เกณฑ์ในการพิจารณาว่าชั้นดินใดๆ นั้นจะมีโอกาสที่จะเกิดการ CONSOLIDATE หรือไม่

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาตอบคำถามของเพื่อนท่านหนึ่งที่ได้ถามผมมาในเพจส่วนตัวของผมว่า “หากเราจำเป็นที่จะต้องใช้ความยาวของเสาเข็มในอาคารที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นเราจึงมีความกังวลว่าโครงสร้างของชั้นดินนั้นจะเกิดการ CONSOLIDATE จนทำให้ในที่สุดตัวโครงสร้างเสาเข็มนั้นเกิดค่าระยะการทรุดตัวที่มีค่าแตกต่างกันได้ ซึ่งนอกจากผลจากการทดสอบค่าการรับ นน ของดินแล้ว เรายังมีวิธีในการตรวจสอบสถานะของชั้นดินนี้ว่ามีคุณสมบัติด้านการต้านทานการทรุดตัวนี้ด้วยวิธีการอื่นๆ อีกหรือไม่ ?”

ก่อนอื่นผมขอชมเชยเพื่อนท่านนี้ก่อนนะครับ เพราะ การที่เพื่อนท่านนี้เป็นกังวลในประเด็นนี้แสดงว่ามีความรู้ทางด้านงานวิศวกรรมธรณีเทคนิคมากพอสมควรเลยนะครับ และ เป็นการดีแล้วครับที่วิศวกรอย่างเราๆ จะเป็นห่วงว่าโครงสร้างเสาเข็มของเราจะเกิดปัญหาประเด็นนี้ขึ้น เพราะ หากปล่อยให้เกิดปัญหาดังกล่าวขึ้นจริงๆ เราจะทำการแก้ไขปัญหานี้ได้ค่อนข้างยากเอาเรื่องอยู่นะครับ ดังนั้นหนทางที่ดีที่สุด คือ เราก็ควรที่จะป้องกันไม่ให้ปัญหานี้เกิดขึ้นก็จะเป็นการดีที่สุดนั่นเองนะครับ

ผมขออนุญาตตอบคำถามเพื่อนท่านนี้ดังนี้ก็แล้วกันนะครับ นอกจากผลจากการทดสอบค่าการรับ นน ของดินแล้ว ไม่ว่าจะโดยวิธี STATIC LOAD TEST หรือ DYNAMIC LOAD TEST ก็ตามแต่ เรายังมีวิธีในการตรวจสอบสถานะของชั้นดินนี้ว่ามีคุณสมบัติด้านการต้านทานการทรุดตัวนี้ด้วยวิธีการดูจากผลการทดสอบชั้นดิน หรือ SOIL LABORATORY REPORT หรือ BORING LOG นะครับ

โดยที่เกณฑ์ในการพิจารณาว่าชั้นดินใดๆ นั้นจะมีโอกาสที่จะเกิดการ CONSOLIDATE หรือไม่ อย่างน้อยที่สุดเราก็ควรที่จะทำการประเมินจาก 2 ตัวแปรดังต่อไปนี้ คือ ค่า SPT และ ค่า NATURAL WATER CONTENT ครับ

เริ่มต้นที่ค่า SPT ก่อนก็แล้วกันนะครับ ลักษณะง่ายๆ ของชั้นดินที่เราควรที่จะตรวจสอบก็คือดูว่าชั้นดินของเรานั้นมีลักษณะความแข็งแรงที่มากเพียงพอที่จะสามารถต้านทานแรงแบกทาน (END BEARING) ที่ปลายของเสาเข็มได้ ดังนั้นค่า SPT ของลักษณะชั้นดินแบบนี้ คือ ควรมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 20 B/FT นั่นเองนะครับ

ประการต่อมาก็คือค่า NATURAL WATER CONTENT นะครับ ลักษณะง่ายๆ ของชั้นดินที่เราควรที่จะตรวจสอบก็คือดูว่าชั้นดินของเรานั้นมีปริมาณอัตราส่วนของช่องว่าง (VOID) หรือ มีความพรุน ที่ค่อนข้างจะน้อยมากๆ เพราะ หากว่าชั้นดินของเรานั้นมีคุณสมบัติความแข็งแรงที่ค่อนข้างดี ก็แสดงว่าชั้นดินนี้จะมีอัตราส่วนปริมาณช่องว่างหรือความพรุนที่มีค่าน้อย เมื่อมีอัตราส่วนปริมาณของช่องว่างหรือความพรุนที่น้อย ก็จะมีปริมาณน้ำตามธรรมชาติที่แทรกตัวอยู่ในชั้นดินในอัตราส่วนที่น้อยตามไปด้วยนั่นเองครับ ซึ่งเราจะสามารถสังเกตได้จากค่า NATURAL WATER CONTENT ซึ่งค่าๆ นี้ควรที่จะมีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 35% ครับ

เรามาดู ตย สั้นๆ จาก BORING LOG ในรูปที่ผมแนบมาด้วยก็แล้วกันนะครับ จะเห็นได้ว่าที่ระดับความลึกตั้งแต่ระดับดินเดิมไปจนถึงระดับ -18 ม ค่า SPT ในชั้นนี้จะมีค่าน้อยมากๆ หรือ เรียกว่าไม่มีเลยก็ว่าได้ ดังนั้นเราจะสามารถระบุได้ว่าในชั้นดินเหล่านี้ค่า SPT จะมีค่าเท่ากับ 0 เลยนะครับ ส่วนค่า NATURAL WATER CONTENT ก็จะมีค่าสูงมากๆ เช่นกันนะครับ

ดังนั้นชั้นดินที่เราพอที่จะทำการคาดคะเนได้ว่าการ CONSOLIDATE จะเกิดขึ้นนั้นเริ่มที่จะมีค่าที่น้อยลงมากๆ ก็คือตั้งแต่ระดับของชั้นดินที่มีความลึกมากกว่า 18 ม ลงไปแล้ว เพราะถึงแม้ว่าที่ชั้นดินนี้จะมีค่า SPT เท่ากับ 0 แต่ค่า NATURAL WATER CONTENT ในชั้นดินนี้จะมีค่าเท่ากับ 25% ซึ่งก็จะมีค่าต่ำกว่า 35% นั่นแสดงว่าถึงชั้นดินนี้จะยังไม่มีความแข็งแรงมากเพียงพอที่จะต้านทานแรงแบกทานที่ส่วนปลายของตัวโครงสร้างเสาเข็มได้ แต่ ก็เริ่มที่จะเห็นได้ว่าชั้นดินนี้เริ่มที่จะมีค่าความแน่นตัวที่ค่อยๆ สูงค่ามากยิ่งขึ้นเมื่อได้ทำการเปรียบเทียบกับลักษณะของชั้นดินที่ระดับความลึกที่ตื้นกว่านี้

ส่วนชั้นดินที่หากจะกล่าวได้ว่าเราที่สามารถที่จะวางปลายของเสาเข็มได้โดยที่จะเกิดค่าการทรุดตัวที่มีค่าน้อยมากๆ จนไม่ทำให้เกิดปัญหาการที่เสาเข็มนั้นเกิดการทรุดตัวที่แตกต่างกันก็คือที่ระดับความลึกเท่ากับ 20 ม เพราะที่ชั้นดินนี้จะมีค่า SPT เท่ากับ 32 B/FT ซึ่งก็จะมีค่าสูงกว่า 20 B/FT และ มีค่า NATURAL WATER CONTENT เท่ากับ 19% ซึ่งก็จะมีค่าที่ต่ำกว่า 35% ดังนั้นก็อาจที่จะพอสรุปได้ว่า เราสามารถที่จะวางปลายเสาเข็มในชั้นดินนี้ได้ โดยที่ไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดปัญหาเรื่องการทรุดตัวของโครงสร้างเสาเข็ม

ซึ่งหากว่าเสาเข็มของเราไม่ได้มีการรับ นน ที่มากจนเกิดขีดความสามารถที่ชั้นดินและตัวโครงสร้างเสาเข็มจะสามารถรับได้แล้ว และ ลักษณะของชั้นดินที่เราทำการพิจารณานั้นผ่านเกณฑ์ทั้งคู่ตามที่ผมได้อธิบายไปข้างต้น เพื่อนๆ ก็สามารถที่จะสบายใจได้แล้วละครับว่าปัญหาการทรุดตัวของโครงสร้างเสาเข็มที่เรากังวลนั้นจะไม่เกิดขึ้นในอาคารของเราครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com