การออกแบบวิศวกรรมงานดินและฐานราก (GEOTECHNICAL & FOUNDATION ENGINEERING DESIGN หรือ GFE)

การออกแบบวิศวกรรมงานดินและฐานราก (GEOTECHNICAL & FOUNDATION ENGINEERING DESIGN หรือ GFE)

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การออกแบบวิศวกรรมงานดินและฐานราก (GEOTECHNICAL & FOUNDATION ENGINEERING DESIGN หรือ GFE) นะครับ

สืบเนื่องจากที่เมื่อวานนี้ผมได้นำกรณีศึกษามาฝากเพื่อนๆ ปรากฏว่าได้รับความสนใจพอสมควรเลยนะครับ และ ได้มีเพื่อนวิศวกรของผมท่านหนึ่งสอบถามมาว่า อยากจะได้เอกสารอ้างอิงข้อมูลที่ผมพูดถึงนี้หน่อย ผมจึงได้ทำการติดต่อไปยังเพื่อนของผมที่เป็นสายตรงทางด้านวิศวกรรมธรณีเทคนิคท่านหนึ่ง ให้เพื่อนท่านนี้ช่วยอ้างอิงข้อมูลจากเอกสารทางด้านวิศวกรรมฐานรากให้ผมสักหน่อย เพื่อนท่านนี้ก็มีน้ำใจต่อผมมากๆ ท่านอุตสาห์สละเวลา ช่วยหาและส่งรูปๆ นี้มาให้ผมน่ะครับ ยังไงผมต้องขอขอบคุณเพื่อนท่านนี้มากๆ ด้วยนะครับ ไม่อย่างนั้นคงจะเสียเวลาในการหาเอกสารอ้างอิงกันพอสมควร เพราะ จริงๆ แล้วผมเป็นคนที่อ่านตำราเยอะ ซึ่งในบางครั้งตัวผมเองก็จำไม่ได้ว่าอ่านข้อมูลนั้นข้อมูลนี้จากตำราเล่มไหนกันแน่น่ะครับ

ผมขอทำการอ้างอิงไปที่เอกสารตำราในวิชา วิศวกรรมฐานราก (FOUNDATION ENGINEERING) เขียนโดยท่าน ศ ดร สุขสันต์ หอพิบูลสุข หน้าที่ 127 หัวข้อที่ 3.7 การถ่ายน้ำหนักของเสาเข็มเดี่ยว ย่อหน้าแรกตามข้อความที่ได้มีการไฮไลต์เอาไว้

“… แรงแบกทานที่ปลายเสาเข็มจะเกิดขึ้นได้อย่าง เต็มที่ เมื่อเสาเข็มจมอยู่ในชั้นดินแข็งเป็นระยะประมาณ 2-3 เท่า ของขนาดของเสาเข็ม เมื่อเสาเข็มรับน้ำหนักบรรทุกจนถึงจุดวิบัติ ระนาบวิบัติของดินใต้เสาเข็มจะเกิดในช่วง 2-3 เท่าของขนาดเสาเข็ม …”

ซึ่งนี้คือคำตอบว่า เหตุใดผมจึงเลือกวางปลายเสาเข็มให้อยู่ที่ระดับความลึก 24 เมตร เป็นอย่างน้อย และ สาเหตุที่ผม ไม่ได้ ทำการระบุให้เพื่อนๆ ทราบด้วยว่า เราควรที่จะให้ปลายของเสาเข็มนั้นจมอยู่ในชั้นดินแข็งเป็นระยะประมาณ 2-3 เท่า ของขนาดของเสาเข็มเหมือนในหนังสือฉบับนี้ นั่นเป็นเพราะว่า ผมได้ทำการทอนกำลังรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยลงมาจากที่ทำการออกแบบไว้ เช่น ค่าที่คำนวณได้เท่ากับ 48 TONS ผมทอนลงมาเหลือเพียง 40 TONS เท่านั้น ตัวของผมเองจึงไม่ได้ซีเรียสในประเด็นดังกล่าวมากนัก และ ที่ผมได้เล่าให้ฟังว่าเราควรที่จะตรวจสอบว่าขนาด ความหนา ของชั้นดินดังกล่าวนั้นมีค่าที่มากกว่าประมาณ 3 ถึง 5 เท่า ของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของเสาเข็มที่เราใช้ในการรับน้ำหนัก (ซึ่งจริงๆ แล้วสัดส่วนนี้จะมีค่ามากกว่าค่าที่ได้ระบุเอาไว้ในตำราเล่มนี้เสียอีก เพราะ ในตำราระบุให้ใช้เพียง 2 ถึง 3 เท่า) ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดสัดส่วนความปลอดภัยที่เพิ่มมากยิ่งขึ้นนั่นเองนะครับ

นี่จึงเป็นอีกครั้งหนึ่งที่ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการเจาะสำรวจดิน เพราะ ถ้าหากว่าเราไม่ทำขั้นตอนการเจาะสำรวจดินเหมือนกันกับที่ผมมักจะให้คำแนะนำอยู่บ่อยๆ ถ้าหากว่าโชคดีหน่อย เพื่อนๆ ก็อาจที่จะไม่ประสบพบเจอกับเหตุการณ์ที่ดินมีความแปรปรวนเหมือนเช่นกรณีนี้ แต่ ถ้าหากว่าโชคไม่ดีขึ้นมา ไปเจอกรณีชั้นดินนั้นมีค่าความแปรปรวนที่มาก ก็ไม่ต้อง คิด หรือ นึกถึง ผลลัพธ์ หรือ ความเสียหาย ที่อาจจะเกิดตามมาเลยนะครับว่าจะมากมายหรือสาหัสสักขนาดไหน

ดังนั้นก็เหมือนเช่นเคยในทุกๆ ครั้งที่ผ่านมานะครับ ผมจึงอยากที่จะขอให้ข้อคิดและคำแนะนำเอาไว้อีกสักครั้งหนึ่งว่า เราควรที่จะทำการ เจาะสำรวจดิน ก่อนที่จะทำการออกแบบโครงสร้างเสาเข็มเสมอ ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันมิให้เหตุร้ายใดๆ เกิดขึ้นเอาไว้ก่อน ซึ่งแน่นอนว่าดีกว่าการมานั่งทำการแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในภายหลัง ก็น่าที่จะเป็นวิธีการที่ดีที่สุดนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN
Bhumisiamภูมิสยาม

micropile-spunmicropile-micro-pile

micropile-spunmicropile-micro-pile