ความรู้เรื่องการหาค่าการเสียรูปในโครงสร้างคานคอนกรีตเสริมเหล็กโดยวิธีแบบละเอียด

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ

ในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาพาเพื่อนๆ ไปลงรายละเอียดในรายการคำนวณการตรวจสอบหาค่าการเสียรูปภายในหน้าตัดของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กในหน้าที่ 6 ซึ่งเป็นหน้าสุดท้ายแล้ว ซึ่งก็คือรูปที่ผมได้นำเอามาประกอบคำอธิบายในวันนี้นะครับ
โดยที่เนื้อหาในหน้าสุดท้ายนี้จะเป็นการคำนวณเพื่อที่จะตรวจสอบหาว่า สถานะของการเสียรูปในแนวดิ่งของโครงสร้างคานของเรานั้นเป็นเช่นใดเมื่อเราทำการพิจารณาจากค่าเกณฑ์ต่างๆ ซึ่งเป็นค่าที่ยอมให้ตามที่ได้มีการระบุเอาไว้ใน CODE ใช่หรือไม่นะครับ


ก่อนอื่นหน้านี้จะเริ่มต้นจากการที่เราต้องทำการพิจารณาถึงกรณีของ การเสียรูปในระยะยาว หรือ LONG TERM DEFLECTION เสียก่อน โดยที่จะต้องทำการคำนึงถึงลักษณะพฤติกรรมของคงค้างของน้ำหนักบรรทุกที่กระทำอยู่ที่ด้านบนโครงสร้างคานของเรานั้นจะคงค้างอยู่นานเท่าใด ซึ่งในหน้าๆ นี้เราจะต้องทำการเปรียบเทียบค่าระยะเวลาของการที่น้ำหนักบรรทุกนั้นมีการคงค้างให้อยู่ในแกน X และเทียบหาค่าสัมประสิทธิ์ตัวคูณของค่า ξ ซึ่งจะหาได้จากแผนภูมิในรูปที่ 2.5 ที่อยู่ใน CODE ของ ACI สุดท้ายเราก็จะนำเอาค่า ξ นี้ไปแทนค่าลงในสมการเพื่อที่จะทำการคำนวณหาค่าของ λ ซึ่งเป็นค่าสัมประสิทธิ์ตัวคูณกับค่าการเสียรูปเนื่องจากการเสียรูปในระยะยาวที่เราได้ทำการคำนวณเอาไว้เรียบร้อยแล้วก่อนหน้านี้นะครับ

ขั้นตอนต่อมาก็คือ เราจะต้องเลือกทำการกำหนดค่าเกณฑ์ของการเสียรูปที่ยอมให้จากตารางที่ 4205 ที่อยู่ใน CODE ของ EIT ว่า ลักษณะของระยะของการเสียรูป และ ชนิดของโครงสร้างที่เรากำลังทำการพิจารณาอยู่นั้นเป็นโครงสร้างแบบใด ซึ่งเมื่อเลือกได้แล้ว เราก็จะนำเอาค่าเกณฑ์ของการเสียรูปที่ยอมให้นี้ไปใช้ในขั้นตอนสุดท้ายของการคำนวณของเรานั่นเองครับ

ขั้นตอนสุดท้ายคือ เราต้องเริ่มพิจารณาถึงค่าการเสียรูปที่เกิดขึ้นแล้ว โดยเราจะต้องพิจารณาไปทีละกรณีของน้ำหนักบรรทุก โดยที่กรณีแรกจะเป็น การเสียรูปแบบทันทีทันใด ซึ่งก็คือ ค่าการเสียรูปที่เกิดขึ้นเนื่องจากน้ำหนักบรรทุกจรเพียงอย่างเดียว หรือ Δ(LL) ซึ่งจะคำนวณได้จากค่าการเสียรูปที่เกิดขึ้นในกรณีที่ 2 หรือ Δ(IMM) ลบด้วยค่าการเสียรูปที่เกิดขึ้นในกรณีที่ 1 หรือ Δ(DL) ซึ่งหากผ่านเกณฑ์ที่ยอมให้ตามที่ระบุเอาไว้ใน CODE ก็ถือได้ว่าโครงสร้างคานของเรานั้นผ่านเกณฑ์พิจารณาสำหรับกรณีของการเสียรูปกรณีนี้เรียบร้อยแล้วนะครับ

ขั้นตอนสุดท้ายของสุดท้ายจริงๆ แล้วนั่นก็คือการพิจารณาถึงค่าการเสียรูปในกรณีที่สองซึ่งจะเป็น การเสียรูปแบบทั้งหมด ซึ่งก็คือ ค่าการเสียรูปในระยะยาว หรือ Δ(SUS) ที่ได้รับการคูณปรับแก้ด้วยค่า λ แล้ว รวมกันกับผลของค่าการเสียรูปที่เกิดขึ้นเนื่องจากน้ำหนักบรรทุกจรเพียงอย่างเดียว ที่ได้รับการคูณปรับแก้ด้วยค่า F2 แล้ว ซึ่งค่า F2 นี้ก็จะสามารถทำการคำนวณได้จากการนำเอาค่า 1.00 ลบด้วยค่า F1 ที่ได้แสดงเอาไว้อยู่ในหน้าที่ 5 ก่อนหน้านี้ ซึ่งหากผ่านเกณฑ์ที่ยอมให้ตามที่ระบุเอาไว้ใน CODE ก็ถือได้ว่าโครงสร้างคานของเรานั้นผ่านเกณฑ์พิจารณาสำหรับกรณีของการเสียรูปกรณีนี้เรียบร้อยแล้วนะครับ

โดยที่ในการพิจารณาค่าการเสียรูปของโครงสร้างคานข้างต้นนั้น จำเป็นที่จะต้องผ่านเกณฑ์ทั้งสองกรณีเสมอ นอกเสียจากว่า โครงสร้างที่เรากำลังประเมินอยู่นั้นทำหน้าที่เป็นเพียงแค่โครงสร้างคานที่มีการใช้งานเพียงแค่ชั่วคราว หรือ TEMPORARY BEAM เพียงเท่านั้น หากเป็นเช่นนั้นเราก็อาจที่จะเลือกทำการประเมินให้ค่าการเสียรูปนั้นผ่านเกณฑ์เฉพาะแค่ในกรณีที่ 1 เพียงแค่กรณีเดียวก็ได้ครับ

ทั้งนี้เพื่อนๆ จะสามารถเห็นได้จากขั้นตอนในการคำนวณทุกๆ หน้าตลอด 5 ครั้งที่ผ่านมาว่า การคำนวณหาค่าการเสียรูปของคานโดยวิธีการละเอียดนั้น ถือได้ว่าเป็นขั้นตอนในการคำนวณที่เรียกได้ว่ามีความยุ่งยากและก็ละเอียดซับซ้อนมากๆ ในระดับหนึ่งเลย ดังนั้นหากเพื่อนต้องการที่จะหลีกเลี่ยงการต้องตรวจสอบค่าการเสียรูปของคานโดยวิธีการละเอียดแล้ว เพื่อนๆ ก็ควรที่จะเลือกกำหนดค่าของขนาดความลึกของคานให้มีค่าที่ไม่น้อยไปกว่าที่ CODE ได้ให้คำแนะนำเอาไว้ในการใช้งานก็จะเป็นการดีที่สุดนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันพุธ
#ความรู้เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง
#ความรู้เรื่องการหาค่าการเสียรูปในโครงสร้างคานคอนกรีตเสริมเหล็กโดยวิธีแบบละเอียด
#ครั้งที่5
ADMIN JAMES DEAN


Bhumisiam (ภูมิสยาม)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) 

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447 
☎️ 082-790-1448 
☎️ 082-790-1449 
☎️ 091-9478-945 
☎️ 091-8954-269 
☎️ 091-8989-561
📲 https://lin.ee/hum1ua2
📥 https://m.me/bhumisiam