การพิจารณาเรื่องดินนั้นมีโอกาสที่จะเกิดการทรุดตัวเพิ่มเติมจากปัจจุบันหรือไม่?

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันเสาร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ถาม-ตอบชวนสนุก” กันนะครับ

โดยที่ในวันนี้ประเด็นที่ผมได้เลือกนำเอามาตั้งเป็นคำถามประจำสัปดาห์นั้นจะมีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม ที่ผมได้ทำการโพสต์ถึงในสัปดาห์ที่ผ่านมาและก็เหมือนเช่นเคยผมคงจะต้องออกตัวอีกครั้งหนึ่งว่า คำถามประจำสัปดาห์นี้สุดแสนจะง่ายมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ โดยที่โจทย์ในวันนี้ก็คือ

ในรูปที่ 1 2 3 4 และ 5 ที่ผมได้แนบมาในโพสต์ๆ นี้จะแสดงผลที่ได้จากการทำการทดสอบดินหรือ SOIL BORING TEST และรูปที่แสดงภาพของการที่พื้นนั้นเกิดการทรุดตัวรอบๆ ตัวอาคารที่ผมได้นำเอามาจากสถานที่ก่อสร้างจริงแห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ในเขตจังหวัดสมุทรปราการ ประเด็นของปัญหาสำหรับกรณีนี้ก็คือ เจ้าของอาคารนั้นมีความต้องการที่จะทำการซ่อมแซมไม่ให้มีช่องว่างระหว่างพื้นและตัวอาคารอีกต่อไปเพราะมีความกังวลในหลายๆ ประเด็น เช่น กลัวว่าจะมีสัตว์หรือแมลงมีพิษต่างๆ เข้าไปอาศัยอยู่ข้างใต้อาคาร เป็นต้น ในขณะเดียวกันก็มีความกังวลด้วยว่าหากทำการซ่อมแซมไปแล้วพื้นก็ยังคงจะเกิดการทรุดตัวต่อไปไม่สิ้นสุด ซึ่งก็จะทำให้การลงทุนทำการซ่อมแซมในครั้งนี้เปล่าประโยชน์ โดยที่สถานที่ก่อสร้างแห่งนี้มีลักษณะเป็นหมู่บ้านจัดสรรที่ดินจะมีลักษณะของการรับน้ำหนักทั่วๆ ไปเท่านั้นครับ

ดังนั้นคำถามง่ายๆ ในวันนี้ก็คือ หากเพื่อนๆ ต้องทำหน้าที่เป็นผู้ออกแบบงานแก้ไขเพื่อซ่อมแซมและก่อสร้างในโครงการแห่งนี้ เพื่อนๆ จะให้คำแนะนำต่อเจ้าของอาคารอย่างไรระหว่าง (1) แนะนำเจ้าของอาคารว่า อย่าเพิ่งทำการซ่อมแซมส่วนของอาคารนี้เลยเพราะสุดท้ายดินนั้นยังคงจะมีโอกาสที่จะเกิดการทรุดตัวที่ถือได้ว่ายังมีค่าที่มากอยู่ (2) แนะนำเจ้าของอาคารว่า สามารถที่จะทำการซ่อมแซมส่วนของอาคารนี้ได้เลยเพราะพื้นดินนั้นได้เกิดการทรุดตัวที่มากจนได้ที่แล้วและต่อไปดินก็อาจจะเกิดค่าการทรุดตัวได้บ้างแต่ก็จะถือว่าเป็นค่าที่น้อยมากๆ เลย ?

ทั้งนี้เพื่อนๆ ยังสามารถที่จะให้เหตุผลต่างๆ หรือ อาจจะทำการสเก็ตช์ภาพประกอบคำตอบเพื่อใช้อธิบายเพิ่มเติมได้ แล้วยังไงวันพรุ่งนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการเฉลยคำถามข้อนี้ให้แก่เพื่อนๆ ทุกคนได้รับทราบพร้อมๆ กันนะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันเสาร์
#ถามตอบชวนสนุก
#ปัญหาการพิจารณาเรื่องดินนั้นมีโอกาสที่จะเกิดการทรุดตัวเพิ่มเติมจากปัจจุบันหรือไม่
ADMIN JAMES DEAN


คำตอบ

เป็นอย่างไรกันบ้างเอ่ย หากเพื่อนๆ ได้มีโอกาสย้อนกลับไปอ่านโพสต์ของผมเมื่อในสัปดาห์ก่อนๆ ก็จะเห็นได้ว่าคำถามข้อนี้นั้นง่ายมากๆ เลยใช่มั้ย ดังนั้นวันนี้เราจะมาทำการคำนวณหาว่า ในฐานะที่เรานั้นผู้ออกแบบงานแก้ไขเพื่อซ่อมแซมและก่อสร้างในโครงการแห่งนี้เราจะให้คำแนะนำอย่างไรกับทางเจ้าของดี จึงจะทำให้เจ้าของอาคารนั้นสามารถที่จะตัดสินใจได้โดยที่เกิดความคุ้มค่าสูงสุดไปพร้อมๆ กันนะครับ

ก่อนอื่นเรามาทบทวนความรู้จากโพสต์ของผมเมื่อสัปดาห์ก่อนกันสักเล็กน้อยนั่นก็คือ ผมได้ทำการอธิบายกับเพื่อนๆ ไปว่า หากดินในสถานที่ก่อสร้างของเรานั้นมีลักษณะของการรับน้ำหนักแบบทั่วๆ ไปเท่านั้นและจะไม่เกิดกรณีของดินที่มีคุณสมบัติพิเศษอื่นๆ เราจะสามารถประมาณการออกมาได้ว่า ดินของเรานั้นจะมีโอกาสที่จะเกิดการทรุดตัวได้มากหรือน้อยเพียงใดโดยทำการประเมินได้จากผลการทดสอบดินโดยจะสามารถทำการพิจารณาได้จาก
(1) ค่าอัตราส่วนของน้ำในดิน หรือ WATER CONTENT
(2) ค่าหน่วยแรงเฉือนแบบไม่ระบายน้ำ หรือ UNDRAINED SHEAR STRENGTH

เรามาเริ่มต้นกันที่ค่าอัตราส่วนของน้ำในดินกันก่อน ทั้งนี้หลักการในการพิจารณาจากค่าๆ นี้จะทำได้ค่อนข้างง่ายเลยนั่นก็คือ ทำการพิจารณาว่าค่าเฉลี่ยของ ค่าอัตราส่วนของน้ำในดิน ของชั้นดินตั้งแต่ระดับผิวดินลึกลงไปจนถึงที่ระดับดินประมาณ 10 เมตร นั้นจะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 80 ใช่หรือไม่ หากว่าคำตอบคือ ใช่ นั่นก็หมายความว่าดินก็จะมีโอกาสที่จะเกิดการทรุดตัวได้อย่างรวดเร็วและก็มากด้วยแต่หากว่าดินภายในระดับความลึกดังกล่าวนั้นมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่น้อยกว่าร้อยละ 80 แต่ก็ยังมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50 แล้วละก็ ดินก็จะมีโอกาสที่จะเกิดการทรุดตัวได้อยู่แต่ก็จะค่อยๆ เกิดแบบช้าๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป สุดท้ายหากว่าดินภายในระดับความลึกดังกล่าวนั้นมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่น้อยกว่าร้อยละ 50 แล้วละก็ ดินก็จะมีโอกาสที่จะเกิดการทรุดตัวที่น้อยมากๆ เลยละครับ

นอกจากจะทำการพิจารณาถึง ค่าอัตราส่วนของน้ำในดิน แล้วเพื่อให้เกิดความมั่นใจเพิ่มขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง เราจึงควรที่จะต้องทำการพิจารณาถึงค่าหน่วยแรงเฉือนแบบไม่ระบายน้ำด้วย โดยเรามาทบทวนกันกับส่วนที่มีความเกี่ยวข้องกันกับค่าหน่วยแรงเฉือนแบบไม่ระบายน้ำที่เราอาจจะเรียกแทนว่าค่า Su ก็ได้ ทั้งนี้หากจะทำการสรุปหลักการง่ายๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการประเมินว่าดินในสถานที่ใดสถานที่หนึ่งนั้นจะมีโอกาสที่จะเกิดการทรุดตัวได้มากหรือน้อยเพียงใดก็คือ ทำการตรวจสอบจากผลการทดสอบดินของชั้นดินตั้งแต่ระดับผิวดินลึกลงไปจนถึงที่ระดับดินประมาณ 10 เมตร นั้นมีค่าเฉลี่ยมีผลออกมาเป็น ดินเหนียวอ่อนมาก หรือ VERY SOFT CLAY ซึ่งก็คือค่า Su ที่มีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1.25 ตัน/ตร.ม ซึ่งหากจะเทียบออกมาเป็นค่า qu ก็ได้ ซึ่งก็จะมีค่า qu ที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 2.50 ตัน/ตร.ม หรืออาจจะดีขึ้นมาหน่อยก็คือค่าเฉลี่ยมีผลออกมาเป็น ดินเหนียวอ่อน หรือ SOFT CLAY ซึ่งก็คือค่า Su นั้นจะมีค่าที่มากกว่า 1.25 ตัน/ตร.ม แต่ก็ยังน้อยกว่าหรือเท่ากับ 2.50 ตัน/ตร.ม ซึ่งหากจะเทียบออกมาเป็นค่า qu ก็ได้ ซึ่งก็จะมีค่า qu ที่มากกว่า 2.50 ตัน/ตร.ม แต่ก็ยังน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5.00 ตัน/ตร.ม ใช่หรือไม่ หากว่าใช่ นั่นก็หมายความว่าดินก็จะมีโอกาสที่จะเกิดค่าการทรุดตัวได้มากแต่หากว่าดินภายในระดับความลึกดังกล่าวนั้นมีค่าเฉลี่ยมีผลออกมาเป็น ดินเหนียวปานกลาง หรือ MEDIUM CLAY ซึ่งก็คือค่า Su นั้นมีค่าที่มากกว่า 2.5 ตัน/ตร.ม ขึ้นไป ซึ่งหากจะเทียบออกมาเป็นค่า qu ก็ได้ ซึ่งก็จะมีค่า qu ที่มากกว่า 5.00 ตัน/ตร.ม แล้วละก็ ดินก็จะมีโอกาสที่จะเกิดค่าการทรุดตัวที่ค่อนข้างจะน้อยนั่นเองครับ

ก่อนอื่นเลย ผมเพียงแค่อยากที่จะให้เพื่อนๆ ได้ลองทำการสังเกตข้อมูลลักษณะของชั้นดินให้ดีๆ ก่อนนะว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร ?
ถูกต้องแล้ว ชั้นดินในโครงการนี้ค่อนข้างที่จะมีความแปรปรวนสูงมากๆ เช่น ดินชั้นบนเป็นดินทรายแต่ดินชั้นถัดมานั้นกลายเป็นดินเหนียวและดินชั้นถัดไปกลับไปเป็นดินทรายอีกแล้ว เป็นต้น ซึ่งสิ่งที่เราพบได้จากผลการทดสอบดินในโครงการก่อสร้างแห่งนี้จะมีความสอดคล้องกันกับที่ผมได้ไปตรวจสอบประวัติของโครงการก่อสร้างแห่งนี้มาว่า ในอดีตพื้นที่ตรงนี้เคยมีลักษณะเป็นบ่อและบึงเก่ามาก่อน พอเจ้าของโครงการมากว้านซื้อที่ดินเพื่อที่จะทำการก่อสร้างให้พื้นที่ตรงนี้เป็นโครงการหมู่บ้านจัดสรรจึงได้ทำการไล่ถมดินให้เป็นพื้นที่ราบ ผมคาดหมายว่าในขณะนั้นเจ้าของโครงการเองก็มีความหวังดี โดยที่เค้าไม่ต้องการที่จะผู้ที่มาซื้อบ้านในโครงการแห่งนี้ต้องเจอกับสภาพของดินที่เกิดการทรุดตัวที่มาก เค้าจึงมีความต้องการที่จะให้ดินนั้นมีความแน่นตัวจึงตัดสินใจใช้ดินทรายเพื่อนำมาถมแต่คงจะเกิดความผิดพลาดขึ้นในขั้นตอนหนึ่งที่ต้องถือได้ว่ามีความสำคัญมากๆ เลยนั่นก็คือ ขาดขั้นตอนของการบดอัดดินที่ดีเพียงพอเพราะการจะทำการควบคุมงานการบดอัดดินในพื้นที่ๆ มีขนาดใหญ่มากๆ นั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างที่จะทำได้ยากมาก ยิ่งในอดีตตอนที่เครื่องไม้เครื่องมือนั้นไม่ได้มีความทันสมัยเหมือนในปัจจุบันด้วยก็ยิ่งแล้วใหญ่เลยและทั้งหมดนี้ก็สามารถที่จะอธิบายได้ถึงลักษณะของความแปรปรวนของชั้นดินในสถานที่ก่อสร้างแห่งนี้ครับ

เอาละ สำหรับกรณีที่ดินนั้นมีความแปรปรวนเช่นนี้ผมมีข้อแนะนำในการพิจารณาจากค่าอัตราส่วนของน้ำในดินของชั้นดินโดยแทนที่จะพิจารณาดินตั้งแต่ระดับผิวดินลึกลงไปจนถึงที่ระดับดินประมาณ 10 เมตร เพียงอย่างเดียว ผมขอแนะนำให้ทำการหาค่าเฉลี่ยของชั้นดินเพิ่มอีก 2 ค่า นั่นก็คือ ดินที่เป็นเฉพาะดินเหนียว และดินทั้งหมดและเลือกพิจารณาใช้ค่ามากที่สุดเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจ ดังนั้นเรามาดูรูปที่ 6 และ 7 ประกอบการคำนวณนะครับ

ค่าแรก ซึ่งก็จะเริ่มจากดินตั้งแต่ระดับผิวดินลึกลงไปจนถึงที่ระดับดินประมาณ 10 เมตร เพียงอย่างเดียวก่อนก็จะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่
Wn = ( 16 + 18 + 15 + 16 + 44 ) / 5
Wn = 21.8%

ค่าที่สอง ดินที่เป็นเฉพาะดินเหนียว ซึ่งก็จะไล่ลงมาตั้งแต่ระดับดินที่ 10 เมตร ลึกลงไปจนถึงที่ระดับดินประมาณ 20 เมตร ก็จะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่
Wn = ( 62 + 60 + 40 + 25 + 38 + 22 ) / 6
Wn = 41.2%

ค่าที่สามนั่นก็คือ ดินทั้งหมด ซึ่งก็จะเริ่มตั้งแต่ระดับผิวดินลึกลงไปจนถึงที่ระดับดินประมาณ 20 เมตร ก็จะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่
Wn = ( 16 + 18 + 15 + 16 + 44 + 62 + 60 + 40 + 25 + 38 + 22 ) / 11
Wn = 32.36%

ดังนั้นค่าเฉลี่ยของอัตราส่วนของน้ำที่มีค่าสูงที่สุดของดินจึงมีค่าเท่ากับร้อยละ 41.2 ซึ่งค่าอัตราส่วนของน้ำในดินเท่ากับร้อยละ 41.2 นั้นถือได้ว่ามีค่าที่น้อยกว่าค่าอัตราส่วนของน้ำในดินร้อยละ 80 ที่ผมได้อธิบายไปแล้วก่อนหน้านี้ ดังนั้นสำหรับการพิจารณาค่าอัตราส่วนของน้ำในดินเราอาจจะสามารถสรุปได้เลยว่า ดินในบริเวณนี้จะมีโอกาสที่จะเกิดการทรุดตัวได้น้อยถึงน้อยมาก แต่ สักครู่นะ อย่างที่ผมได้เรียนไปว่า เพื่อให้เกิดความมั่นใจเพิ่มขึ้นไปอีก เราจึงควรที่จะต้องทำการพิจารณาถึงค่าหน่วยแรงเฉือนแบบไม่ระบายน้ำด้วย ดังนั้นเมื่อเราทำการพิจารณาจากค่าหน่วยแรงเฉือนแบบไม่ระบายน้ำของชั้นดิน ก็ให้เราพิจารณาใช้ค่าเฉลี่ยเหมือนกับที่ทำในกรณีของการคำนวณหาค่าอัตราส่วนของน้ำในดินแต่ครั้งนี้เราจะพิจารณาโดยใช้ค่าที่ต่ำที่สุดแทน

ดังนั้นเรามาดูรูปที่ 6 และ 7 ประกอบการคำนวณนะครับ
ค่าแรก ซึ่งก็จะเริ่มจากดินตั้งแต่ระดับผิวดินลึกลงไปจนถึงที่ระดับดินประมาณ 10 เมตร เพียงอย่างเดียวก่อนก็จะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่
Su = ( 3.16 + 4.33 ) / 2
Su = 3.75 T/M^(2)
ค่าที่สอง ดินที่เป็นเฉพาะดินเหนียว ซึ่งก็จะไล่ลงมาตั้งแต่ระดับดินที่ 10 เมตร ลึกลงไปจนถึงที่ระดับดินประมาณ 20 เมตร ก็จะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่
Su = ( 1.57 + 1.74 + 2.25 ) / 3
Su = 1.85 T/M^(2)
ค่าที่สามนั่นก็คือ ดินทั้งหมด ซึ่งก็จะเริ่มตั้งแต่ระดับผิวดินลึกลงไปจนถึงที่ระดับดินประมาณ 20 เมตร ก็จะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่
Su = ( 3.16 + 4.33 + 1.57 + 1.74 + 2.25 ) / 5
Su = 2.61 T/M^(2)

ดังนั้นค่าเฉลี่ยของ Su ที่มีค่าต่ำที่สุดของดินจึงมีค่าเท่ากับร้อยละ 1.85 T/M^(2) ซึ่งก็จะมีค่าที่มากกว่า 1.25 ตัน/ตร.ม แต่ก็ยังมีค่าน้อยกว่า 2.50 ตัน/ตร.ม แสดงว่าหากอาศัยการตีความสภาพดินแบบเทียบเท่าก็อาจจะสามารถจำแนกได้ว่า ดินนั้นๆ จะมีสภาพเป็น ดินเหนียวอ่อน หรือ SOFT CLAY และนั่นก็หมายความว่า ดินในโครงการก่อสร้างของเรานั้นยังคงมีโอกาสที่จะเกิดค่าการทรุดตัวได้อยู่แต่ก็จะลดลงมามากและก็จะเป็นลักษณะของการทรุดตัวแบบที่ค่อยๆ เกิดขึ้นแบบช้าๆ นะครับ

จะเห็นได้ว่าผลสรุปที่ออกมาจากการพิจารณาค่าหน่วยแรงเฉือนแบบไม่ระบายน้ำของชั้นดินดังกล่าวนี้จะออกมามีความขัดแย้งกันกับการพิจารณาจากค่าอัตราส่วนของน้ำในดิน ซึ่งผลจากตารางแสดงลักษณะของชั้นดินในรูปที่ 8 ก็ยังคงแสดงให้เห็นว่า มีชั้น ดินเหนียวอ่อน วางตัวอยู่ในชั้นดินที่เราได้ทำการพิจารณาด้วย ดังนั้นเราก็สามารถที่จะทำการสรุปผลได้ว่า ลูกค้าสามารถที่จะซ่อมแซมปิดช่องว่างใต้อาคารนี้เพื่อป้องกันเหตุอันไม่พึงประสงค์ที่มีความกังวลใจอยู่ได้แต่ก็ควรที่จะเลือกวิธีในการก่อสร้างที่มีความเหมาะสมด้วยเพราะอย่างไรเสียพื้นรอบๆ ตัวอาคารเองก็ยังคงจะมีการทรุดตัวเกิดขึ้นอยู่ได้บ้างแต่ก็จะมีค่าการทรุดตัวที่น้อยมากๆ และจะเป็นการทรุดตัวแบบที่ค่อยๆ เกิดขึ้น เช่น อาจจะก่อสร้างโดยใช้ครีบที่จะห้อยตัวลงมาจาก

โครงสร้าง เป็นต้นครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันอาทิตย์
#ถามตอบชวนสนุก
#ตอบปัญหาการพิจารณาเรื่องดินนั้นมีโอกาสที่จะเกิดการทรุดตัวเพิ่มเติมจากปัจจุบันหรือไม่
ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)

1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น

2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น

3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น

 

เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)

4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น

5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น

 

เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)

6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น

7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น

8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447 (คุณจิน)
☎️ 082-790-1448 (คุณสปัน)
☎️ 082-790-1449 (คุณปุ๊ก)
☎️ 091-9478-945 (คุณสปัน)
☎️ 091-8954-269 (คุณสปัน)
☎️ 091-8989-561 (คุณมาย)
📲 https://lin.ee/hum1ua2
🎥 https://lin.ee/gN4OMZe
📥 https://m.me/bhumisiam

 

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com