วิธีการทดสอบ การรับน้ำหนักบรรทุกของดินในสนาม โดยอาศัยแผ่นเหล็กในการทดสอบ หรือ ในภาษาอังกฤษจะใช้ชื่อในการทดสอบโดยวิธีการนี้ว่า PLATE BEARING TEST

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

ในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาพูดถึงวิธีในการทดสอบการรับน้ำหนักบรรทุกของดินในสนามโดยอาศัยแผ่นเหล็กในการทดสอบ หรือ ในภาษาอังกฤษจะใช้ชื่อในการทดสอบโดยวิธีการนี้ว่า PLATE BEARING TEST นั่นเองนะครับ

 

จริงๆ แล้วการที่เราทำการทดสอบตามวิธีการๆ นี้พูดง่ายๆ ก็เป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่าง ค่าน้ำหนักที่ทำหน้าที่ในการกด กับ ค่าของระยะการทรุดตัวของดิน โดยที่เราก็จะให้น้ำหนักที่ทำการกดนั้นผ่านลงไปยังแผ่นเหล็กรูปวงกลมต่อเนื่องลงไปยังดินโดยตรง ซึ่งวิธีการนี้ก็จะตรงตามที่ได้มีการระบุเอาไว้ในมาตรฐาน ASTM D 1196 – 93 นะครับ

 

ตามปกตินั้นการทรุดตัวที่เกิดจากน้ำหนักกดทับนั้นจะเพิ่มขึ้นก็ต่อเมื่อเกิดการเพิ่มน้ำหนักที่ทำการกดและเมื่อเราทำการคลายน้ำหนักให้ลดลงไป ดิน หรือ มวลรวม จะเกิดการคลายตัวในทิศทางตรงกันข้ามกับน้ำหนักกดทับ ซึ่งเราจะเรียกพฤติกรรมนี้ว่า การคืนตัว แต่หากว่าค่าของน้ำหนักหนักกดทับนั้นมีค่าที่มากเพียงพอ เมื่อเราทำการคลายน้ำหนักบรรทุกออกไป ก็ยังจะคงปรากฏ ค่าการทรุดตัวชนิดคงค้าง หรือบางครั้งเราก็เรียกค่าการทรุดตัวนี้ว่า ค่าการทรุดตัวชนิดคงเหลือ ก็ได้ ซึ่งในที่สุดสิ่งที่เราให้ความสนใจในการทดสอบดินตามวิธีการนี้ก็คือ ค่าโมดูลัสการต้านแรงกดของชั้นดิน หรือ MODULUS OF SUBGARDE ที่เรามักแทนด้วยค่า K นะครับ

 

โดยที่ค่า K นี้เราจะสามารถทำการคำนวณหาได้จากผลจากการทดสอบตามวิธีการนี้ โดยหากเพื่อนๆ สังเกตดูดีๆ ก็จะพบว่าค่า K นี้ก็จะมีความละม้ายคล้ายคลึงกับเรื่องที่ผมมักจะพูดถึงอยู่บ่อยๆ นั่นก็คือเรื่อง ค่าความแข็งแกร่งของสปริง หรือ SPRING STIFFNESS ซึ่งนั่นเป็นเพราะหน้าตาของสมการทั้งสองของค่าที่ผมกำลังพูดถึงอยู่นี้ก็มีหน้าตาที่เหมือนๆ กันเลย แต่ก็อาจจะแตกต่างกันออกไปบ้างเนื่องด้วยรายละเอียดของคำนิยามของค่าต่างๆ เท่านั้นเอง โดยที่หน้าตาของสมการนี้พวกเราต่างๆ ก็คุ้นเคยกันดีอยู่แล้วนั่นก็คือ

 

K = P / ∆

 

โดยที่ค่า P ก็คือ ค่าน้ำหนักบรรทุกที่เราทำการกดลงไปบนแผ่นเหล็ก ส่วนค่า ∆ นั่นก็คือ ค่าระยะการทรุดตัวของดินที่เกิดขึ้นใต้แผ่นเหล็กนั่นเองนะครับ

 

ทั้งนี้ K ในสมการๆ นี้ก็คือ ค่าโมดูลัสการต้านแรงกดของชั้นดิน ซึ่งในที่สุดเราก็จะสามารถนำเอาค่าๆ นี้ไปใช้ในการคำนวณหาค่าความสามารถในการรับแรงแบกทานของดิน หรือค่า BEARING CAPACITY ได้ โดยที่เราอาจจะเลือกใช้แผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ค่าความสามารถในการรับแรงแบกทานของดิน กับ ค่าโมดูลัสการต้านแรงกดของชั้นดิน ดังที่แสงดอยู่ในรูปภาพของโพสต์ๆ นี้นะครับ

 

วิธีการนี้ได้รับความนิยมนำมาใช้ในการทดสอบดินแบบในสนามค่อนข้างมาก เนื่องมาจากว่าวิธีการๆ นี้สามารถที่จะนำมาใช้ในการทดสอบได้ด้วยความสะดวกและง่ายดาย ที่สำคัญก็คือ วิธีการนี้เป็นวิธีการทดสอบดินที่ค่อนข้างมีความประหยัดทั้งในเรื่องของระยะเวลาในการทดสอบและเรื่องค่าใช้จ่ายอีกด้วยครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็ม

#อธิบายวิธีการทดสอบการรับน้ำหนักบรรทุกของดินในสนามโดยอาศัยแผ่นเหล็กในการทดสอบ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com