วิธีในการออกแบบโครงสร้างแผ่นเหล็กที่จะทำหน้าที่รองรับแรงกดสำหรับโครงสร้างเสาเหล็กรูปพรรณ หรือ COLUMN BEARING PLATE

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันจันทร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” นะครับ

จริงๆ แล้วในสัปดาห์นี้ผมตั้งใจที่จะขึ้นหัวข้อใหม่แล้วแต่สืบเนื่องจากตัวอย่างที่ผมได้นำเอามาแสดงต่อเพื่อนๆ ในโพสต์ของเมื่อสัปดาห์ก่อนเกี่ยวกับเรื่องวิธีในการออกแบบโครงสร้างแผ่นเหล็กที่จะทำหน้าที่รองรับแรงกดสำหรับโครงสร้างเสาเหล็กรูปพรรณ หรือ COLUMN BEARING PLATE ซึ่งได้รับความสนใจค่อนข้างมาก ซึ่งเหตุก็อยู่ตรงที่มีคอมเม้นต์สอบถามเข้ามาในทำนองเดียวกัน ตัวอย่างเช่น จะทำอย่างไรดีหากเราอยากที่จะทำให้การออกแบบนั้นให้ออกมาง่ายๆ ไม่ต้องแก้สมการอะไรเยอะแยะ หรือ จะทำอย่างไรดีหากไม่ต้องการที่จะออกแบบให้เจ้าสลักเกลียวแบบฝังยึดนั้นต้องรับแรงดึงเหมือนกันกับตัวอย่างที่ผมได้แสดงให้ดูเมื่อวันจันทร์ที่แล้ว เป็นต้นนะครับ

ผมเลยตอบไปในอินบ็อกซ์ในทันทีเลยว่า ทำได้ แต่ในทางปฏิบัติแล้วก็จะทำยากนิสนึงนะและก็ได้รับปากกับเพื่อนๆ ที่ได้ถามเข้ามาว่า ผมจะทำการให้ตัวอย่างเพื่อเป็นกรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นคำถามที่เพื่อนๆ นั้นได้ถามไถ่กันเข้ามาเป็นโพสต์สุดท้ายของหัวข้อๆ นี้ ซึ่งวิธีการที่ผมบอกว่า สามารถที่จะทำได้แต่ในทางปฏิบัติแล้วก็จะทำยากสักหน่อย ก็ง่ายๆ ตรงไปตรงมามากๆ นั่นก็คือ เราก็อย่าทำการออกแบบให้ขนาดของโครงสร้างแผ่นเหล็กที่จะทำหน้าที่รองรับแรงกดสำหรับโครงสร้างเสาเหล็กรูปพรรณต้องรับหน่วยแรงดึง เพียงเท่านี้เจ้าสลักเกลียวแบบฝังยึดก็จะไม่ต้องทำหน้าที่รับแรงดึงแล้ว โดยเราอาจจะใส่แค่สลักเกลียวแบบฝังยึดเพื่อให้รับแรงเฉือนที่จะเกิดจากแรงกระทำในแนวราบของโครงสร้างซึ่งก็มักจะไม่ได้มีมากมายอะไรนัก เอาเป็นว่าเพื่อให้เพื่อนๆ นั้นมองเห็นภาพและเข้าใจได้ง่ายดายยิ่งขึ้น เราไปดูตัวอย่างข้อนี้พร้อมๆ กันเลยก็แล้วกันนะครับ


ในรูปๆ นี้เพื่อนๆ จะเห็นได้ว่าเป็นรูปโครงสร้างแผ่นเหล็กที่จะทำหน้าที่รองรับแรงกดสำหรับโครงสร้างคานเหล็กรูปพรรณซึ่งจะต้องทำหน้าที่ในการรับแรงกระทำในแนวดิ่งในกรณีของน้ำหนักบรรทุกแบบใช้งานจะมีค่าเท่ากับ 20 T และสุดท้ายก็คือแรงโมเมนต์ดัดในกรณีของน้ำหนักบรรทุกแบบใช้งานจะมีค่าเท่ากับ 6 T-M ผมขอสมมติให้คอนกรีตที่บริเวณฐานรองรับของเรานั้นมีค่ากำลังรับแรงอัดประลัยของตัวอย่างคอนกรีตรูปทรงกระบอกขนาดมาตรฐานหรือ fc’ ให้มีค่าเท่ากับ 280 KSC ทั้งนี้หากเพื่อนๆ เป็นวิศวกรโครงสร้างในโครงการก่อสร้างแห่งนี้จงทำการตรวจสอบดูว่า ขนาดของเจ้าโครงสร้างแผ่นเหล็กที่จะทำหน้าที่รองรับแรงกดสำหรับโครงสร้างคานเหล็กรูปพรรณในปัญหาข้อนี้จะออกมามีค่าเท่ากับเท่าใดหากเราไม่ต้องการให้เจ้าสลักเกลียวแบบฝังยึดของเรานั้นต้องทำหน้าที่รับแรงดึงเหมือนกันกับในตัวอย่างของเมื่อวันจันทร์ที่แล้วนะครับ

ซึ่งจากปัญหาข้อนี้ในเมื่อกรณีของน้ำหนักบรรทุกนั้นเป็นกรณีน้ำหนักบรรทุกแบบใช้งาน ดังนั้นผมก็จะใช้วิธีในการออกแบบตามมาตรฐาน AISC โดย วิธีการหน่วยแรงที่ยอมให้ หรือ ALLOWABLE STRESS DESIGN หรืออาจจะเรียกสั้นๆ ได้ว่าวิธี ASD ก็ได้ โดยที่ในขั้นตอนแรกที่เราจะสามารถจะเริ่มต้นทำการคำนวณได้เลยก็คือ ทำการคำนวณหาค่าระยะเยื้องศูนย์ที่เกิดขึ้นเป็นอันดับแรกนั่นก็คือ
e = M / P
e = 6 × 1000 / ( 20 × 10 )
e = 30 CM

ซึ่งเราต้องการให้เป็นไปตามกรณีที่ 1 นั่นก็คือ เมื่อทำการคำนวณระยะเยื้องศูนย์ออกมาแล้วก็จะพบว่ามีค่าที่ไม่มากไปกว่าระยะ N/6 พูดง่ายๆ ก็คือ ค่า e นั้นค่อนข้างที่จะน้อยมากๆ เลยหรือจะสามารถเขียนให้อยู่ในรูปแบบของสมการได้ว่า
e ≤ N / 6

อย่างแย่ที่สุดก็คือให้เป็นไปตามกรณีที่ 2 นั่นก็คือ เมื่อทำการคำนวณหาค่าระยะเยื้องศูนย์ออกมาแล้วก็จะพบว่ามีค่าที่มากกว่า N/6 แต่ก็ไม่มากไปกว่าหรือเต็มที่เลยก็คือออกมามีค่าเท่ากับระยะ N/2 เลย ซึ่งพูดง่ายๆ ก็คือ ค่า e นั้นจะมีค่าอยู่ในเกณฑ์ปานกลางหรือจะสามารถเขียนให้อยู่ในรูปแบบของสมการได้ว่า
N / 6 < e ≤ N / 2

ทั้งนี้เพื่อเป็นการคำนึงถึงเหตุผลทางด้านความประหยัดในการก่อสร้าง ดังนั้นผมก็จะทำการเลือกใช้งานให้เป็นไปตามกรณีหลังก็แล้วกันนะครับ
30 = N / 2
N = 30 × 2
N = 60 CM

ดังนั้นผมก็จะเลือกใช้งานระยะของค่า N ให้มีค่าเท่ากับ 65 CM และเมื่อผมใช้เกณฑ์ของกรณีที่ 2 เพื่อเป็นเกณฑ์ในการออกแบบเราก็จะสามารถทำการคำนวณหาค่าระยะที่เจ้าแผ่นเหล็กนี้จะต้องรับแรงอัดหรือระยะ a ออกมาได้เท่ากับ
a = 3 × ( N / 2 ‒ e )
a = 3 × (65 / 2 ‒ 30 )
a = 7.5 CM

สำหรับกรณีนี้ซึ่งพื้นที่ของแผ่นเหล็กหรือ A1 นั้นวางคลุมเต็มเนื้อที่ของคอนกรีตหรือ A2 ดังนั้นค่าหน่วยแรงแบกทานที่ยอมให้ของคอนกรีตก็จะมีค่าเท่ากับ
Fp = 0.35 × fc’
Fp = 0.35 × 280
Fp = 98 KSC

ดังนั้นค่าความกว้างน้อยที่สุดที่เจ้าโครงสร้างแผ่นเหล็กที่จะทำหน้าที่รองรับแรงกดสำหรับโครงสร้างคานเหล็กรูปพรรณจะต้องมีก็จะมีค่าเท่ากับ
B = 2 × P / ( a × Fp )
B = 2 × 20 × 1000 / (7.5 × 98 )
B = 54.43 CM

ดังนั้นผมก็จะเลือกใช้งานระยะของค่า B ให้มีค่าเท่ากับ 60 CM ซึ่งเราก็จะทำการตรวจสอบค่าหน่วยแรงแบกทานมากที่สุดซึ่งจะเกิดขึ้นใต้โครงสร้างแผ่นเหล็กที่จะทำหน้าที่รองรับแรงกดสำหรับโครงสร้างคานเหล็กรูปพรรณโดยการนำเอาค่าต่างๆ ที่คำนวณได้ก่อนหน้านี้แทนเข้าไปในสมการสมดุลของแรง
½ × fb,max × a × B = P
fb,max = 2 × P / ( a × B )
fb,max = 2 × 20 × 1000 / ( 7.5 × 60 )
fb,max = 89 KSC < 98 KSC <<OK>>

ขั้นตอนที่เหลือเพื่อนๆ ก็แค่ทำการคำนวณหาค่าหน่วยแรงแบกทานที่หน้าตัดวิกฤติออกมาเพื่อจะได้นำไปคำนวณหาค่าโมเมนต์ดัดมากที่สุดที่เกิดขึ้น เพื่อสุดท้ายแล้วก็จะได้นำค่าดังกล่าวเอาไปใช้ในการออกแบบว่าโครงสร้างแผ่นเหล็กที่จะทำหน้าที่รองรับแรงกดสำหรับโครงสร้างคานเหล็กรูปพรรณของเราจะต้องมีความหนาเท่ากับเท่าใดก็เท่านั้นเองครับ

จากผลการออกแบบพบว่าต้องใช้โครงสร้างแผ่นเหล็กที่จะทำหน้าที่รองรับแรงกดสำหรับโครงสร้างคานเหล็กรูปพรรณขนาดความยาวเท่ากับ 65 CM และมีขนาดความกว้างเท่ากับ 60 CM ซึ่งหากเพื่อนๆ ลองทำการเปรียบเทียบกันกับโครงสร้างแผ่นเหล็กที่จะทำหน้าที่รองรับแรงกดสำหรับโครงสร้างคานเหล็กรูปพรรณจากตัวอย่างข้อที่แล้วก็จะพบว่า ขนาดของแผ่นเหล็กนั้นต่างกันมากพอดูเลย ซึ่งตรงนี้เองคือสาเหตุว่าเพราะเหตุใดผมจึงได้กล่าวไปในตอนต้นว่า กรณีของการออกแบบให้ง่ายนั้นสามารถที่จะทำได้แต่ในทางปฏิบัติแล้วก็จะทำได้ยากอยู่เหมือนกันเพราะโดยทั่วๆ ไปนั้นฐานที่จะทำหน้าที่ในการรองรับโครงสร้างแผ่นเหล็กที่จะทำหน้าที่รองรับแรงกดสำหรับโครงสร้างคานเหล็กรูปพรรณนั้นมักจะมีขนาดที่ค่อนข้างจะจำกัดมากๆ เลยนะครับ

ดังนั้นเมื่อใดก็ตามที่เพื่อนๆ มีความต้องการที่จะทำการออกแบบเจ้าโครงสร้างแผ่นเหล็กที่จะทำหน้าที่รองรับแรงกดสำหรับโครงสร้างคานเหล็กรูปพรรณเพื่อนๆ ก็ควรที่จะต้องพิจารณาและทำการออกแบบโครงสร้างดังกล่าวนี้โดยใช้กรณีของการออกแบบที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกันกับข้อจำกัดที่มีอยู่จริงด้วยนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันจันทร์
#ความรู้ที่มีประโยชน์เพื่อคุณผู้หญิง
#การออกแบบแผ่นเหล็กที่มีการติดตั้งสลักเกลียวแบบฝังยึด
#ครั้งที่6
ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)

1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น

2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น

3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น

 

เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)

4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น

5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น

 

เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)

6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น

7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น

8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447 (คุณจิน)
☎️ 082-790-1448 (คุณสปัน)
☎️ 082-790-1449 (คุณปุ๊ก)
☎️ 091-9478-945 (คุณสปัน)
☎️ 091-8954-269 (คุณสปัน)
☎️ 091-8989-561 (คุณมาย)
📲 https://lin.ee/hum1ua2
🎥 https://lin.ee/gN4OMZe
📥 https://m.me/bhumisiam

 

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com