วิธีในการอ่านค่าบนเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ

จริงๆ แล้วเนื้อหาที่ผมจะนำมาใช้เพื่อเป็นการพูดคุยกับเพื่อนๆ ในวันนี้ดูจะไม่ค่อยมีความเกี่ยวข้องกับชื่อหัวข้อนี้สักเท่าไหร่แต่ผมคิดว่าเอามาพูดถึงสักหน่อยก็ดีเหมือนกัน น่าจะมีเพื่อนๆ ของเราหลายๆ คนได้รับประโนชน์นั่นก็คือ เมื่อเร็วๆ นี้ผมได้ไปทำการตรวจสอบรายการวัสดุเหล็กที่เข้ามาในไซต์งาน ซึ่งพอผมเห็นก็ขอให้ทาง ผรม เปิดใบเซอร์ของเหล็กชุดนี้ให้ดู หลังจากนั้นก็ได้ทำการนำเอา “เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์” ขึ้นมาวัดขนาดและมิติต่างๆ ของเหล็ก โดยที่ผมก็ได้ให้น้องวิศวกรที่ติดตามผมไปด้วยในวันนั้นเป็นผู้ทำการอ่านค่าให้และผมก็ทำการจดบันทึกค่าที่อ่านได้แต่ผลปรากฏว่า น้องท่านนี้ตอบกลับมาว่า

 

“แหะๆ ผมอ่านค่าบนเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ไม่เป็นครับ …”

ตอนแรกที่ได้ยินคำตอบๆ นี้ผมตกใจมากแต่ก็เก็บอาการเอาไว้ ผมก็เลยตั้งสติและสอนวิธีการอ่านค่าจากเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ให้แก่น้องวิศวกรท่านนี้ไปแต่สิ่งที่วนเวียนอยู่ในความคิดของผมก็คือ

“เหตุใดวิศวกรท่านนี้ถึงอ่านค่าจากเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ไม่เป็น ? หรือว่าเป็นแค่วิศวกรไม่กี่คนเท่านั้นที่อ่านค่าจากเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ไม่ได้จริงๆ ?”

จนถึงตอนนี้ผมก็ยังไม่ได้รับคำตอบถึงคำถามข้อนี้เหมือนกันนะ ผมเพียงแค่มีความคิดว่า เอาละ ผมจะไม่ถามหาเหตุและผลของคำถามข้อนี้แล้วแต่สิ่งที่ผมจะทำก็คือ ผมจะขออนุญาตนำเอาหลักและวิธีในการอ่านค่าบนเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์โดยสังเปขมาเล่าสู่กันฟังกับเพื่อนๆ น้องๆ ในเพจของเราแทน เผื่อว่าจะมีแฟนเพจท่านใดที่อ่านค่าบนเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ไม่เป็นเหมือนกับน้องวิศวกรท่านนี้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่งก็ตาม ทั้งนี้เพื่อเป็นวิทยาทานกับเพื่อนๆ และน้องๆ แฟนเพจทุกๆ ท่าน ดังนั้นผมจึงจำเป็นที่จะต้องขออาศัยพื้นที่ในโพสต์ๆ นี้ไปยังเพื่อนๆ แฟนเพจที่อาจจะรู้จักและคุ้นเคยดีกับการอ่านค่าจากเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์อยู่แล้วสักเล็กน้อย

ดังนั้นเรามาเริ่มต้นดูวิธีในทั้ง 5 ขั้นตอนหลักๆ ในการอ่านค่าจากจากเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์กันเลยก็แล้วกันนะครับ

(1) โดยทั่วไปแล้วเวลาที่เราทำการหยิบเอาอุปกรณ์ที่มีชื่อว่า เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ ขึ้นมาเราจะสามารถอาศัยอุปกรณ์ 3 อย่างที่อยู่บนตัวของเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์มาใช้ในการวัดได้นั่นก็คือ

1.1 ที่วัดขนาดภายนอก
1.2 ที่วัดขนาดภายใน
1.3 ที่วัดขนาดความลึก

(2) โดยที่เราจะสามารถใช้มาตราส่วนหรือว่าเสกลในการอ่านค่าของขนาดหรือมิติได้จาก 2 อย่างที่อยู่บนตัวของเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์นั่นก็คือ

2.1 เสกลหลัก หรือ เสกลติดตาย
2.2 เสกลรอง หรือ เสกลเลื่อน

(3) สำหรับขั้นตอนแรกในการวัด เราจะต้องดู “หน่วย” ที่ติดอยู่ที่บริเวณ “ด้านล่าง” บนตัวของ “เสกลหลัก” ของเจ้าเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์กันก่อน ซึ่งจากรูปตัวอย่างในวันนี้เราจะไม่เห็นหน่วยดังกล่าวเพราะผมทำการขยายภาพให้เพื่อนๆ สามารถที่จะมองเห็นเจ้าเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์นี้ได้ชัดๆ ซึ่งก็จะมีหน่วยเท่ากับ “1.00 มิลลิเมตร” และเนื่องจากบนเจ้า “เสกลหลัก” นั้นจะมีเพียงขีด “ย่อย” ดังนั้น 1 ขีด “ย่อย” บน “เสกลหลัก” จึงมีค่าเท่ากับ 1.00 มิลลิเมตร นะครับ

(4) จากนั้นเราก็จะมาดู “หน่วย” ที่ติดอยู่บนตัวของ “เสกลรอง” ของเจ้าเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์กันต่อ ซึ่งจากรูปตัวอย่างในวันนี้เราจะสามารถมองเห็นหน่วยดังกล่าวได้ ซึ่งก็จะมีหน่วยเป็น “0.05 มิลลิเมตร” เช่นกัน และเนื่องจากบนเจ้า “เสกลรอง” นั้นจะมีทั้งขีด “ย่อย” และ “หลัก” ดังนั้น 1 ขีด “ย่อย” บน “เสกลรอง” จึงมีค่าเท่ากับ 0.05 มิลลิเมตร และ 1 ขีด “หลัก” บน “เสกลรอง” จึงมีค่าเท่ากับ 0.10 มิลลิเมตร นะครับ

(5) ต่อมาก็คือการอ่านค่าบน “เสกลหลัก” และ “เสกลรอง” ซึ่งเราจะต้องเริ่มต้นอ่านค่าจาก “เสกลหลัก” ก่อนเสมอและจากรูปๆ นี้เราก็จะเห็นได้ว่าเลข “0” ที่อยู่บน “เสกลรอง” จะตกอยู่ระหว่าง 19 และ 20 บน “เสกลหลัก” ดังนั้นให้เราอ่านค่าที่ 1 ก่อนว่ามีค่าเท่ากับ

DIMENSION 1 = 19 x 1.00 = 19.00 MM

จากนั้นเราจะมาอ่านค่าบน “เสกลรอง” กันต่อและจากรูปๆ นี้เราก็จะเห็นได้ว่า “ขีด” ที่อยู่บน “เสกลรอง” ซึ่งจะมีค่าที่ตรงกันมากที่สุดกับค่าบน “เสกลหลัก” ก็คือเลข 3 ซึ่งเป็นขีด “หลัก” ดังนั้นให้เราอ่านค่านี้ต่อจากค่าก่อนหน้านี้ว่ามีค่าเท่ากับ

DIMENSION 2 = 3 x 0.10 = 0.30 MM

ในที่สุดเราก็จะสามารถทำการอ่านค่ามิติที่วัดได้จริงๆ โดยการนำเอาค่าจาก DIMENSION 1 รวมเข้ากับค่าจาก DIMENSION 2 ซึ่งก็จะมีค่าเท่ากับ

DIMENSION = DIMENSION 1 + DIMENSION 2
DIMENSION = 19.00 + 0.30
DIMENSION = 19.30 MM

 

อย่างน้อยผมคิดว่า การที่ผมได้ทำการเล่าสู่กันฟังกับเพื่อนๆ เกี่ยวกับเรื่อง วิธีในการอ่านค่าบนเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์โดยสังเขปในวันนี้ ถึงจะเป็นเรื่องพื้นฐานสำหรับแฟนเพจหลายๆ คนแต่ก็น่าที่จะทำให้เพื่อนๆ ของเราอีกหลายๆ คนเช่นกันที่อาจจะยังอ่านค่าๆ นี้ไม่เป็น ซึ่งจะรวมไปถึงเพื่อนๆ ที่เคยอ่านเป็นแต่อาจจะหลงลืมไปแล้วเพราะอาจจะไม่ได้มีการใช้งานเจ้าอุปกรณ์ๆ นี้เป็นระยะเวลาที่นานมากแล้้ว เป็นการช่วยให้เพื่อนๆ ของเราเหล่านี้ได้สามารถที่จะอ่านค่าบนเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์กันได้อย่างถูกต้องแล้วนะครับ

 

ผมจึงคาดหวังไว้ว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อยและจนกว่าเราจะกลับมาพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์ของวันพุธ
#ความรู้เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง
#วิธีในการอ่านค่าบนเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com