กรณีที่อาคารส่วนต่อเชื่อมกันเหิดการทรุดตัวที่ไม่เท่ากัน

สวัสดีครับแฟนเพจทุกๆ ท่าน

หลังจากเมื่อ 2 วันที่ผ่านมาเราพูดคุยกันถึงเนื้อหาหนักๆ เกี่ยวกับเรื่องทฤษฎีการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้าง คสล กันมาหลายวันแล้ว วันนี้แอดมินจะมาขอพูดคุยถึงเนื้อหาที่เบาๆ ลงมาบ้างครับ

เนื่องจากเมื่อหลายวันก่อนแอดมินมีโอกาสได้แวะไปละหมาดที่มัสยิดและไปเจอเคสกรณีที่อาคารส่วนต่อเชื่อมกันเหิดการทรุดตัวที่ไม่เท่ากันมาฝากเพื่อนๆ นะครับ
จะเห็นว่าอาคารมัสยิด คือ ส่วนที่มีการก่อสร้างก่อน ส่วนอาคารเรียน คือ ส่วนที่ก่อสร้างทีหลัง และทั้งสองอาคารนี้เชื่อมต่อกันด้วยบันไดที่ทำยื่นมาจากอาคารเรียน (CANTILEVER STAIRCASE)

 

 เพื่อนๆ จะเห็นว่าการทรุดตัวของทั้ง 2 อาคารนี้มีค่าการทรุดตัวที่ไม่เท่ากัน จากเคสๆ นี้ เราจะสรุปว่าอาคารเรียนมีโครงสร้างฐานรากที่อ่อนแอมากกว่าอาคารมัสยิดก็เกรงว่าจะไม่ได้

สาเหตุก็เพราะว่า การทรุดตัวของอาคารนั้นขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น ลักษณะของดินใต้ฐานราก ชนิดและลักษณะของฐานรากที่ใช้ เป็นต้น ดังนั้นหากจะสรุป ก็คงสรุปในเบื้องต้นได้เพียงว่าทั้ง 2 อาคารมีอัตราการทรุดตัวที่ไม่เท่ากันได้เท่านั้นครับ

 

ซึ่งจากกรณีนี้จะเห็นว่าวิศวกรผู้ออกแบบอาคารหลังนี้ได้ทำการแยกโครงสร้างของทั้ง 2 อาคารเอาไว้แล้ว จะเชื่อมกันก็แค่ราวกันตกเท่านั้น สำหรับส่วนงานนี้แก้ไขและซ่อมแซมไม่ยากครับ

โดยปกติวิศวกรผู้ออกแบบจะต้องประเมินและพิจารณาข้อมูลดินจาก SOIL LABORATORY TEST เสียก่อนจะทำการก่อสร้างอาคารที่มีลักษณะการเชื่อมต่อกันแบบนี้ เพื่อที่จะ ESTIMATE ค่า SETTLEMENT ที่อาจเกิดขึ้นและเผื่อเอาไว้ เพื่อในสภาวะ FINAL STAGE ระดับของทั้ง 2 อาคารจะได้ใกล้เคียงกัน ไม่แตกต่างกันมากจนเกินไป
โดยหากไม่ได้พิจารณาจากข้อมูลข้างต้น ก็อาจต้องใช้ประสบการณ์ของผู้ก่อสร้างในการเผื่อระยะตรงนี้เอาไว้ ซึ่งโดยปกติก็ใช้ไม่น้อยกว่า 15-20 ซม ครับ

 

อย่างไรจากกรณีที่ผมนำมาฝากเพื่อนๆ ก็เพื่อเป็นข้อมูลในการประเมินจะทำการก่อสร้างทางเชื่อมระหว่าง 2 อาคารที่อาจก่อสร้างในช่วงระยะเวลาที่แตกต่างกันน่ะครับ ดังนั้นผมจึงอยากขอให้เพื่อนๆ วิศวกรและสถาปนิกรวมไปถึงเพื่อนๆ ทุกๆ ท่านโชคดีในการก่อสร้างและออกแบบอาคารกันนะครับ

ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าความรู้ที่ผมนำมาฝากเพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชนต่อตัวท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JD @ ภูมิสยามไมโครไพล์