การคำนวณทางด้านกลศาสตร์โครงสร้าง (STRUCTURAL MECHANICS COMPUTATION หรือ SMC)

การคำนวณทางด้านกลศาสตร์โครงสร้าง (STRUCTURAL MECHANICS COMPUTATION หรือ SMC)
คำถาม : https://bit.ly/2IGZRfe   เฉลย : https://bit.ly/2lL9mRu

การคำนวณทางด้านกลศาสตร์โครงสร้าง (STRUCTURAL MECHANICS COMPUTATION)

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การคำนวณทางด้านกลศาสตร์โครงสร้าง (STRUCTURAL MECHANICS COMPUTATION หรือ SMC) นะครับ

เป็นยังไงกันบ้างครับเพื่อนๆ ผมหวังว่าปัญหาที่ผมได้ให้ไว้นั้นคงไม่ได้ยากจนเกินไปนักนะครับ เพราะ หากดูใต้โพสต์แล้วจะพบว่าเพื่อนๆ ของเราหลายๆ คนตอบได้ถูกต้องเลยนะครับ

เอาละ วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการเฉลยปัญหาข้อนี้ให้แก่เพื่อนๆ ทุกคนก็แล้วกัน แต่ ก่อนอื่นมาเรามาทวนปัญหาข้อนี้กันก่อนสักเล็กน้อย

จากรูปจะเห็นได้ว่า เพื่อนๆ มีโอกาสได้ไปเที่ยวสวนสาธารณะที่มีสระว่ายน้ำกว้างๆ เรามักจะพบว่าที่บริเวณขอบของสระว่ายน้ำ จะมีกำแพงกันดินที่กั้นระหว่างดินและน้ำอยู่เสมอ โดยหากเพื่อนๆ สังเกตดูดีๆ ก็มักจะพบว่ากำแพงกันดินดังกล่าวนี้จะมีโครงสร้างที่ซ่อนอยู่ดังรูป

คำถามก็คือ ชิ้นส่วนโครงสร้างนี้คืออะไร และ มีหน้าที่อะไร ?

คำตอบ หรือ ชื่อเรียก ของโครงสร้างๆ นี้อาจจะมีหลายชื่อเรียกนะครับ ขึ้นอยู่กับบริบทของการออกแบบ แต่ ทั้งนี้ผมจะขออนุญาตเรียกมันว่า ระบบโครงสร้างที่ทำหน้าที่ยึดรั้ง หรือว่า STAYED STRUCTURAL SYSTEM ก็แล้วกันนะครับ

โดยสาเหตุที่เรามักพบเห็นว่าจะมีการใส่ ระบบโครงสร้างที่ทำหน้าที่ยึดรั้ง นั้นเป็นเพราะว่า ดินบริเวณรอบๆ กำแพงกันดินนั้นมักที่จะเป็นดินอ่อน ทำให้มีกำลังในการรับแรงที่ไม่ดีเท่าที่ควร ประกอบกับการที่โครงสร้างเสาเข็มที่ใช้ในการก่อสร้างกำแพงกันดินนั้นจะค่อนข้างมีขนาดที่เล็ก หรือ ไม่ก็มีความยาวของเสาเข็มที่ค่อนข้างจะตื้นมากๆ เมื่อเปรียบเทียบกันกับแรงทางด้านข้างที่ต้องรับ ซึ่งนั้นจะส่งผลให้โครงสร้างเสาเข็มในระบบกำแพงกันดินของเรานั้นไม่สามารถที่จะรับแรงดัดที่เกิดขึ้นจากแรงกระทำทางด้านข้างที่กระทำกับระบบกำแพงกันดินได้ ซึ่งนั่นก็จะหมายความว่า ระบบโครงสร้างกำแพงกันดินของเราจะไม่มีเสถียรภาพ (NOT STABLE) ที่ดีเพียงพอต่อการรับแรงนั่นเองนะครับ

ในทางกลับกัน พอเราทำการเพิ่ม ระบบโครงสร้างที่ทำหน้าที่ยึดรั้ง เข้าไปก็จะพบว่าเจ้าโครงสร้างชิ้นนี้จะทำให้ระบบโครงสร้างกำแพงกันดินของเรานั้นมีเสถียรภาพ (STABLE) ที่ดีขึ้นในทันที เพราะ ระบบโครงสร้างที่ทำหน้าที่ยึดรั้ง นั้นจะทำหน้าที่ในการยึดรั้งตัวฐานรากและเสาเข็มที่อยู่ด้านหน้าและด้านหลังกำแพงกันดินนี้ให้มีความมั่นคงอยู่ได้ และ นี่คือเหตุผลพอสังเขปว่าเหตุใดเราจึงมักที่จะพบ ระบบโครงสร้างที่ทำหน้าที่ยึดรั้ง แบบนี้ในระบบโครงสร้างกำแพงกันดินอยู่บ่อยๆ นะครับ

เป็นยังไงบ้างครับ ตอบถูกกันหลายคนเลย ยังไงก็อย่าลืมทิ้งอีเมลแอดเดรสเอาไว้ด้วย เพราะ ผมมีของรางวัลเล็กๆ น้อยๆ ที่ตั้งใจที่จะมอบให้แก่ผู้ร่วมตอบคำถามทุกๆ คนด้วยนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN
Bhumisiam ภูมิสยาม

ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สมอ.
4) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
5) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
9) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
การคำนวณทางด้านกลศาสตร์โครงสร้าง (STRUCTURAL MECHANICS COMPUTATION)

การคำนวณทางด้านกลศาสตร์โครงสร้าง (STRUCTURAL MECHANICS COMPUTATION)