การพิจารณาเวลาที่ทำการออกแบบและการทำงานก่อสร้างงานวิศวกรรมโครงสร้างเหล็ก

สวัสดีครับทุกๆท่าน บ่ายๆแบบนี้ Mr.เสาเข็ม ก็ได้นำความรู้เกี่ยวกับกานก่อสร้าง มาแชร์กันอีกเช่นเคยนะครับ

spun micro pile micro spun
วันนี้ผมอยากจะขออนุญาตมาพูดถึงเกี่ยวกับประเด็นสำคัญๆ ที่เราควรที่จะทำการพิจารณาเวลาที่ทำการออกแบบและการทำงานก่อสร้างงานวิศวกรรมโครงสร้างเหล็กแก่เพื่อนๆ นะครับ

ประเด็นในวันนี้ คือ การที่เราควรที่จะระมัดระวังมิให้ชิ้นส่วนโครงสร้างเหล็กที่เป็นโครงถักนั้นเกิดการเยื้องศูนย์ออกไปผิดไปจากสมมติฐานที่เราได้ทำการออกแบบไว้ตั้งแต่ในตอนแรกนะครับ

ที่มาของปัญหานี้ คือ เวลาที่ผู้ออกแบบทำการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (MATHEMATICAL STRUCTURAL MODEL) ขึ้นมาเพื่อทำการวิเคราะห์และออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างโครงถักเหล็ก เรามักที่จะทำการจำลองให้ตำแหน่งของศูนย์กลางถึงศูนย์กลางของชิ้นส่วนโครงสร้างนั้นตรงกัน (เหมือนในรูปด้านบนนะครับ) แต่ ในสภาพความเป็นจริงเวลาที่ช่างทำการก่อสร้างโครงสร้างเหล็กมักที่จะทำงานโดยอาศัยความง่ายในการทำงานเอาไว้ก่อน ทำให้แนวศูนย์กลางของชิ้นส่วนนั้นไม่ตรงตามสมมติฐานข้อนี้ อันจะทำให้เกิดระยะเยื้องศูนย์ (ECCENTRICITY หรือ e) ขึ้นซึ่งระยะเยื้องศูนย์นี้จะทำให้เกิดแรงดัดที่ไม่ได้ตั้งใจ (UNINTENTIONAL MOMENT) ขึ้นในชิ้นส่วนโครงสร้างนะครับ (เหมือนในรูปด้านล่างนะครับ) เพราะ การก่อสร้างตามแบบในลักษณะที่ให้ตำแหน่งของศูนย์กลางถึงศูนย์กลางของชิ้นส่วนนั้นตรงกันจะทำงานได้ยากกว่านั่นเองนะครับ หรือ บางครั้งในแบบอาจจะไม่ได้ทำการระบุเอาไว้ให้ชัดเจน ว่าการก่อสร้างจุดต่อในโครงสร้างเหล็กนั้นควรที่จะทำการก่อสร้างในแบบใดกันแน่ ช่างจึงทำตามความถนัดหรือความง่ายไว้ก่อนนั่นเองนะครับ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงๆ ก็ต้องทำใจยอมรับว่าเป็นความบกพร่องของการให้รายละเอียดในการออกแบบของทางผู้ออกแบบเองนะครับ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาๆ นี้เราก็ควรที่จะเตรียมการทุกอย่างเอาไว้ก่อนก็จะเกิดปัญหาขึ้นจะเป็นการดีกว่านะครับ

ดังนั้นเพื่อให้แรงที่จะเกิดขึ้นในองค์อาคารโครงสร้างเหล็กนั้นมีเฉพาะแรงที่เกิดขึ้นเป็นแรงตามแนวแกน (AXIAL LOAD) เพียงอย่างเดียวโดยที่ไม่ทำให้เกิดแรงดัดขึ้นในชิ้นส่วนโครงสร้างเลย เราจึงจะต้องทำการจัดวางให้แนวเส้นศูนย์กลางขององค์อาคารนั้นมาบรรจบที่จุดเดียวกัน ซึ่งโดยทั่วไปเราจะทำการตั้งสมมุติฐานว่าจุดต่อเหล่านี้เป็นจุดต่อแบบที่สามารถจะหมุนได้ (PINNED) ทั้งนี้ก็เพื่อให้เป็นไปตามสมมุติฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์และออกแบบโครงถักเหล็กของเรานั่นเองนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1509245032454950

BSP-Bhumisiam
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
2) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand
รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
6) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449