หลักการในการออกแบบอาคารให้สามารถที่จะต้านทานต่อแรงกระทำจากแผ่นดินไหว

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างเชิงพลศาสตร์ต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

จริงๆ วันนี้ผมอยากที่จะอธิบายถึงหัวข้อๆ ใหม่ซึ่งจะว่าด้วย หลักการในการออกแบบอาคารให้สามารถที่จะต้านทานต่อแรงกระทำจากแผ่นดินไหว แต่ ผมก็แอบกังวลว่าเมื่ออธิบายไปแล้วเพื่อนๆ หลายๆ คนอาจจะไม่เข้าใจความหมายหรือนิยามของคำศัพท์ที่ใช้ในหัวข้อนี้ ดังนั้นในวันนี้ผมจึงอยากที่จะขออนุญาตมาให้คำนิยามรวมถึงอธิบายความหมายของศัพท์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเสียก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อเวลาที่ผมนั้นทำการอธิบายเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องๆ นี้เพื่อนๆ จะได้มีความรู้และความเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้นนะครับ

 

เริ่มต้นจากคำๆ แรกก็คือ เขตพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวของประเทศไทย โดยที่คำๆ นี้หมายถึง พื้นที่ซึ่งกำหนดในแผนที่ของประเทศไทยโดยจัดแบ่งตามระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหวด้วยค่าอัตราเร่งสูงสุดของพื้นดินเทียบกันกับค่าอัตราเร่งของแรงโน้มถ่วงโลกนะครับ

 

ต่อมาคือคำว่า พฤติกรรมการรับแรงแบบวัฎจักร โดยที่คำๆ นี้หมายถึง พฤติกรรมของโครงสร้างเมื่อถูกกระทำจากแรงแผ่นดินไหวซึ่งถือได้ว่าเป็นแรงกระทำทางด้านข้างประเภทหนึ่ง โดยแสดงอยู่ในรูปค่าความสัมพันธ์ของแรงกระทำและค่าการโก่งตัว โดยที่เรามักที่จะทำการพิจารณาพฤติกรรมของโครงสร้างเมื่อรับแรงเกินช่วงที่โครงสร้างนั้นมีความยืดหยุ่นไปแล้วนะครับ

 

คำว่า ระดับความเสียหาย โดยที่คำๆ นี้หมายถึง ค่าความเสียหายต่างๆ ขององค์อาคารภายในโครงสร้างของอาคารที่เรามีความสนใจ อันเนื่องมาจากแรงกระทำของแผ่นดินไหวแบบวัฏจักรที่สามารถจะคำนวณได้ด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์นะครับ

 

คำว่า วิธีการผลักแบบวัฏจักร โดยที่คำๆ นี้หมายถึง วิธีการวิเคราะห์ความสามารถต้านทานแรงกระทำจากแผ่นดินไหวของอาคาร โดยที่ใช้แรงกระทำทางด้านข้างต่ออาคารค่อยๆ ทำการผลักอาคารให้เคลื่อนตัวไปจนถึงค่าการเคลื่อนตัวตามเป้าหมายที่เรามีความต้องการ โดยที่มีค่าการเคลื่อนที่แบบไปกลับตามรูปแบบที่กำหนด

 

คำว่า วิธีการผลักแบบรวมโหมด โดยที่คำๆ นี้หมายถึง วิธีการวิเคราะห์ความสามารถต้านทานแรงแผ่นดินไหวของอาคารโดยที่เราจะใช้แรงกระทำทางด้านข้างซึ่งมีความสอดคล้องกันกับรูปแบบของการเคลื่อนที่ในแต่ละโหมด และ มีการรวมผลตอบสนองที่เกิดขึ้นในแต่ละโหมดเข้าด้วยกันนะครับ

 

คำว่า วิธีพลศาสตร์แบบไม่เชิงเส้น โดยที่คำๆ นี้หมายถึง วิธีการวิเคราะห์พฤติกรรมของโครงสร้างอาคารภายใต้แรงกระทำจากแผ่นดินไหว โดยที่เราจะใช้ชุดคลื่นแผ่นดินไหวให้กระทำเข้าที่ที่ฐานของอาคาร และ ทำการพิจารณาพฤติกรรมการรับแรงของโครงสร้างในช่วงที่เลยจุดครากเข้าไปสู่ช่วงไม่ยืดหยุ่นนั่นเองครับ

 

คำว่า วิธีการผลักบนพื้นฐานของพลังงาน โดยที่คำๆ นี้หมายถึง วิธีการวิเคราะห์ความสามารถในการต้านทานแรงกระทำจากแผ่นดินไหวของอาคาร โดยที่การใช้พลังงานที่คำนวณได้จากผลคูณของแรงผลัก และ ค่าการเคลื่อนที่ของโครงสร้างเพื่อนำไปใช้ในการคำนวณค่าการเคลื่อนที่สูงสุดของอาคารครับ

 

เอาละครับ คิดว่าผมได้อธิบายคำที่ถือได้ว่ามีความสำคัญๆ ที่เกี่ยวข้องกันกับเรื่อง หลักการในการออกแบบอาคารให้สามารถที่จะต้านทานต่อแรงกระทำจากแผ่นดินไหว ที่จะกล่าวถึงในสัปดาห์ต่อๆ ไป หากเพื่อนๆ ท่านใดมีความสนใจในหัวข้อนี้เป็นพิเศษก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความของผมได้ในการโพสต์ครั้งต่อไปได้นะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#การออกแบบวิศวกรรมโครงสร้างต้านทานแรงกระทำจากแผ่นดินไหว

#อธิบายคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกันกับเรื่องหลักการในการออกแบบอาคารให้สามารถที่จะต้านทานต่อแรงกระทำจากแผ่นดินไหว

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com