การจำแนกประเภทของโครงสร้างราวกันตก

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันเสาร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ถาม-ตอบชวนสนุก” กันนะครับ


โดยที่ในวันนี้ประเด็นที่ผมได้เลือกนำเอามาตั้งเป็นคำถามประจำสัปดาห์นั้นจะมีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง ที่ผมได้ทำการโพสต์ถึงในสัปดาห์ที่ผ่านมาและก็เหมือนเช่นเคยผมคงจะต้องออกตัวอีกครั้งหนึ่งว่า คำถามประจำสัปดาห์นี้สุดแสนจะง่ายมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ โดยที่โจทย์ในวันนี้ก็คือ

จากรูปโครงสร้าง A B C และ D ที่แสดงอยู่ในโพสต์ๆ นี้ซึ่งโครงสร้างทั้งหมดนั้นถือได้ว่าเป็นโครงสร้างราวกันตกทั้งหมดเลย ประเด็นของคำถามในวันนี้ก็คือ มีโครงสร้างราวกันตกในรูปใดบ้างที่เมื่อเราดูด้วยตาเปล่าแล้ว เราสามารถที่จะจำแนกออกมาได้เลยว่าเป็นโครงสร้างราวกันตกแบบที่ยอมให้เกิดการเสียรูปได้บ้าง หรือ FLEXIBLE GUARD RAIL บ้าง ?

ทั้งนี้เพื่อนๆ ยังสามารถที่จะให้เหตุผลต่างๆ หรือ อาจจะทำการสเก็ตช์ภาพประกอบคำตอบเพื่อใช้อธิบายเพิ่มเติมได้ แล้วยังไงวันพรุ่งนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการเฉลยคำถามข้อนี้ให้แก่เพื่อนๆ ทุกคนได้รับทราบพร้อมๆ กันนะครับ

#โพสต์ของวันเสาร์
#ถามตอบชวนสนุก
#ปัญหาการจำแนกประเภทของโครงสร้างราวกันตก
ADMIN JAMES DEAN


คำตอบ

เป็นอย่างไรกันบ้างเอ่ย หากเพื่อนๆ ได้มีโอกาสย้อนกลับไปอ่านโพสต์ของผมเมื่อวันพุธที่ผ่านมาก็จะเห็นได้ว่าคำถามข้อนี้นั้นง่ายมากๆ เลยใช่มั้ย ดังนั้นวันนี้เราจะมาทำการจำแนกประเภทของโครงสร้างราวกันตกว่าแบบใดทุถือได้ว่าเป็นโครงสร้างราวกันตกแบบที่ยอมให้เกิดการเสียรูปได้บ้าง หรือ FLEXIBLE GUARD RAIL ไปพร้อมๆ กันเลยนะครับ


ตามที่ผมเคยได้แชร์ความรู้ไปก่อนหน้านี้ว่า วิธีในการจำแนกประเภทของโครงสร้างราวกันตกโดยวิธีการที่ง่ายที่สุดก็คือ ให้ดูจาก “วัสดุ” ที่ใช้ในการทำการก่อสร้าง ซึ่งหากเป็นโครงสร้างราวกันตกแบบที่ยอมให้เกิดการเสียรูปที่น้อยมากๆ หรืออาจจะไม่ยอมให้เกิดการเสียรูปเลย หรือ RIGID GUARD RAIL ซึ่งลักษณะเด่นของราวกันตกประเภทนี้คือ ส่วนใหญ่แล้วจะถูกทำขึ้นโดยการใช้โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กหรือโครงสร้างคอนกรีตอัดแรง ซึ่งข้อดีของโครงสร้างราวกันตกประเภทนี้คือ เป็นราวกันตกที่จะทำให้คนและยานพาหนะที่อาจจะอยู่ข้างล่างหรืออยู่ภายนอกโครงสร้างนั้นได้รับความปลอดภัยจากการชนหรือกระแทกของตัวรถยนต์หรือยานพาหนะที่อาจจะกระทำกับตัวโครงสร้างราวกันตกได้ ส่วนข้อเสียก็คือ เป็นราวกันตกที่จะทำให้คนและยานพาหนะที่เข้ามากระแทกหรือชนเข้ากับตัวราวกันตกนั้นมีโอกาสที่จะเกิดความเสียหายหรือภัยอันตรายในระดับที่สูงมากๆ ทั้งนี้เป็นเพราะราวกันตกประเภทนี้มีค่าความแข็งเกร็งที่ค่อนข้างจะสูงเอามากๆ หรือ HIGH STIFFNESS แน่นอนว่าพอเกิดการกระแทกขึ้นตัวรถยนต์หรือผู้คนที่โดยสารมาบนยานพาหนะนั้นๆ ย่อมที่จะต้องได้รับอันตรายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่วนหากเป็นโครงสร้างราวกันตกแบบที่ยอมให้เกิดการเสียรูปได้บ้าง หรือ FLEXIBLE GUARD RAIL ซึ่งลักษณะเด่นของราวกันตกประเภทนี้คือ ส่วนใหญ่แล้วจะถูกทำขึ้นโดยการใช้โครงสร้างเหล็กที่ถูกนำมาขึ้นรูป ซึ่งข้อดีของโครงสร้างราวกันตกประเภทนี้คือ เป็นราวกันตกที่จะทำให้คนและยานพาหนะที่อาจจะอยู่ข้างล่างหรืออยู่ภายนอกโครงสร้างนั้นได้รับความปลอดภัยจากการชนหรือกระแทกของตัวรถยนต์หรือยานพาหนะที่อาจจะกระทำกับตัวโครงสร้างราวกันตกได้อีกทั้งโครงสร้างประเภทนี้ยังถือได้ว่าเป็นราวกันตกที่จะช่วยทำให้คนและยานพาหนะที่เข้ามากระแทกหรือชนเข้ากับตัวราวกันตกนั้นมีความปลอดภัยอยู่ในระดับที่ดีและน่าพึงพอใจด้วย ทั้งนี้เป็นเพราะราวกันตกประเภทนี้มีค่าความแข็งเกร็งอยู่ในระดับที่ไม่สูงมากนักจึงยอมให้เกิดการเสียรูปได้หรือ HIGH FLEXIBILITY พอเกิดการกระแทกขึ้นทั้งตัวรถยนต์ที่เป็นผู้ชนและรถยนต์ที่อาจจะสัญจรไปมาอยู่ข้างล่างหรือแม้กระทั่งผู้คนที่โดยสารมาบนยานพาหนะนั้นๆ และผู้คนที่อาจจะอยู่บริเวณข้างล่าง ก็จะยังคงมีความปลอดภัยด้วยนะครับ

ดังนั้นพอมาดูทีละรูปๆ เราก็จะสามารถจำแนกได้เลยว่ารูป A และ D นั้นเป็นโครงสร้างราวกันตกที่ทำจากวัสดุประเภทคอนกรีต เราจึงสามารถที่จะทำการจำแนกได้ว่าเป็นโครงสร้างราวกันตกแบบ RIGID GUARD RAIL ส่วนในรูป B และ C นั้นเป็นโครงสร้างราวกันตกที่ทำจากวัสดุประเภทเหล็ก เราจึงสามารถที่จะทำการจำแนกได้ว่าเป็นโครงสร้างราวกันตกแบบ FLEXIBLE GUARD RAIL นั่นเองครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันอาทิตย์
#ถามตอบชวนสนุก
#ตอบปัญหาการจำแนกประเภทของโครงสร้างราวกันตก
ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com