ประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันอังคารแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ

จะว่าไปแล้วหัวข้อในวันนี้ของผมจะมีส่วนที่เกี่ยวพันจากโพสต์ตั้งแต่ในปีที่แล้วที่ผมเคยได้อธิบายไปหลายๆ ครั้งว่า หากเราทำการออกแบบโครงสร้างฐานรากวางบนดินหรือ BEARING FOUNDATION ก็ดีหรือกำลังทำการออกแบบโครงสร้างเสาก็ดี จะมีหลายๆ ครั้งที่เราจะต้องทำการตรวจสอบดูว่า ภายในหน้าตัดโครงสร้างของเรานั้นจะเกิดแรงเค้นดึงหรือ TENSILE STRESS ขึ้นหรือเปล่า ?

 

นั่นเป็นเพราะเวลาที่ทำการออกแบบโครงสร้างจำพวกข้างต้นวัสดุที่ใช้ในการรองรับน้ำหนักภายในโครงสร้างของเรานั้นจะไม่สามารถที่จะต้านทานแรงดึงที่เกิดขึ้นได้นั่นเอง เช่น เวลาที่ทำการออกแบบโครงสร้างฐานรากวางบนดิน ดินก็จะทำหน้าที่ในการรองรับตัวฐานราก ซึ่งตัวดินเองนั้นไม่สามารถที่จะรับแรงดึงที่เกิดขึ้นได้หรือ เวลาที่ทำการออกแบบโครงสร้างเสา คสล ก็ตาม หลายๆ ครั้งเรามักที่จะต้องการควบคุมการออกแบบให้เป็นการวิบัติของโครงสร้างของเรานั้นเป็นแบบภายใต้แรงอัดเป็นหลักหรือ COMPRESSION FAILURE MODE

 

เมื่อเป็นเช่นเหตุการณ์ข้างต้น ผมเชื่อเหลือเกินว่าคงจะมีเพื่อนๆ วิศวกรหลายๆ คนคงจะมีข้อสงสัยหรือความคิดที่คล้ายๆ กันว่า เราจะมีวิธีการใดวิธีการหนึ่งที่จะสามารถนำมาใช้ในการตรวจสอบได้บ้างว่าภายในหน้าตัดโครงสร้างของเรานั้นจะเกิดแรงเค้นดึงขึ้นหรือไม่ ?

 

คำตอบคือ มีครับ ซึ่งวิธีการที่ผมจะนำมาแนะนำกับเพื่อนๆ ในวันนี้ยังเป็นวิธีการที่ค่อนข้างที่จะมีความง่ายดายมากๆ อีกด้วยนั่นก็คือ การตรวจสอบหน้าตัดโดยอาศัย KERN POINT นั่นเองครับ

 

จริงๆ แล้วเจ้า KERN POINT นี้มีที่มาที่ไปจากการพิจารณาในเรื่องการแรงเค้นผสมหรือ COMBINED STRESS ซึ่งจะอยู่ในหัวข้อของวิชากลศาสตร์ของวัสดุหรือ MECHANICS OF MATERIAL โดยหากจะสรุปง่ายๆ ก็คือ หากว่าเรามีโครงสร้างใดๆ ที่มีหน้าตัดเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีระยะของความกว้างเท่ากับ B และระยะของความลึกเท่ากับ H และโครงสร้างนั้นๆ ของเราจะต้องทำหน้าที่ในการรับทั้งแรงกระทำตามแนวแกนหรือ AXIAL LOAD หรือ NORMAL LOAD หรือแรง N และแรงดัดรอบแกนแบบบวกหรือ POSITIVE MOMENT หรือแรง Mpos. ไปพร้อมๆ กัน เพียงแค่เรานั้นทำการพิจารณาหาออกมาก่อนว่า ค่าระยะของการเยื้องศูนย์หรือค่า e นั้นจะมีค่าเท่ากับเท่าใด เสร็จแล้วก็ให้เรานำเอาค่า e นั้นมาทำการเปรียบเทียบกับระยะ H ส่วนด้วย 6 หากว่าค่า e นั้นมีค่าที่ “น้อยกว่า” ค่าๆ นี้ก็แสดงว่าหน้าตัดของเราจะไม่มีทางเกิดแรงเค้นดึงขึ้นในหน้าตัดเลย ในทางกลับกันหากว่าแรงดัดรอบแกนของเรานั้นเป็นแบบลบหรือ NEGATIVE MOMENT หรือแรง Mneg. บ้างซึ่งก็จะทำให้ค่า e นั้นติดลบไปด้วย เมื่อเรานำเอาค่า e นี้ไปเปรียบเทียบกันกับค่า H ส่วนด้วย 6 เราก็เพียงแค่ให้ค่าๆ นี้ติดลบด้วย สุดท้ายเราก็แค่ทำการพิจารณาดูว่าหากว่าค่า e นั้นมีค่าที่ “มากกว่า” ค่าๆ นี้ก็แสดงว่าหน้าตัดของเราจะไม่มีทางเกิดแรงเค้นดึงขึ้นในหน้าตัดเลยเช่นกัน

 

ดังนั้นหากจะให้ทำการเขียนความสัมพันธ์ของค่า KERN POINT กับค่า e ให้อยู่ในรูปแบบของสมการ ก็สามารถที่จะเขียนให้ออกมาให้มีหน้าตาเป็นดังนี้ครับ

 

-H/6 < e < H/6

 

เอาเป็นว่าในครั้งต่อไปที่เราจะมาพบกัน เพื่อให้เพื่อนๆ มีความเข้าใจในเรื่องๆ นี้ที่มากยิ่งขึ้น ผมจะขออนุญาตนำเอาเรื่อง KERN POINT นี้มายกตัวอย่างให้เพื่อนๆ ได้รับชมกันบ้าง หากว่ามีเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษ ก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความนี้ของผมได้ในสัปดาห์หน้านะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

 

#โพสต์ของวันพุธ

#ความรู้เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง

#การนำเอาKernPointมาช่วยพิจารณาว่าจะเกิดแรงเค้นดึงขึ้นในหน้าตัดโครงสร้างหรือไม่

#โพสต์ตอนที่1

 

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com