ระดับของหัวเสาเข็ม ที่ควรใช้เพื่อทำการตรวจสอบระยะการหนีศูนย์ หรือ ที่นิยมเรียกกันว่า PILE DEVIATE

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

วันนี้ผมจะขออนุญาตคั่นการโพสต์เกี่ยวกับเรื่อง BORING LOG กันสัก 1 อาทิตย์นะครับเพราะว่าผมเพิ่งไปประสบพบเจอเข้ากับเหตุการณ์ๆ หนึ่งโดยบังเอิญและคิดว่าน่าจะยังมีเพื่อนๆ อีกหลายๆ คนที่อาจยังไม่ทราบข้อเท็จจริงประการนี้ จึงตัดสินใจที่จะนำเอาประเด็นๆ นี้มาเล่าสู่กันฟังแก่เพื่อนๆ ซึ่งเรื่องนี้ก็คือ ระดับของหัวเสาเข็ม ที่ควรใช้เพื่อจะทำการตรวจสอบระยะการหนีศูนย์ หรือ ที่เรานิยมเรียกกันว่า PILE DEVIATE นั่นเองครับ

 

จริงๆ แล้วระดับของหัวเสาเข็มที่ควรใช้เพื่อทำการสอบทานระยะการหนีศูนย์นั้นควรที่จะเป็น ระดับตัดหัวเสาเข็ม หรือ ที่เรานิยมเรียกกันว่า PILE CUT OFF LEVEL แต่ เนื่องด้วยข้อจำกัดหลายๆ อย่างในการทำงานนั้นเรามักจะไม่สามารถที่จะรอให้ทำการเปิดดินเพื่อทำการตัดหัวเสาเข็มที่ระดับดังกล่าวได้ จึงนิยมที่จะใช้ระดับสูงขึ้นมาจากระดับดินเดิมในสถานที่ก่อสร้างประมาณ 5-10 ซม สาเหตุที่เรานิยมใช้ค่าระดับๆ นี้นั่นเป็นเพราะว่า ยิ่งเสาเข็มนั้นฝังตัวลงไปใต้ดินลึกเท่าใด เสาเข็มก็ยิ่งมีแนวโน้มที่จะยิ่งหนีศูนย์น้อยลงๆ มากเท่านั้นและในทางกลับกันยิ่งเราปล่อยให้เสาเข็มนั้นโผล่ขึ้นไปเหนือดินสูงขึ้นไปเท่าใด เสาเข็มก็ยิ่งมีแนวโน้มที่จะเกิดการหนีศูนย์มากยิ่งขึ้นเช่นกัน ซึ่งถามว่าค่าการหนีศูนย์จริงๆ ที่เราควรสนใจว่าเกิดขึ้นในเสาเข็มเป็นเท่าใดก็คือ ระดับที่ต้องทำการตัดหัวเสาเข็ม แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดดังที่ผมได้เอ่ยถึงข้างต้นเราก็จะอนุโลมทำการตรวจสอบค่าการหนีศูนย์นี้ที่ระดับเหนือดินเดิมในสถานที่ก่อสร้างเล็กน้อย แต่ เราจะไม่ใช้ค่าการหนีศูนย์ที่ทำการตรวจสอบได้ที่ระดับหัวของเสาเข็มที่โผล่ขึ้นมาเหนือดินโดยที่เรายังไม่ได้ทำการตัดหัวของเสาเข็มโดยเด็ดขาด ซึ่งสาเหตุนั้นมีหลายประการนะครับ แต่ หนึ่งในนั้นก็คือ มันไม่มีความจำเป็นใดๆ เลยที่จะใช้ค่าการหนีศูนย์ของเสเข็มที่ระดับๆ นี้นั่นเป็นเพราะว่าอย่างไรเสียในความเป็นจริงแล้วตัวโครงสร้างเสาเข็มของเรานั้นก็ไม่ได้มีการวางตัวอยู่ในฐานรากของเราที่ระดับๆ นี้อยู่แล้ว เรามาดูตัวอย่างกันสักเล็กน้อยก็แล้วกันนะครับ

 

จากรูปเป็นภาพสเก็ตช์โครงสร้างเสาเข็มที่วางอยู่ในดินโดยที่เส้นสีน้ำเงินคือ ตำแหน่งของเสาเข็มที่ได้รับการออกแบบเอาไว้เดิม ส่วนเส้นสีแดงคือ ตำแหน่งของเสาเข็มที่เกิดจากการตอกจริงๆ

 

หากเราเริ่มต้นทำการตรวจสอบค่าการหนีศูนย์ของเสาเข็มที่ระดับแรกนั่นก็คือ ระดับ PILE CUT OFF เราก็จะพบว่า ค่าการหนีศูนย์นั้นมีค่าเพียงแค่ 1.50 ซม เท่านั้น

 

ต่อมาหากเราทำการตรวจสอบค่าการหนีศูนย์ของเสาเข็มที่ระดับที่สองนั่นก็คือ ระดับเหนือดินเดิมในสถานที่ก่อสร้างเล็กน้อย เราก็จะพบว่า ค่าการหนีศูนย์นั้นจะมีค่าเพิ่มขึ้นเป็น 5.00 ซม (เพิ่มขึ้นจากค่าการหนีศูนย์จริงๆ ประมาณ 3 เท่าตัว)

 

สุดท้ายหากเราทำการตรวจสอบค่าการหนีศูนย์ของเสาเข็มที่ระดับหัวของเสาเข็มที่ไม่ได้รับการตัดเลย เราก็จะพบว่า ค่าการหนีศูนย์นั้นมีค่ามากถึง 8.00 ซม (เพิ่มขึ้นจากค่าการหนีศูนย์จริงๆ ประมาณ 5 เท่าตัว)

 

ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลอันใดเลยที่เราควรจะทำการสนใจค่าการหนีศูนย์ที่ระดับสุดท้ายนี้ เพราะมันเป็นค่าการหนีศูนย์ของเสาเข็มที่เกิดขึ้นมากจนเกินความเป็นจริงน่ะครับ

 

ดังนั้นหากว่าเสาเข็มของเรานั้นไมได้เกิดการเยื้องศูนย์มากขนาดนั้น เหตุใดจึงต้องทำการพิจารณาที่ค่าๆ นี้กัน เพราะ ต้องไม่ลืมว่า หากว่าเสาเข็มนั้นเกิดการเยื้องศูนย์ออกไปจริงๆ การตรวจสอบ การแก้ไขดัดแปลงโครงสร้างของฐานรากอันเนื่องมาจากการที่เสาเข็มนั้นเกิดการหนีศูนย์ไปนั้นก็เป็นเรื่องที่มีความจำเป็น แต่ จริงๆ แล้วมันไม่ใช่เรื่องที่ควรทำเลยเพราะจะมีแต่ความสิ้นเปลืองเกิดขึ้นเพราะหากเกิดเหตุนี้ขึ้นจริงๆ การแก้ไขนั้นสามารถที่จะทำได้หลากหลายวิธีการและหนึ่งในนั้นก็คือ การขยายฐานราก ซึ่งการทำเช่นนี้จะทำให้เกิดความสิ้นเปลืองทั้ง เวลา ค่าแรง เหล็กเสริม และ คอนกรีต ในการทำงานส่วนของฐานรากตรงนี้ไปมิใช่น้อยเลย ดังนั้นเราจึงนิยมที่จะทำการแก้ไขและดัดแปลงส่วนของงานวิศวกรรมฐานรากนี้ก็เฉพาะในกรณีที่เรามีความจำเป็นจริงๆ เท่านั้นน่ะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็ม

#ระดับของหัวเสาเข็มที่ใช้ในการตรวจสอบค่าการหนีศูนย์

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com