การคำนวณตรวจสอบว่าแรงปฏิกิริยาของเสาเข็ม ที่เกิดการเยื้องศูนย์

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในทุกๆ วันศุกร์ (แห่งชาติ) แบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะได้มาพูดคุยและเสวนากันถึงหัวข้อ “ฝากคำถาม-เราจะมาตอบให้” นะครับ
ซึ่งวันนี้เป็นวันศุกร์วันแรกที่เราได้มาพบกันพบก็จะขอเริ่มต้นจากคำถามสดๆ ร้อนๆ ที่เพิ่งได้รับมาเมื่อวานจากน้องแฟนเพจผู้หญิงท่านหนึ่งซึ่งได้สอบถามเข้ามาโดยมีใจความของคำถามว่า


“ขออนุญาตสอบถามเกี่ยวกับโพสต์ที่ผมเคยได้ทำการอธิบายถึงเรื่องกรณีที่โครงสร้างฐานรากที่เกิดปัญหาการที่เสาเข็มนั้นเกิดการเยื้องศูนย์ออกไป (รูปที่ 1) ว่าเพราะเหตุใดเราจึงควรต้องทำการคำนวณหาว่าแรงปฏิกิริยาของเสาเข็มนั้นเป็นเท่าใดคะ ?”
ซึ่งผมก็ได้ทำการตอบไปในเบื้องต้นว่า ถ้าหากเกิดเหตุการณ์ที่เสาเข็มของเรานั้นเกิดการเยื้องศูนย์ออกไปจากที่วิศวกรผู้ออกแบบได้ทำการกำหนดเอาไว้ ก็จะส่งผลโดยตรงทำให้ค่าแรงปฏิกิริยาในเสาเข็มแต่ละต้นนั้นเปลี่ยนแปลงไปทันที โดยที่เสาเข็มบางต้นก็อาจจะมีแรงปฏิกิริยาที่ลดลงและบางต้นก็จะมีค่าปฏิกิริยาที่เพิ่มขึ้นด้วยครับ
ซึ่งน้องเค้าก็น่าที่จะเข้าใจในประเด็นนี้แล้ว เอาเป็นว่าเพื่อความกระจ่างแจ้งในประเด็นนี้ผมเลยทำตัวอย่างสั้นๆ มาให้เพื่อนๆ ได้รับชมกันในโพสต์ๆ นี้ เรามาเริ่มต้นดูข้อมูลกันเลยครับ


ในรูปที่ 2 จะเป็นรูปของโครงสร้างฐานราก 2 ต้น ที่ผมได้ดำเนินการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ขึ้นในซอฟต์แวร์ทางไฟไนต์อีลีเม้นต์ โดยที่ผมได้ทำการสมมติว่าเสาเข็มนั้นมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ 300 มม และมีค่าความสามารถในการรับแรงกระทำตามแนวแกนปลอดภัยเท่ากับ 30 ตัน/ต้น และ ผมยังได้ทำการกำหนดให้ข้อมูลต่างๆ ของโครงสร้างฐานรากทั้ง 2 นี้ให้มีขนาดและจำนวนของเสาเข็ม มีขนาดความหนาของฐานราก มีขนาดของตอม่อ และ มีขนาดของแรงกระทำตามแนวแกนภายในตอม่อ ที่เหมือนๆ กัน หรือ เท่าๆ กันทุกๆ ประการเลย มีเพียงอย่างเดียวที่ฐานรากทั้ง 2 นี้จะมีความแตกต่างกันก็คือ ค่าพิกัด ซึ่งก็คือตำแหน่งของเสาเข็มภายในโครงสร้างฐานราก โดยที่โครงสร้างฐานรากทางด้านซ้ายมือคือ กรณีของโครงสร้างฐานรากปกติที่เสาเข็มนั้นไม่เกิดการเยื้องศูนย์เลย ซึ่งจะเห็นได้ว่าเสาเข็มทุกๆ ต้นนั้นจะมีการวางตัวกันอย่างสมมาตรในทุกๆ แกนเลย และ ส่วนทางด้านขวามือคือ กรณีของโครงสร้างฐานรากที่เสาเข็มนั้นได้เกิดการเยื้องศูนย์ออกไป โดยหากทากรเปรียบเทียบตำแหน่งของเสาเข็มระหว่างโครงสร้างฐานรากทางด้านซ้ายมือและขวามือก็จะพบว่า ภายในฐานรากทางด้านขวามือนั้นจะมีเสาเข็ม 2 ต้น-ซ้ายมือ จะเกิดการขยับตัวเข้าใกล้ตอม่อมากยิ่งขึ้นแต่ 2 ต้น-ขวามือ จะเกิดการขยับตัวออกห่างไปจากตอม่อมากยิ่งขึ้นครับ

ซึ่งผลก็จะเป็นไปตามที่ผมได้ทำการอธิบายไปข้างต้นว่า ถ้าหากเกิดเหตุการณ์ที่เสาเข็มของเรานั้นเกิดการเยื้องศูนย์ออกไปจากที่วิศวกรผู้ออกแบบได้ทำการกำหนดเอาไว้ ก็จะส่งผลโดยตรงทำให้ค่าแรงปฏิกิริยาในเสาเข็มแต่ละต้นนั้นเปลี่ยนแปลงไปทันที โดยที่เสาเข็มบางต้นก็อาจจะมีแรงปฏิกิริยาที่ลดลงและบางต้นก็จะมีค่าปฏิกิริยาที่เพิ่มขึ้นด้วย โดยจะเห็นได้ว่าเสาเข็ม 2 ต้น-ซ้ายมือ ที่เกิดการขยับตัวเข้าใกล้ตอม่อมากยิ่งขึ้นนั้นก็จะมีค่าแรงปฏิกิริยาเท่ากับ 31.43 ตัน โดยที่จะเพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีค่าเท่ากับ 27.50 ตัน และ 2 ต้น-ขวามือ ที่เกิดการขยับตัวออกห่างไปจากตอม่อมากยิ่งขึ้นนั้นก็จะมีค่าแรงปฏิกิริยาเท่ากับ 23.57 ตัน โดยที่จะลดลงจากเดิมที่มีค่าเท่ากับ 27.50 ตัน นะครับ
สำหรับกรณีตัวอย่างนี้ หากสมมติว่าเราเป็นวิศวกรผู้ควบคุมการทำงานและเราปล่อยปละละเลย ไม่ทำการตรวจสอบ หรือ ไม่ทำการคำนวณหาว่า แรงปฏิกิริยาของเสาเข็มที่เกิดการเปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องมาจากการเยื้องศูนย์ของเสาเข็มนั้นจะมีค่าเท่ากับเท่าใด นั่นก็เท่ากับว่า จะมีเสาเข็มจำนวน 2 ต้น ที่อยู่ภายในฐานรากของเรานั้นจะต้องทำหน้าที่ในการแบกรับค่าแรงกระทำตามแนวแกนที่สูงกว่าค่าความสามารถในการรับแรงกระทำตามแนวแกนปลอดภัยของเสาเข็ม ซึ่งผมก็มีความเชื่อว่าเพื่อนๆ ทุกๆ คนเองก็คงที่จะไม่อยากให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นในโครงสร้างของเพื่อนๆ อย่างแน่นอนนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์วันศุกร์
#ฝากคำถามแล้วเราจะมาตอบให้
#เหตุใดเราจึงควรต้องทำการคำนวณตรวจสอบว่าแรงปฏิกิริยาของเสาเข็มที่เกิดการเยื้องศูนย์ออกไปนั้นมีค่าเป็นเท่าใด
ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)

1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น

2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น

3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น

 

เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)

4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น

5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น

 

เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)

6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น

7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น

8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447 (คุณจิน)
☎️ 082-790-1448 (คุณสปัน)
☎️ 082-790-1449 (คุณปุ๊ก)
☎️ 091-9478-945 (คุณสปัน)
☎️ 091-8954-269 (คุณสปัน)
☎️ 091-8989-561 (คุณมาย)
📲 https://lin.ee/hum1ua2
🎥 https://lin.ee/gN4OMZe
📥 https://m.me/bhumisiam

 

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com