การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง เหล็ก (STRUCTURAL STEEL ENGINEERING DESIGN หรือ SCE)

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง เหล็ก (STRUCTURAL STEEL ENGINEERING DESIGN หรือ SCE) นะครับ

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการเฉลยและมา DISCUSS ร่วมกันกับเพื่อนๆ ถึงประเด็นคำถามที่ผมได้ฝากเอาไว้ตั้งแต่เมื่อวานนั่นก็คือ

เนื่องจากเมื่อวันก่อนได้มีเพื่อนของผมท่านหนึ่งได้อินบ็อกซ์มาสอบถามผมและเล่าให้ฟังว่าในขณะนี้เพื่อนของผมกำลังทำการก่อสร้างบ้านของเค้าอยู่พร้อมกับส่งรูปภาพของงานก่อสร้างบ้านของเค้ามาให้ผมดู ปรากฏว่างานคืบหน้าไปมากจนตอนนี้กำลังทำงานขึ้นโครงสร้างหลังคาอยู่ และ มีรูปภาพอยู่ 2-3 รูป ที่ผมเห็นแล้วเกิดความไม่สบายใจหลายอย่าง นั่นก็คือรูปที่แสดงอยู่ในโพสต์ๆ นี้นะครับ ซึ่งคำถามก็คือ หากงานๆ นี้เป็นงานที่เพื่อนๆ ต้องเป็นผู้ควบคุมการทำงาน หรือว่าอาคารหลังนี้เป็นงานก่อสร้างบ้านของท่านเอง เพื่อนๆ จะยอมให้ช่างเหล็กทำงานให้ออกมาในลักษณะแบบนี้หรือไม่ ? หากเพื่อนๆ คิดว่าเราคงจะยอมรับคุณภาพงานเช่นนี้ไม่ได้ เราจะมีวิธีป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นได้อย่างไรบ้าง ? และจะมีวิธีแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแบบนี้ได้อย่างไรบ้าง ?

 

ผมจะขออนุญาตตอบไปทีละคำถามๆ ก็แล้วกันนะครับ เริ่มจากหากงานๆ นี้เป็นงานที่ผมต้องเป็นผู้ควบคุมการทำงาน หรือว่าอาคารหลังนี้เป็นงานก่อสร้างบ้านของผมเอง ผมจะยอมให้ช่างเหล็กทำงานให้ออกมาในลักษณะแบบนี้หรือไม่ ?

ผมคงจะไม่ยอมนะครับ แต่ ต้องมาอธิบายกันต่อไปให้ทราบนิดนึงนะครับว่าเพราะเหตุใดผมจึงไม่ยินยอมรับงานที่มีคุณภาพในลักษณะแบบนี้นะครับ

ต่อมาคือหากผมคิดว่าเราคงจะยอมรับคุณภาพงานเช่นนี้ไม่ได้ ผมจะมีวิธีป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นได้อย่างไรบ้าง ?

ผมจะขออนุญาตตอบในฐานะที่ผมเป็นวิศวกรโครงสร้างก็แล้วกันนะครับ โดยจะรวบเอาเหตุผลในข้อแรกมาอธิบายทีเดียวในข้อนี้เลยนั่นก็คือ

  1. วิศวกรผู้ออกแบบจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในหลักการเลือกขนาดความหนาของชิ้นส่วนโครงสร้างที่ดี
    โดยเราต้องทำความเข้าใจหลักในการออกแบบข้อหนึ่งที่ถือได้ว่ามีความสำคัญมากๆ นั่นก็คือ นอกจากการเลือกพิจารณาออกแบบโครงสร้างใน สภาวะการรับกำลัง แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่เราจะหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยนั่นก็คือเราจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงโครงสร้างใน สภาวะการใช้งาน ด้วยเสมอนะครับ

สำหรับในกรณีนี้ก็เช่นกัน เราจะสังเกตเห็นได้ว่าแผ่นเหล็ก หรือ BASE PLATE ที่ใช้รองใต้เสาเหล็กนั้นจะมีขนาดความหนาที่ค่อนข้างน้อยมากๆ ซึ่งหากพิจารณาจากทฤษฎีการออกแบบแล้วเราอาจจะพบว่าก็ผ่านเกณฑ์การออกแบบมาแล้วนี่นา แต่ เมื่อดูสภาพจริงๆ ของโครงสร้างจะพบว่า เนื่องจากเมืองไทยเป็นเมืองที่มีสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ดังนั้นในการเลือกขนาดความหนาของชิ้นส่วนโครงสร้างเหล็กจึงควรที่จะต้องเข้าใจด้วยว่า เราจำเป็นที่จะต้องเลือกความหนาของแผ่นเหล็กให้มีขนาดความหนาพอประมาณ มิเช่นนั้นหากเลือกขนาดความหนาของแผ่นเหล็กตามทฤษฎีโดยไม่คำนึงถึงเรื่องอื่นๆ ด้วยแล้วพบว่ามีความบางมากๆ ก็จะทำให้เพิ่มโอกาสในการเกิดสนิมขึ้นที่แผ่นเหล็กมากยิ่งขึ้นนะครับ ดังนั้นวิศวกรจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในประเด็นๆ นี้ด้วยนะครับ

  1. แบบวิศวกรรมโครงสร้างที่แสดงนั้นจำเป็นที่จะต้องมีรายละเอียดที่ครบถ้วนสมบูรณ์และมีความชัดเจนเพียงพอนั่นเองครับ

ผมจะไม่พูดถึงรายละเอียดของแบบวิศวกรรมโครงสร้างที่ใช้ในการก่อสร้างของโครงการก่อสร้างนี้ก็แล้วกันนะครับเดี๋ยวจะคุยกันไม่จบ เอาเป็นว่าผมจะขอยก ตย จากแบบวิศวกรรมโครงสร้างที่ทางผมจะทำขยายเพื่อให้ช่างได้ดูก็แล้วกัน จะพบว่าภายในแบบจะมีรายละเอียดทุกๆ อย่างที่จำเป็นที่ช่างเหล็กจะต้องทราบในการทำงาน เช่น คุณสมบัติของวัสดุ ระยะ และ ขนาดต่างๆ ของชิ้นส่วนโครงสร้างเหล็ก รายละเอียดต่างๆ ของการเชื่อมเหล็ก เป็นต้น

ซึ่งหากดูเผินๆ หลายๆ คนก็คงจะสงสัยว่า เหตุใดผมถึงได้ออกแบบแผ่นเหล็กหนาขนาดนี้ ? ซึ่งนั่นเป็นเพราะว่าผมได้คำนึงถึงเรียบร้อยแล้วว่าลักษณะของโครงสร้างหลังคาที่ออกแบบนั้นจะมีสภาพต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างไรบ้างนั่นเองนะครับ ดังนั้นวิศวกรจำเป็นที่จะต้องแสดงรายละเอียดต่างๆ ของงานวิศวกรรมโครงสร้างลงไปในแบบให้มีความชัดเจนและครบถ้วนมากที่สุดเท่าที่จะสามารถแสดงได้นะครับ

 

เอาละครับ มาถึงคำถามข้อสุดท้ายกันแล้วนะครับ นั่นก็คือผมจะมีวิธีแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแบบนี้ได้อย่างไรบ้าง ?

จริงๆ แล้ววิธีในการแก้ไขปัญหาแบบนี้มีด้วยกันหลากหลายวิธีการด้วยกันนะครับ ผมจึงได้แนะนำเพื่อนของผมท่านนี้ไปว่า ให้ไปคุยกับช่างหรือวิศวกรผู้ควบคุมการทำงานก่อน ว่าเค้าจะมีวิธีการใดบ้างที่จะนำเสนอเพื่อแก้ไขสภาพของโครงสร้างให้ดีขึ้น แต่ผมจะขออนุญาตยก ตย สักหนึ่งวิธีก็แล้วกันครับ ซึ่งวิธีการที่ผมจะแนะนำนี้เป็นวิธีการที่ตรงไปตรงมามากที่สุด และ น่าจะแก้ไขได้ตรงประเด็นมากที่สุดด้วยนะครับ นั่นก็คือ เราจะนำข้อดีของการใช้งานโครงสร้างเหล็กมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เพราะ เราทราบดีว่าโครงสร้างเหล็กเป็นโครงสร้างที่สามารถขึ้นรูปได้ง่ายกว่าโครงสร้างคอนกรีต หากความยาวของชิ้นส่วนนั้นสั้นเกินไปก็สามารถที่จะต่อชิ้นส่วนได้ หรือ หากความยาวของชิ้นส่วนนั้นยาวเกินไปก็สามารถที่จะตัดออกได้เช่นกัน สำหรับกรณีนี้ก็เช่นกัน โดยเราจะตัดแผ่นเหล็กที่ติดเดิมนี้ออก และ เราก็จะทำการเปลี่ยนแผ่นเหล็กให้มีความหนามากยิ่งขึ้น โดยมีข้อแม้ว่า ทำอย่างไรก็ได้ให้ในขณะที่ทำการตัดต่อนั้นเสาเหล็กต้นนี้จะไม่เกิดแรงตามแนวแกน หรือ มีแรงตามแนวแกนน้อยที่สุด เช่น อาจจะจำเป็นต้องทำการค้ำยันโครงสร้างหลังคาด้านบนนี้เอาไว้กับคาน คสล ที่อยู่ที่ด้านล่างเอาไว้ก่อน หรือ หากมีการมุงวัสดุหลังคาไปแล้ว หากพบว่าวัสดุมุงนั้นมี นน ที่มากก็อาจจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายเอาวัสดุมุงออกก่อน เป็นต้น เพียงเท่านี้ก็แก้ปัญหาการที่แผ่นเหล็กมีความหนาน้อยจนเกินไปได้แล้วนะครับ

 

สรุปสั้นๆ ก็แล้วกันนะครับ ผมมีความคิดเห็นว่า ทุกอย่างใน งานก่อสร้าง นั้นมีจุดเริ่มต้นมาจาก แบบ ดังนั้น งานก่อสร้าง จะดีได้ แบบ ก็ต้องดีด้วยนั่นเองนะครับ ดังนั้นจึงเป็นความรับผิดชอบของวิศวกรโครงสร้างอย่างหลีกเลี่ยงไมได้ที่จะต้องทำการ “ผลิต” แบบวิศวกรรมโครงสร้างที่ดี ที่มีคุณภาพ มีความเหมาะสม และ ดีเพียงพอ ต่อการทำงานของช่างที่หน้างาน ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจทำงานของช่างเมื่อขาดแบบและรายละเอียดต่างๆ ในการทำงานที่เหมาะสมไปนั่นเองนะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com