ประเภทของเสาเข็ม

micropile-spunmicropile-blog-07

 

BSP ภูมิสยาม ไมโครไพล์ สปันไมโครไพล์ micropile ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1229489727097150:0

 

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่านครับ
เนื่องจากมีคำถามที่ถามมายังแอดมินเข้ามาเยอะมากเกี่ยวกับเรื่องชนิด และ ประเภทของเสาเข็มนะครับ ทำให้แอดมินมีความเห็นว่าเพื่อเป็นการทำความเข้าใจที่ถูกต้องและตรงกันของเพื่อนๆ จึงอยากที่จะขออธิบายโดยแยกประเภทของเสาเข็มดังต่อไปนี้นะครับ
(1) ประเภทของเสาเข็มตามประเภทของการรับกำลัง
(2) ประเภทของเสาเข็มตามประเภทของวัสดุที่ใช้ทำ
(3) ประเภทของเสาเข็มตามประเภทของรูปแบบการก่อสร้าง
โดยในวันนี้จะขอเริ่มต้นอธิบาย (1) การแบ่งประเภทของเสาเข็มตามประเภทของการรับกำลังก่อนนะครับ
(A) เสาเข็มแรงฝืด (FRICTION PILE) เป็นเสาเข็มที่ปลายของเสาเข็มนั้นไม่ได้หยั่งอยู่บนชั้นดินแข็ง กระบวนการรับกำลังจะอาศัยการเกิดแรงฝืดระหว่างผิวของเสาเข็มกับดินโดยรอบของเสาเข็ม เสาเข็มที่ตอกผ่านชั้นดินที่มีความเชื่อมแน่น หรือ ดินเหนียว (CLAY) จะเกิดแรงฝืดได้ดีกว่าดินที่ไม่มีความเชื่อมแน่น หรือ ทราย (SAND) เสาเข็มประเภทนี้จะเหมาะกับงานขนาดเล็ก เสาเข็มชนิดนี้อาจมีแรงต้านที่ปลายช่วยในการรับแรงด้วยแต่ก็ถือเป็นส่วนน้อยเมื่อเปรียบเทียบเทียบกับแรงฝืดที่เกดขึ้นทั้งหมด จนบางครั้งเราถือว่าแรงแบกทานที่เข็มรับได้นี้เท่ากับศูนย์เลยทีเดียวครับ (ดูรูปซ้ายมือประกอบ)
(A) เสาเข็มแรงต้านทานส่วนปลาย (END BEARING PILE) เป็นเสาเข็มที่ตอกลงถึงชั้นดินทราย หรือ ชั้นดินแข็ง เสาเข็มที่ลงถึงชั้นดินแข็งเพียงพอจะช่วยลดการทรุดตัว โดยเสาเข็มควรจมอยู่ใน
ชั้นดินแข็งไม่น้อยกว่า 1-3 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางเสา เสาเข็มแบบนี้จะเหมาะกับงานอาคารที่มีขนาดใหญ่ เสาเข็มชนิดนี้อาจมีแรง
ฝืดช่วยในการรับแรงด้วยแต่ก็ถือเป็นส่วนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกันกับแรงต้านที่ปลาย (ดูรูปขวามือประกอบ)
โดยที่เสาเข็ม SPUN MICRO PILE ของทางภูมิสยามนั้นสามารถที่จะจำแนกให้อยู่ได้ในประเภทของเสาเข็มตามประเภทของการรับกำลังได้ทั้ง 2 แบบเลยนะครับ เพราะว่าหากสังเกตดูจะพบว่าเสาเข็ม SPUN MICRO PILE ถึงจะมีขนาดหน้าตัดที่ค่อนข้างเล็กและกะทดรัดพอสมควร เพราะ ว่าทางภูมิสยามต้องการที่จะใช้ประโยชน์ทางด้าน นน ที่เบา สามารถที่จะขนาถ่ายเข้าไปยังหน้างานที่ยากลำบากได้ ต้องการให้เกิดแรงสั่นสะเทือนจากการตอกเสาเขมที่น้อยมากๆ แต่ กระนั้นก็ยังได้รับการออกแบบให้มีเส้นรอบรูป และ ขนาด พท หน้าตัดที่มีขนาดเพียงพอต่อการรับกำลังด้วย ดังนั้นไม่ว่าปลายเสาเข็มจะวางอยู่ในชั้นดินใดก็ตาม ก็สามารถที่จะรับกำลังได้ทั้ง 2 รูปแบบตามที่วิศวกรได้ออกแบบเอาไว้เลยครับ
วันพรู่งนี้แอดมินจะมาต่อเรื่องประเภทของเสาเข็มตามประเภทของวัสดุที่ใช้ทำกันนะครับ
ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าความรู้ที่ผมนำมาฝากเพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชนต่อตัวท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ADMIN JD @ ภูมิสยามไมโครไพล์
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดผนังกำแพง ไม่ทำให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile) สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก. ของ ภูมิสยาม ซัพพลาย ติดต่อ สายด่วน โทร 081-634-6586

MICROPILE ไมโครไพล์ สปันไมโครไพล์ เสาเข็มไมโครไพล์ เข็มสปันไมโครไพล์ เสาเข็มสปันไมโครไพล์ SPUNMICROPILE SPUN MICROPILE MICRO SPUNPILE