พื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก พื้นคอนกรีตอัดแรง แบบท้องเรียบ

พื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก พื้นคอนกรีตอัดแรง แบบท้องเรียบmicro-pile-micropile-spunmicropile-case1-column-case-all

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างอาคารสูง (TALL BUILDING DESIGN หรือ TBD) นะครับ

ในการออกแบบโครงสร้างอาคารสูงใดๆ ระบบๆ หนึ่งที่เรามักที่จะพบเจออยู่บ่อยครั้งมากๆ เลยก็คือ ระบบพื้น คสล หรือ คอร แบบท้องเรียบ (RC OR POST-TENSIONED FLAT PLATE) ซึ่งผมเชื่อเหลือเกินว่าเพื่อนๆ ส่วนใหญ่นั้นทราบกันดีอยู่แล้วว่า ระบบโครงสร้างแผ่นพื้นแบบนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องทำการ ออกแบบ และ ตรวจสอบ หาว่า ค่ากำลังความสามารรถในการรับ แรงเฉือนทะลุ (PUNCHING SHEAR CAPACITY) ของพื้นนั้นจะมีค่ามากกว่า นน บรรทุกที่กระทำหรือไม่ แต่ หลายๆ ครั้งเราจะพบว่ามีข้อผิดพลาดประการหนึ่งที่ผู้ออกแบบมักที่จะหลงลืมไปเกี่ยวกับการออกแบบให้พื้นนั้นสามารถที่จะ รับแรงเฉือนทะลุได้ ซึ่งนั่นก็จะเป็นหัวข้อในวันนี้ นั่นก็คือ เมื่อเสานั้นมีการตัววางอยู่ในตำแหน่งที่ต่างกันก็จะทำให้มีขนาดของหน้าตัดวิกฤติของแผ่นพื้นที่ใช้ในการ รับแรงเฉือนทะลุ ที่มีค่าไม่เท่ากัน ซึ่งต่อให้เราใช้ขนาดของความหนาของแผ่นพื้น คสล หรือ คอร ที่เท่าๆ กัน หรือ ใช้ขนาดของเสา คสล ที่มีขนาดที่เท่าๆ กัน แต่ ก็ไม่ทำให้กรณีนี้เปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด

นั่นเป็นเพราะว่า หน้าตัดวิกฤติที่เราใช้ทำการคำนวณค่าในการ รับแรงเฉือนทะลุ จะมีค่าเท่ากับระยะ d/2 จากขอบของเสา ดังนั้นสำหรับกรณีที่เสานั้นมีการตัววางอยู่ในตำแหน่งที่ต่างกันออกไปก็จะทำให้ขนาดของหน้าตัดวิกฤติของแผ่นพื้นที่ใช้ในการ รับแรงเฉือนทะลุ นั้นมีค่าที่แตกต่างกันตามไปด้วย

หากเราให้เสาของเรานั้นมีรูปทรงเป็น สี่เหลี่ยมจัตุรัส และ ให้ระยะ B นั้นเป็นขนาดความกว้างของเสา และ เราจะให้ค่า d นั้นเป็นค่าความลึกประสิทธิผล (EFFECTIVE DEPTH) ของโครงสร้างแผ่นพื้น เราจะสามารถจำแนกประเภทของตำแหน่งข้างต้นออกได้เป็น 3 กรณีหลักๆ นั่นก็คือ

CASE 1: เสาต้นใน (INTERIOR COLUMN)
สำหรับตำแหน่งของเสาแบบนี้จะมีค่าขนาดความยาวของระยะวิกฤติ bo เท่ากับ 4(B+d) หรือเขียนใหม่ในรูปแบบของสมการได้ว่าเท่ากับ

bo = 4(B+d)

CASE 2: เสาต้นริม (EDGE COLUMN)
สำหรับตำแหน่งของเสาแบบนี้จะมีค่าขนาดความยาวของระยะวิกฤติ bo เท่ากับ 3B+2d หรือเขียนใหม่ในรูปแบบของสมการได้ว่าเท่ากับ

bo = 3B+2d

CASE 3: เสาต้นมุม (CORNER COLUMN)
สำหรับตำแหน่งของเสาแบบนี้จะมีค่าขนาดความยาวของระยะวิกฤติ bo เท่ากับ 2B+d หรือเขียนใหม่ในรูปแบบของสมการได้ว่าเท่ากับ

bo = 2B+d

โดยเราจะเห็นได้ว่าค่า bo สำหรับเสาในแต่ละกรณีนั้นจะมีค่าไม่เท่ากัน ดังนั้นเพื่อทำการเปรียบเทียบให้เห็นค่าเราจะมาทำการยก ตย ในการคำนวณให้ดูกันสักเล็กน้อยก็แล้วกันนะครับ

ผมมีเสาสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 50×50 CM แผ่นพื้นมีความหนาเท่ากับ 23 CM จงคำนวณหาค่า bo สำหรับเสาแต่ละกรณีที่มีความแตกต่างกัน

สำหรับปัญหาข้อนี้ค่า B นั้นจะมีค่าเท่ากับ 50 CM และ ระยะ d ของแผ่นพื้นนั้นจะมีค่าเท่ากับ 23 ลบด้วยระยะหุ้มคอนกรีตประมาณ 3 CM จะมีค่าเท่ากับ 20 CM ดังนั้น

CASE 1: เสาต้นใน
สำหรับตำแหน่งของเสาแบบนี้จะมีค่าขนาดความยาวของระยะวิกฤติ bo เท่ากับ

bo = 4(B+d)
bo = 4(50+20)
bo = 280 CM

CASE 2: เสาต้นริม
สำหรับตำแหน่งของเสาแบบนี้จะมีค่าขนาดความยาวของระยะวิกฤติ bo เท่ากับ

bo = 3B+2d
bo = 3×50+2×20
bo = 190 CM

CASE 3: เสาต้นมุม
สำหรับตำแหน่งของเสาแบบนี้จะมีค่าขนาดความยาวของระยะวิกฤติ bo เท่ากับ

bo = 2B+d
bo = 2×50+20
bo = 120 CM

เราจะเห็นได้ว่าค่า bo สำหรับกรณีที่ 1 นั้นจะมีค่าสูงสุดซึ่งเท่ากับ 280 CM และ สำหรับกรณีที่ 2 นั้นจะมีค่ารองลงมาซึ่งเท่ากับ 190 CM และ กรณีที่ 3 นั้นมีค่าน้อยที่สุดซึ่งเท่ากับ 120 CM และ หากเราทำการเปรียบเทียบทุกๆ กรณีกับกรณีที่ 1 จะพบว่า ค่า bo สำหรับกรณีที่ 2 นั้นจะมีค่าน้อยกว่าค่า bo ในกรณีที่ 1 ประมาณ 190/280 = 0.68 เท่า และ ค่า bo สำหรับกรณีที่ 3 นั้นจะมีค่าน้อยกว่าค่า bo ในกรณีที่ 1 ประมาณ 120/280 = 0.43 เท่า

จาก ตย ข้างต้นเราจะเห็นได้ว่า หากเราทำการคำนวณและตรวจสอบแผ่นพื้นเฉพาะกรณีของ เสาต้นใน เพียงกรณีเดียวโดยที่เราไม่ทำการตรวจสอบกรณีของ เสาต้นริม หรือ เสาต้นมุม ด้วย นั่นก็หมายความว่า แผ่นพื้นของเรานั้นก็จะมีความเป็นไปได้สูงมากที่จะไม่ปลอดภัยจาก แรงเฉือนทะลุ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในแผ่นพื้นนั่นเองนะครับ

ดังนั้นผมจึงอยากที่จะขออนุญาตย้ำเตือนกับเพื่อนๆ อีกสักครั้งหนึ่งนะครับว่า เมื่อทำการออกแบบและตรวจสอบ ค่าแรงเฉือนทะลุ ในแผ่นพื้นเมื่อใด ก็อย่าได้ประมาท หรือ หลงลืมที่จะตรวจสอบที่ตำแหน่งเสาอย่างน้อย 3 บริเวณด้วยกัน นั่นก็คือ เสาต้นกลาง เสาต้นริม และ เสาต้นมุม เสมอนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

 

micro-pile-micropile-spunmicropile-case1-column-case1 micro-pile-micropile-spunmicropile-case1-column-case2 micro-pile-micropile-spunmicropile-case1-column-case3

ADMIN JAMES DEAN
Bhumisiam ภูมิสยาม

ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สมอ.
4) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
5) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
9) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449