ประเภทของจุดต่อภายในโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันอังคารแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” นะครับ
เนื่องจากเมื่อวันเสาร์และอาทิตย์ที่ผ่านมาผมได้ทำการตั้งคำถามประจำสัปดาห์เกี่ยวกับเรื่อง จุดต่อที่จะถ่ายแรงดัดและจุดต่อแบบกึ่งถ่ายแรงดัด ซึ่งก็มีแฟนเพจหลายๆ ท่านได้ให้ความสนใจไปมากพอสมควร ซึ่งในโพสต์ของวันอาทิตย์ที่ผมได้ทำการเฉลยคำถามก็มีแฟนเพจซึ่งเป็นคุณผู้หญิงท่านหนึ่งได้มาคอมเม้นต์ใต้โพสต์โดยที่มีใจความว่า “จากที่ผมได้ทำการอธิบายไปแสดงว่าเจ้า CONTINUITY PLATE นั้นถือได้ว่ามีความสำคัญอย่างมากกับโครงสร้างแบบนี้ใช่หรือไม่คะอาจารย์ (คือจำเป็นต้องมี) ?”

ซึ่งผมก็ได้ตอบไปว่า คำถามข้อนี้เป็นคำถามที่ดี ผมจึงจะขอคั่นการโพสค์เกี่ยวกับหัวข้อๆ นี้ในวันนี้เพื่อเป็นความรู้แก่คุณผู้หญิงท่านนี้และแฟนเพจทุกๆ ท่านด้วยนะครับ
ก่อนอื่นๆ เลยผมต้องขออนุญาตอธิบายก่อนว่า หากเราจะทำการจำแนกประเภทของการออกแบบ เราอาจจะสามารถทำการจำแนกประเภทออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ นั่นก็คือ การออกแบบให้โครงสร้างรับแรงแบบสถิตศาสตร์เป็นหลัก หรือ DESIGN FOR STATIC FORCE ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะได้แก่กลุ่มของน้ำหนักบรรทุกที่จะกระทำในแนวดิ่งโดยทั่วๆ ไปที่กระทำกับอาคาร เช่น น้ำหนักบรรทุกคงที่ หรือ DEAD LOAD น้ำหนักบรรทุกจร หรือ LIVE LOAD เป็นต้น กับการออกแบบให้โครงสร้างรับแรงแบบพลศาสตร์เป็นหลัก หรือ DESIGN FOR DYNAMIC FORCE ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะได้แก่กลุ่มของน้ำหนักบรรทุกในแนวราบที่กระทำกับอาคาร เช่น แรงลม หรือ WIND LOAD แรงแผ่นดินไหว หรือ SEISMIC LOAD เป็นต้นนะครับ
สำหรับกลุ่มแรกซึ่งก็คือ การออกแบบให้โครงสร้างรับแรงแบบสถิตศาสตร์เป็นหลัก ในการออกแบบจุดต่อที่จะถ่ายแรงดัดและจุดต่อแบบกึ่งถ่ายแรงดัดนั้น เราอาจจะสามารถทำการพิจารณาและคำนวณออกแบบได้ว่าโครงสร้างของเรานั้นมีความจำเป็นที่จะต้อง มี หรือ ไม่มี เจ้า CONTINUITY PLATE ก็ได้ ขอเพียงแค่เรามีความมั่นใจว่าพฤติกรรมของชิ้นส่วนเหล็กแผ่นในแนวนอนของชิ้นส่วนโครงสร้างหลักหรือเสานั้นจะมีความแข็งแรงมากเพียงพอที่จะไม่เกิดการยู่เมื่อจะต้องทำหน้าที่ในการถ่ายแรงดัดมาจากชิ้นส่วนโครงสร้างรองหรือคาน เหมือนกันกับในรูปที่ 1 ที่ผมได้นำมาแสดงในโพสต์ๆ นี้นะครับ

สำหรับกลุ่มที่สองนั่นก็คือ การออกแบบให้โครงสร้างรับแรงแบบพลศาสตร์เป็นหลัก ในการออกแบบจุดต่อที่จะถ่ายแรงดัดและจุดต่อแบบกึ่งถ่ายแรงดัดนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีเจ้า CONTINUITY PLATE เพราะเมื่อโครงสร้างของเรานั้นอยู่ภายใต้ลักษณะของน้ำหนักบรรทุกดังกล่าวแล้ว โครงสร้างจะมีพฤติกรรมการเสียรูปเป็นแบบวัฏจักรหรือ CYCLIC DISPLACEMENT ซึ่งเจ้า CONTINUITY PLATE นี้เองจะมีส่วนอย่างมากในการที่จะช่วยทำให้พฤติกรรมของโครงสร้างภายใต้สภาวะๆ นี้เป็นไปได้ด้วยดี เช่น จะลดการเกิดการรวมตัวของแรงเค้น หรือ STRESS CONCENTRATION ใน PANEL ZONE ได้เป็นอย่างมาก จะเป็นชิ้นส่วนที่จะช่วยเป็นตัวถ่ายให้แรงต่างๆ นั้นเกิดการผ่านและไหลเวียนไปมาระหว่างชิ้นส่วนโครงสร้างรองและโครงสร้างหลักได้ดียิ่งขึ้น ที่สำคัญคือจะช่วยทำให้พฤติกรรมของโครงสร้างของเรานั้นมีความเหนียวหรือ DUCTILITY ที่ดีนั่นเอง เป็นต้น เหมือนกันกับในรูปที่ 2 3 4 และ 5 ที่ผมได้นำมาแสดงในโพสต์ๆ นี้นะครับ
ดังนั้นหากเพื่อนๆ มีโอกาสได้เดินทางไปในต่างประเทศหรือในประเทศไทยก็แล้วแต่และมีโอกาสได้ไปเยี่ยมชมอาคารโครงสร้างเหล็กรูปพรรณที่ได้มีการออกแบบให้รับแรงกระทำจากแผ่นดินไหว เพื่อนๆ จะเห็นได้ว่าในจุดต่อที่จะถ่ายแรงดัดและจุดต่อแบบกึ่งถ่ายแรงดัดนั้นจะมีการใส่เจ้า CONTINUITY PLATE ในทุกๆ จุดต่อเลยเนื่องด้วยเหตุผลที่ผมได้อธิบายไปนะครับ

ยังไงในสัปดาห์หน้าผมจะขออนุญาตนำเอาเรื่องของวิธีในการที่เราจะใช้ในการคำนวณว่า หากเรามีความต้องการที่จะทำการจำแนกว่า จุดต่อของเรานั้นเป็นแบบใดระหว่าง จุดต่อที่จะถ่ายแค่แรงเฉือนเพียงเท่านั้น หรือ จุดต่อที่จะถ่ายแรงดัด หรือ จุดต่อแบบกึ่งถ่ายแรงดัด เราจะมีวิธีในการคำนวณอย่างไรได้บ้างเอามามาพูดถึงและอธิบายให้แก่เพื่อนๆ ให้มีความรู้และความเข้าใจที่มากยิ่งขึ้น หากเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจเนื้อเรื่องเกี่ยวกับหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษ ก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความเกี่ยวกับเรื่องๆ นี้ของผมได้ในการพบกันในครั้งต่อไปของเราได้นะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันอังคาร
#ความรู้ที่มีประโยชน์เพื่อคุณผู้หญิง
#ความรู้ประเภทของจุดต่อภายในโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ
#ครั้งที่3
ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com