การคำนวณหารุ่นและขนาดความหนาของแผ่นพื้น

การคำนวณหารุ่นและขนาดความหนาของแผ่นพื้น รวมไปถึงการคำนวณน้ำหนัก บรรทุกของแผ่นพื้นที่จะถูกถ่ายมาลงยังบนหลังคานที่ทำหน้าที่รองรับแผ่นพื้นสำเร็จรูป

micropile spun micropile ไมโครไพล์ สปันไมโครไพล์micropile spun micropile ไมโครไพล์ สปันไมโครไพล์

จากรูปที่ 1 เรามี แผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบ คอร ท้องเรียบตัน (PC PLANK SLAB) ที่ได้รับการออกแบบให้ทำการวางพาดไปบนช่วงพาดซึ่งมีขนาดความยาวเท่ากับ 4 m บนแผ่นพื้นๆ นี้จะต้องรับน้ำหนัก SDL ที่เป็น FINISHING ซึ่งมีน้ำหนัก เท่ากับ 50 KSM และ SCREEDING ความหนาเท่ากับ 50 mm ซึ่งจะมีน้ำหนัก เท่ากับ

SDL(1) = 50/1000×2400 = 120 KSM

ดังนั้นรวมน้ำหนัก SDL ทั้งหมดจะมีค่าเท่ากับ

∑SDL = 50+120 = 170 KSM

ส่วนน้ำหนัก SLL ที่พื้นนี้จะต้องรับจะมีค่าเท่ากับ 200 KSM นะครับ ดังนั้นน้ำหนัก ปลอดภัยที่แผ่นพื้นนี้จะต้องรับน้ำหนัก นั้นจะมีค่าเท่ากับ

∑PS1 (SERVICE) = 170+200 = 370 KSM

ส่วนข้อมูลสุดท้ายที่เราจำเป็นที่จะต้องทำการกำหนดและออกแบบ คือ เราจะทำการกำหนดให้มีการทำการค้ำยันท้องพื้นสำเร็จรูปนี้ด้วยนะครับ

สำหรับค่าความสามารถในการรับน้ำหนัก ของแผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบ คอร ท้องเรียบตัน ผมต้องขออนุญาตให้เพื่อนๆ ดูรูปที่ 2 ซึ่งจะเป็นตารางการรับน้ำหนัก ของแผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบ คอร ท้องเรียบตัน ที่ผมได้โพสต์ไปเมื่อวานดูนะครับ ซึ่งข้อมูลที่สำคัญที่เราจะต้องสนใจในการคำนวณรุ่นของแผ่นพื้นสำเร็จรูปก็คือ ขนาดของน้ำหนัก บรรทุกปลอดภัย และ ระยะความยาวของช่วงพาด นั่นเองนะครับ

ดังนั้นหากจะดูแผ่นพื้นสำเร็จรูปที่มีความความสามารถในการรับน้ำหนัก บรรทุกปลอดภัยที่มากกว่าหรือเท่ากับ 370 KSM และ มีช่วงพาดน้อยกว่าหรือเท่ากับ 4 m ที่จะได้รับการค้ำยันที่กึ่งกลางของท้องพื้น จากตารางๆ นี้เราควรที่จะเลือกแผ่นพื้นสำเร็จรูปรุ่นที่ใช้ขนาดลวดอัดแรงเท่ากับ 4 mm จำนวน 7 เส้น โดยที่หากจะใช้แผ่นพื้นสำเร็จรูปรุ่นนี้เราจะต้องให้มีคอนกรีต TOPPING ความหนาเท่ากับ 50 mm ด้วยนะครับ ซึ่งแผ่นพื้นสำเร็จรูปนี้จะมีความสามารถในการรับน้ำหนัก เท่ากับ 373 KSM ซึ่งจะมีค่าสูงกว่า 370 KSM อยู่เล็กน้อยนะครับ ดังนั้นเราจึงสามารถที่จะกำหนดให้ใช้แผ่นพื้นรุ่นนี้ได้นะครับ

เอาละครับเราจะมาคำนวณน้ำหนัก บรรทุกของแผ่นพื้นที่จะถูกถ่ายมาลงยังบนหลังคานที่ทำหน้าที่รองรับแผ่นพื้นสำเร็จรูปนี้กันต่อนะครับ เริ่มต้นจากการคำนวณน้ำหนัก ของตัวแผ่นพื้นนี้ก่อนนะครับ แผ่นพื้นนี้มีขนาดความหนาเท่ากับ 50 mm หากรวมคอนกรีต TOPPING อีก 50 mm จะกลายเป็นว่าความหนาของแผ่นพื้นสำเร็จรูปนี้จะมีค่าเท่ากับ 100 mm หรือ 0.10 m ดังนั้นน้ำหนัก DL ทั้งหมดจะมีค่าเท่ากับ

DL = 0.10×2400 = 240 KSM

ซึ่งหากรวมน้ำหนัก นี้กับน้ำหนัก ที่เป็น SDL และ SLL แล้วก็จะกลายเป็นน้ำหนัก บรรทุกทั้งหมด ซึ่งจะมีค่าเท่ากับ

∑ q (SERVICE) = 240 + 170 + 200 = 610 KSM

โดยน้ำหนัก ที่จะถูกถ่ายลงมาบนคานนี้จะอยู่ในรูปแบบของแรงกระจายตัวแบบสม่ำเสมอ (UNIFORMLY DISTRIBUTED LOAD) นะครับ

ดังนั้นหากจะทำการคำนวณน้ำหนัก บรรทุกของแผ่นพื้นที่จะถูกถ่ายมาลงยังบนหลังคานที่ทำหน้าที่รองรับแผ่นพื้นสำเร็จรูปนี้ จะสามารถทำการคำนวณได้โดยมีค่าเท่ากับน้ำหนัก บรรทุกทั้งหมด คูณกันกับ ระยะกึ่งหนึ่ง ของระยะช่วงพาด นั่นเองนะครับ ซึ่งจะมีค่าเท่ากับ

W (SERVICE) = 610 x (4/2) = 1,220 KSM

ซึ่งหากว่าคานรับน้ำหนัก นี้จะต้องมีการรับแผ่นพื้นในอีกด้านหนึ่งด้วย เราก็จำเป็นที่จะต้องทำการคำนวณน้ำหนัก บรรทุกคงที่ของตัวคานเอง รวมกันกับน้ำหนัก ของแผ่นพื้นอีกด้านหนึ่ง และ ต้องรวมน้ำหนัก บรรทุกอื่นๆ เข้าไปด้วย เช่น น้ำหนักบรรทุกคงที่ของผนัง เป็นต้น เข้าไปด้วยนะครับ จึงจะกลายเป็นน้ำหนัก บรรทุก ทั้งหมด ที่กระทำบนหลังคานๆ นี้นะครับ

โดยหากเราจะทำการวิเคราะห์และออกแบบคานๆ นี้ด้วยวิธีกำลังประลัย (STRENGTH DESIGN METHOD) เราจำเป็นที่จะต้องทำการคูณค่าน้ำหนัก บรรทุกแต่ละประเภทที่เกิดขึ้นนี้ทั้งน้ำหนักบรรทุกคงที่ และ น้ำหนักบรรทุกจร ด้วยตัวคูณเพิ่มค่า น้ำหนักบรรทุกด้วยนะครับ ดังนั้นเพื่อนๆ ที่จะต้องทำการคำนวณเพื่อวิเคราะห์และออกแบบคานๆ นี้ก็จำเป็นที่จะต้องเลือกวิธีในการออกแบบเสียก่อนนะครับ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะได้ทำการกำหนดวิธีในการจัด LOAD CASE นี้ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกันด้วยนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1578704535508999

BSP-Bhumisiam

ผู้ผลิตรายแรก SPUN MICRO PILE
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. มาตราฐาน397-2524 เสาเข็ม Spun Micro Pile
2) ผู้ผลิต Spun Micro Pile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตราฐาน จาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun Micro Pile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun Micro Pile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมันนี
6) ผู้ผลิต Spun Micro Pile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile)
สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449

ID LINE :
LINE ID1 = bhumisiam
LINE ID2 = 0827901447
LINE ID3 = 0827901448
LINE ID4 = bsp15

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด
http://www.ไมโครไพล์.com

#Micropile
#SpunMicropile
#ไมโครไพล์
#สปันไมโครไพล์
#เสาเข็มไมโครไพล์
#เสาเข็มสปันไมโครไพล์