ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ

ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ

 

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

หลังจากที่ก่อนหน้านี้ผมได้เคยโพสต์และให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ประเภทของการออกแบบและการใช้งานโครงสร้างเหล็กแผ่นที่จะมีหน้าที่ในการรับแรงอัดจากเสาเหล็ก หรือเรียกง่ายๆ ว่าโครงสร้าง BASE PLATE ว่ามีทั้งหมด 2 ประเภทด้วยกัน ประเภทที่ 1 ได้แก่แบบที่ไม่มีการเทให้เต็มด้วยซีเมนต์ชนิดไม่มีการหดตัวหรือ NON-SHRINK GROUT และประเภทที่ 2 ได้แก่แบบที่มีการเทให้เต็มด้วยซีเมนต์ชนิดไม่มีการหดตัว พร้อมกันนี้ผมยังเคยได้นำภาพจริงๆ ของโครงสร้างเหล็กแผ่นที่ยังไม่ได้มีการทำงานการเทให้เต็มด้วยซีเมนต์ชนิดไม่มีการหดตัวให้ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นในวันนี้ผมจึงคิดว่าน่าจะได้ออกติดตามดูสิว่า โครงสร้างดังกล่าวนั้นมีสภาพเป็นอย่างไรนะครับ

หากสังเกตดูจากรูปดีๆ จะพบว่าถึงแม้ว่ารูปที่ผมถ่ายมาให้ดูนี้เป็นรูปในเวลากลางคืน นั่นเป็นเพราะผมต้องการที่จะแสดงให้เห็นว่า เสาไฟเหล่านี้มีการเปิดให้ใช้งานมานานแล้วแต่ผมก็เชื่อว่าเพื่อนๆ น่าที่จะมองออกว่าจริงๆ แล้วรูปก่อนและหลังนี้ก็คือรูปในสถานที่เดียวกัน ต่างกันที่เวลาในการถ่ายมาเท่านั้นครับ ซึ่งผลก็จะปรากฏให้เห็นว่าในขณะนี้การก่อสร้างน่าจะแล้วเสร็จลงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราจึงจะสามารถเห็นได้ว่าใต้เหล็กแผ่นนั้นจะมีการเทให้เต็มด้วย NON-SHRINK GROUT เป็นที่เรียบร้อยแล้ว แบบนี้ก็น่าจะเป็นที่สบายใจได้แล้วเพราะอย่างน้อยการก่อสร้างก็เป็นไปตามที่ผู้ออกแบบได้ทำการตั้งสมมติฐานเอาไว้

ซึ่งประเด็นนี้เองที่ผมเน้นย้ำกับเพื่อนๆ มาโดยตลอดว่า หากเราทำหน้าที่เป็นโฟร์แมนหรือวิศวกรผู้ควบคุมการทำงานก่อสร้างก็ตามแต่ หากว่าภายในแบบกำหนดมาให้ทางหน้างานเราต้องมีรายละเอียดและขั้นตอนในการทำงานการก่อสร้างเป็นอย่างไรก็ตาม เราก็มีหน้าที่ๆ จะต้องคอยควบคุมการทำงานให้การก่อสร้างนั้นออกมาตามนั้น เพราะเวลาที่ทางผู้ออกแบบนั้นได้ทำการออกแบบและให้รายละเอียดต่างๆ ในโครงสร้างมา ทางผู้ออกแบบเองก็ย่อมที่จะทราบดีถึงสมมติฐานและข้อจำกัดต่างๆ ของโครงสร้างนั้นๆ ว่ามีลักษณะเป็นเช่นใดบ้าง หากเราไม่ปฏิบัติตามโดยขาดไปหรือไม่มีเหตุและผลอันสมควรแล้ว นั่นก็อาจจะทำให้เรามีความผิดฐานละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่ก็ได้นะครับ

เอาเป็นว่าในวันนี้ผมจะขออนุญาตเล่าและสรุปให้เพิ่อนๆ ได้รับทราบกันอีกครั้งหนึ่งก็แล้วกันถึงวิธีในการทำงานติดตั้งแผ่นเหล็กเพื่อทำหน้าที่ในการรองรับเสาเหล็ก ซึ่งจะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบหลักๆ ซึ่งประกอบด้วย

1. จะต้องมีการ GROUT ใต้แผ่น PLATE ด้วยวัสดุ NON-SHRINK ซึ่งหากเป็นโครงสร้างที่พบได้โดยทั่วๆ ไปแล้ว วิศวกรผู้ออกแบบก็มักที่จะทำการกำหนดให้รายละเอียดของจุดต่อให้เป็นแบบนี้

2. ไม่จำเป็นต้องมีการ GROUT ใต้แผ่น PLATE ด้วยวัสดุ NON-SHRINK ใดๆ เลย ซึ่งก็อาจจะพบเห็นได้เหมือนกันแต่จะมีในสัดส่วนที่น้อยกว่าแบบแรกค่อนข้างมาก

สาเหตุที่เราพบแบบที่สองได้น้อยกว่าแบบแรกก็เพราะ หากทำตามแบบแรกซึ่งเป็นการ GROUT ด้วยวัสดุ NON-SHRINK เนื่องด้วยการที่ตัววัสดุเองนั้นมีจุดเด่นทางด้าน หน่วยแรงเค้นแบบกด (COMPRESSIVE STRESS) ที่ดีก็จริงแต่การ GROUT นั้นก็จะใช้วัสดุตัวนี้ในปริมาณที่น้อยมากๆ เพื่อเทียบกับบริเวณพื้นที่รับแรงทั้งหมด ซึ่งนั้นอาจจะไม่ได้ช่วยทำให้ค่าความแข็งแกร่ง (STIFFNESS) ที่บริเวณนี้เพิ่มมากยิ่งขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญแต่อย่างใด อย่างไรก็ดีก็ต้องยอมรับว่าการ GROUT ด้วย NON-SHRINK ก็ยังเป็นการทำให้ค่าความแข็งแกร่งนั้นเพิ่มขึ้นมากกว่าแบบที่ไม่ได้มีการ GROUT อย่างแน่นอนนะครับ และ ที่สำคัญคือเมื่อทำงานเสร็จแล้วก็ยังจะช่วยทำให้งานแลดูแล้วมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากกว่าแบบที่ไม่ทำการ GROUT มากๆ เลยละครับ

อีกประการหนึ่งที่ผมได้เคยกล่าวถึงไปก่อนหน้าก็คือ ในแบบที่สองนั้นเรามักจะมีการใช้งานก็ต่อเมื่อมีความจำเป็นในการทำงานจริงๆ เท่านั้น เช่น เสาเหล็กที่มีการใช้งานเป็นแบบชั่วคราว (TEMPORARY POLE) ซึ่งเสาเหล็กจำพวกนี้มักจะมีความจำเป็นที่จะต้องสามารถทำการ รื้อถอนออกไปได้โดยง่าย หากทำการ GROUT จะเป็นอุปสรรคเวลาทำการรื้อถอนออกไป หรือ เป็นเสาเหล็กที่สามารถที่จะทำการปรับระดับได้ (ADJUSTABLE POLE) ซึ่งเสาเหล็กจำพวกนี้ต้องสามารถทำการแก้ไข หรือ ทำการปรับในเรื่องระดับความสูงต่ำได้โดยง่าย หากทำการ GROUT ปิดไปทั้งหมดก็จะเป็นอุปสรรคต่อการทำการปรับในเรื่องของระดับดังกล่าวได้ เป็นต้น ซึ่งจากเหตุผลเพียง 2 ข้อข้างต้นเราก็จะมีโอกาสพบเจอได้น้อยครั้งมากๆ เลยนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์ของวันอังคาร
#ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ
#ติดตามและอธิบายถึงวิธีการเติมหรือไม่เติมช่องว่างใต้แผ่นเหล็กให้เต็มด้วยซีเมนต์ชนิดไม่มีการหดตัว

ADMIN JAMES DEAN

 

 

 

Bhumisiam ภูมิสยาม
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
4) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
5) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
9) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
Mr.Micropile

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449

#ไมโครไพล์ #สปันไมโครไพล์ #เสาเข็มไมโครไพล์ #เสาเข็มสปันไมโครไพล์ #เสาเข็ม #ตอกเสาเข็ม #micropile #spunmicropile #microspunpile #spunpile #microspun