วิธีในการวิเคราะห์แรงแผ่นดินไหว หรือ SEISMIC ANALYSIS

วิธีในการวิเคราะห์แรงแผ่นดินไหว หรือ SEISMIC ANALYSIS

SEISMIC ANALYSIS education micropile

หากจะให้อธิบายให้เข้าใจให้ง่ายๆ ในขันตอนนี้เราทำขึ้นเพื่อวิเคราะห์เพื่อหาระดับของผลตอบสนองต่างๆ ที่โครงสร้างของเรานั้นจะมีต่อแรงแผ่นดินไหวที่เข้ามากระทำต่ออาคารของเรานั่นเองนะครับ

หากทำการตั้งคำถามว่าเพราะเหตุใดเราถึงต้องสนใจค่าผลตอบสนองของโครงสร้าง ?

หากจะอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายๆ อีกเช่นเคย ก็คงจะตอบได้ว่า เพื่อให้เราสามารถที่จะทราบได้ว่าในสภาวะที่โครงสร้างของเรานั้นถูกกระทำด้วยแรงแผ่นดินไหว จะมีค่าแรงภายในโครงสร้างเป็นเท่าใด เราจะได้นำค่าแรงนั้นๆ มาใช้ทำการออกแบบให้โครงสร้างสามารถที่จะต้านทานต่อแรงกระทำดังกล่าวได้และในบางครั้ง เราก็อาจจะไม่ได้สนใจค่าแรงภายในโครงสร้างเท่าใด แต่เรากลับสนใจค่าการเสียรูปสูงสุดทางด้านข้างของโครงสร้างว่ามีค่าเป็นเท่าใด ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ตามข้อกำหนดในการออกแบบหรือไม่ เป็นต้นครับ

หากเราทำการตั้งคำถามต่อไปอีกว่าการวิเคราะห์แรงแผ่นดินไหวนั้นมีความเหมือนหรือแตกต่างออกไปจากแรงกระทำประเภทอื่นๆหรือไม่ ?

ผมต้องขออนุญาตอธิบายแบบนี้นะครับว่า เนื่องจากแรงแผ่นดินไหวจัดอยู่ในประเภทแรง DISPLACEMENT-TYPELOADING ซึ่งลักษณะของแรงกระทำชนิดนีจะมีความพิเศษแตกต่างออกไปจากแรงกระทำประเภทอื่นๆ ตรงที่วิธีในการคำนวณหาขนาดของแรงแผ่นดินไหวนั้นไม่สามารถที่จะทำการคำนวณได้แบบตรงไปตรงมาเหมือนกันกับแรงกระทำประเภทอื่นๆ จึงทำให้ในขั้นตอนๆ นี้จะมีความสลับซับซ้อนมากกว่าแรงกระทำประเภทอื่นๆ ตามไปด้วยนะครับ

โดยการวิเคราะห์แรงกระทำจากแผ่นดินไหวนั้นจะสามารถทำได้โดยอาศัย 2 วิธีการหลักๆ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับลักษณะของแรงกระทำที่เราสนใจ นั่นก็คือ

1. แรงสถิต หรือ STATIC FORCE
2. แรงพลศาสตร์ หรือ DYNAMIC FORCE

อีกประการหนึ่งที่ถือได้ว่ามีความสำคัญมากๆ เช่นกันนั่นก็คือ สมมติฐานในเรื่องพฤติกรรมของโครงสร้างของเราว่าเราจะทำการกำหนดให้ขอบเขตของการวิเคราะห์โครงสร้างของเรานั้นอยู่ในสภาวะเช่นได เช่น โครงสร้างของเรานั้นอยู่ในสภาวะเชิงเส้น หรือ ไม่เชิงเส้น เป็นต้นนะครับ

ดังนั้นหากจะให้นิยามชื่อและวิธีในการวิเคราะห์แรงกระทำจากแผ่นดินไหว เราจะสามารถทำการแบ่งออกได้เป็น 4 วิธีการหลักๆ ด้วยกันนั่นก็คือ

1. LINEAR-STATIC ANALYSIS หรือ ชื่อที่ พวกเราคุ้นเคยกันดีนั่นก็คือ EQUIVALENT FORCE ANALYSIS นะครับ

2. LINEAR-DYNAMIC ANALYSIS หรือ ชื่อที่ พวกเราคุ้นเคยกันดีนั่นก็คือ ELASTIC RESPONSE SPECTRUM ANALYSIS นะครับ

3. NONLINEAR-STATIC ANALYSIS หรือ ชื่อที่ พวกเราคุ้นเคยกันดีนั่นก็คือ PUSHOVER ANALYSIS นะครับ

4. NONLINEAR-DYNAMIC ANALYSIS หรือ ชื่อที่ พวกเราคุ้นเคยกันดีนั่นก็คือ NONLINEAR TIME HISTORY ANALYSIS นะครับ

ในสัปดาห์หน้าผมจะขออนุญาตมาพูดถึงเรื่อง วิธีการวิเคราะห์แรงแผ่นดินไหวแบบใดที่จะมีความเหมาะสมต่อการนำไปใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างของเราเพื่อที่จะให้สามารถต้านทานต่อแรงกระทำจากแผ่นดินไหวได้ หากเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจในหัวข้อนี้เป็นพิเศษ ก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความของผมในเรื่องๆ นี้ได้ต่อไปครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์ของวันศุกร์
#การออกแบบวิศวกรรมโครงสร้างต้านทานแรงกระทำจากแผ่นดินไหว
#วิธีในการวิเคราะห์แรงแผ่นดินไหวตอนที่หนึ่ง 
ADMIN JAMES DEAN

 

Bhumisiam ภูมิสยาม
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
4) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
5) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
9) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
Mr.Micropile

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449

#ไมโครไพล์ #สปันไมโครไพล์ #เสาเข็มไมโครไพล์ #เสาเข็มสปันไมโครไพล์ #เสาเข็ม #ตอกเสาเข็ม #micropile #spunmicropile #microspunpile #spunpile #microspun