u) = (c’) (Nc) + (q’) (Nq) + (γ’) (B) (Nγ) / 2

 

เอาเป็นว่าในครั้งต่อไปที่เราจะได้พบกัน ผมจะขออนุญาตมาทำการยกตัวอย่างในการคำนวณหาค่า Ksv นี้ให้แก่เพื่อนๆ ได้รับทราบกันบ้าง หากว่ามีเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษ ก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความของผมในเรื่องๆ นี้ได้ในโอกาสหน้านะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็ม

#อธิบายถึงขั้นตอนในการคำนวณหาค่าความแข็งแกร่งของดินในรูปของค่าสปริงยืดหยุ่นของฐานรากแบบตื้นครั้งที่6

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com