“Blow count” แตกต่างกับ “Last ten blow” อย่างไรมาดูกันครับ

micropile-spunmicropile-blog-05
BSP ภูมิสยาม ไมโครไพล์ สปันไมโครไพล์ micropile ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1247380561974733

 

นายช่างปุ๊ มีความรู้พื้นฐานการก่อสร้างมาเล่าครับ
“Blow count” แตกต่างกับ “Last ten blow” อย่างไรมาดูกันครับ
การตอกเสาเข็มโดยปั้นจั่นแบบลูกตุ้มปล่อยตก (Drop Hammer)
กรณีเสาเข็มยาวมีข้อกำหนดเครื่องมือตอกดังนี้
1.ลูกตุ้มมีน้ำหนักตั้งแต่ 1.5 – 7.0 ตัน
2.น้ำหนักลูกตุ้มใช้ 0.70 – 2.50 เท่าของน้ำหนักเสาเข็ม
3.ระยะยกลูกตุ้มตอก 30 – 80 ซม.
กำลังแบกรับน้ำหนักของเสาเข็มตอกสามารถคำนวณจากสูตรการตอกซึ่งมีหลายสูตรที่นิยมในประเทศไทย เพื่อหาค่าที่เหมาะสมของ Blow count และ Last ten blow ในการตอกเสาเข็ม การตอกจริงในสนามจะต้องตรวจนับและวัดค่าที่กำหนดไว้ตามรายการคำนวณทั้งสองอย่าง และบันทึกเป็นรายงานนำส่งผู้ออกแบบ
“Blow count”
คือ จำนวนครั้งของการยกตุ้มตอก ที่ทำให้เสาเข็มจมลงไปในดิน 1 ฟุต หรือ 30 เซนติเมตร (ค่ายิ่งมากแสดงว่าเสาเข็มยิ่งแน่น เมื่อถึงค่าที่กำหนดตามรายการคำนวณให้เริ่มวัดค่า Last ten blow)
“Last ten blow”
คือ ระยะจมของเสาเข็มลงไปในดิน จากการยกตุ้มตอก 10 ครั้งสุดท้าย (ค่าที่วัดได้ ต้องไม่มากกว่าค่าในรายการคำนวณ)
สรุป จะเห็นว่าศัพท์ทั้งสองตัวนี้ความหมายแตกต่างกัน ผู้ควบคุมต้องมีความเข้าใจและปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด เพราะงานเสาเข็มคือหัวใจของงานอาคาร หากเสาเข็มตอกไว้ไม่ดีอาคารจะร้าวหรือทรุดตัวไม่เท่ากันได้นะครับ

——————
ผู้เขียนบทความสั้น นายช่างปุ๊
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดผนังกำแพง ไม่ทำให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile) สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก. ของ ภูมิสยาม ซัพพลาย ติดต่อ สายด่วน โทร 081-634-6586

MICROPILE ไมโครไพล์ เสาเข็มสปันไมโครไพล์ – HOME