โครงสร้างคอนกรีตล้วน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

เนื่องจากที่ผ่านมาหลายๆ ครั้งแอดมินมักจะได้ยินเพื่อนๆ หลายท่านนั้นยังคงสับสนถึงคำว่า “โครงสร้างคอนกรีต” กันอยู่เนืองๆ

วันนี้ผมจึงอยากจะขอมาเรียบเรียงและทำความเข้าใจกับเพื่อนๆ เสียใหม่ถึงประเภทหลักๆ ของโครงสร้างคอนกรีตที่มีการใช้งานกันในวงการวิศวกรรมโยธาของบ้านเรา ทั้งนี้เมื่อต่อไปหากเราพูดถึง โครงสร้างคอนกรีต จะได้เข้าใจถูกต้อง และ ตรงกันนั่นเอง

เราสามารถแบ่งประเภทของโครงสร้างคอนกรีตออกได้เป็นทั้งหมด 4 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
(1) โครงสร้างคอนกรีตล้วน
(2) โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก
(3) โครงสร้างคอนกรีตอัดแรง
(4) โครงสร้างคอนกรีตหน้าตัดผสม

โดยในวันนี้ผมอยากที่จะเริ่มต้นอธิบายกันในหัวข้อที่ (1) ก่อนนะครับ

(1) โครงสร้างคอนกรีตล้วน
แน่นนอนว่าชื่อก็บอกชัดเจอยู่แล้วนะครับว่าหน้าตัดประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องมีการเสริมเหล็กใดๆ เลยในชิ้นส่วนโครงสร้าง คำถามที่น่าสนใจก็ คือ จะมีการสร้างหน้าตัดคอนกรีตที่ไม่ต้องมีการเสริมเหล็กเลยได้จริงๆ หรือไม่ ?

คำตอบก็คือ “ใช่” ครับ เพราะหลายๆ ครั้ง โครงสร้างบางโครงสร้างที่ออกแบบให้รับแค่กำลังอัดตลอดอายุการใช้งานของมัน และ บางครั้งที่ตัวโครงสร้างเองต้องการ นน ของมันเอง และ/หรือ มวล ของมันเองเพื่อที่จะสร้างเสถียรภาพให้กับตัวโครงสร้างเอง เช่น พื้นสนามบิน (ดูรูปประกอบ) เขื่อนคอนกรีต เป็นต้น นั่นหมายความว่าเมื่อใดก็ตามที่เราต้องการมวลของคอนกรีตขนาดใหญ่ขนาดดังกล่าวนั้น แสดงว่าเราสามารถที่จะทำการออกแบบให้หน้าตัดมีขนาดที่เหมาะสมที่จะต้านทานรอยร้าวที่อาจเกิดจากแรงดึงที่เกิดจากการหดตัวของหน้าตัดได้ หรือ อาจเกิดจากพฤติกรรมการรับ นน ทั่วๆ ไปของหน้าตัดได้อีกด้วย ดังนั้นอย่าได้มองข้ามโครงสร้างคอนกรีตประเภทนี้ไปโดยเด็ดขาดนะครับ

ไว้วันพรุ่งนี้เราจะมาต่อกันในหัวข้อถัดไป โปรดติดตามกันได้นะครับ

ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากเพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชนต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JD @ ภูมิสยามไมโครไพล์