ความรู้ทางด้านการออกแบบต่อเติมงานวิศวกรรมโครงสร้าง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

พบกันอีกครั้งในช่วงบ่ายของวันอาทิตย์แบบนี้นะครับ โดยที่ในวันนี้ผมจะมาร่วมกันเสวนาถึงคำถามที่ผมได้เชิญชวนให้เพื่อนๆ ให้มาร่วมสนุกตอบคำถามกัน ซึ่งคำถามในวันนี้จะเกี่ยวข้องกับความรู้ทางด้านการออกแบบต่อเติมงานวิศวกรรมโครงสร้างนั่นเองนะครับ โดยที่คำถามนั้นมีอยู่ว่า

หากผมมีความต้องการที่จะทำการเจาะเสียบ พุกเหล็ก หรือ สลักเกลียวเคมี หรือที่เรานิยมเรียกกันในภาษาอังกฤษว่า CHEMICAL ANCHOR BOLT เข้าไปในโครงสร้างคอนกรีตเดิม โดยที่สลักเกลียวนี้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ 16 มม โดยผมขอสมมติว่าผมจะใช้ตัวเคมีภัณฑ์ หรือ CHEMICAL ADHESIVE ใดๆ ก็ได้ ซึ่งคำถามก็คือ

 

  1. ผมควรที่จะเลือกใช้งานเคมีภัณฑ์ยี่ห้อใดดี ?

 

  1. ผมจะต้องทำการเจาะเสียบตัวสลักเกลียวเข้าไปโดยมีขนาดความลึกอย่างน้อยที่สุดเท่ากับเท่าไหร่เพื่อให้ตัวสลักเกลียวนั้นสามารถที่จะรับ แรงดึงต่ำสุด ได้โดยที่การวิบัตินั้นไม่เกิดขึ้นที่ตัวเคมีภัณฑ์แต่เกิดขึ้นที่สลักเกลียว ?

 

  1. ผมควรที่จะต้องทำการฝังตัวสลักเกลียวเข้าไปลึกเท่าใดหากผมมีความต้องการที่จะทำให้ตัวสลักเกลียวนั้นสามารถที่จะรับ แรงดึงสูงสุด ได้โดยที่การวิบัตินั้นไม่เกิดขึ้นที่ตัวเคมีภัณฑ์แต่เกิดขึ้นที่สลักเกลียว ?

 

คำตอบของปัญหาข้อนี้จะไม่สามารถทำได้เลยหากเราไม่ทำการกำหนดขึ้นมาก่อนนะครับว่าเราจะเลือกใช้เป็นเคมีภัณฑ์ยี่ห้อใดกันแน่ เพราะ ในปัจจุบันเคมีภัณฑ์ยี่ห้อต่างๆ ได้ถูกผลิตออกสู่ท้องตลาดโดยมีจุดประสงค์ ข้อดี และ ข้อด้อย ที่มีความแตกต่างกันออกไป ดังนั้นก็จะทำให้คุณสมบัติต่างๆ ของเคมีภัณฑ์แต่ละยี่ห้อก็จะแตกต่างกันตามไปด้วย ดังนั้นสิ่งแรกที่เราต้องทำก่อนคือ ทำการกำหนดยี่ห้อของเคมีภัณฑ์ที่เราจะใช้เสียก่อนนั่นเองนะครับ

 

สำหรับปัญหาข้อนี้ผมจะขออนุญาตทำการเลือกใช้งานยี่ห้อของเคมีภัณฑ์ที่มีความนิยมในท้องตลาดมากในยุคปัจจุบันอย่าง HILTI ก็แล้วกัน ซึ่งรุ่นของเคมีภัณฑ์ที่จะใช้ก็คือ HIT RE 500 นะครับ

 

พอเพื่อนๆ ทำการกำหนดยี่ห้อและรุ่นของเคมีภัณฑ์ที่จะใช้ได้แล้ว ประการต่อมาที่ต้องทำคือเราต้องถามหาคู่มือในการใช้งานของเจ้าเคมีภัณฑ์ยี่ห้อและรุ่นนั้นๆ ซึ่งหากเพื่อนๆ ดูจากตารางในรูปที่ผมได้โพสต์มาเราจะพบว่าได้ระบุข้อมูลที่สำคัญๆ เอาไว้ค่อนข้างที่จะครบถ้วนเลยทีเดียวนะครับ

 

ต่อมาหากผมต้องทำการเจาะเสียบตัวสลักเกลียวเข้าไปโดยมีขนาดความลึกอย่างน้อยที่สุดเท่ากับเท่าไหร่เพื่อให้ตัวสลักเกลียวนั้นสามารถที่จะรับ แรงดึงต่ำสุด ได้โดยที่การวิบัตินั้นไม่เกิดขึ้นที่ตัวเคมีภัณฑ์แต่เกิดขึ้นที่สลักเกลียว คำตอบก็คือ สำหรับเคมีภัณฑ์ยี่ห้อ HILTI รุ่น HIT RE 500 นี้จะใช้ระยะฝังน้อยที่สุดเท่ากับ 10 เท่าของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของตัวสลักเกลียวแบบฝังหรือว่า 10D ในเมื่อ D คือ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ดังนั้นสำหรับสลักเกลียวที่มีขนาดเท่ากับ 16 มม ก็จะใช้ระยะฝังน้อยที่สุดเท่ากับ

 

Lb min = 10D

Lb min = 10×16

Lb min = 160 mm

 

สำหรับคำถามข้อสุดท้ายที่ว่า ผมควรที่จะต้องทำการฝังตัวสลักเกลียวเข้าไปลึกเท่าใดหากผมมีความต้องการที่จะทำให้ตัวสลักเกลียวนั้นสามารถที่จะรับ แรงดึงสูงสุด ได้โดยที่การวิบัตินั้นไม่เกิดขึ้นที่ตัวเคมีภัณฑ์แต่เกิดขึ้นที่สลักเกลียว คำตอบก็คือ สำหรับเคมีภัณฑ์ยี่ห้อ HILTI รุ่น HIT RE 500 นี้จะใช้ระยะฝังที่จะทำให้ชิ้นส่วนนั้นสามารถรับแรงดึงได้สูงที่สุด คือ ทำการเลือกใช้งานระยะฝังที่จะทำให้ชิ้นส่วนนั้นสามารถเกิดการครากได้ซึ่งสำหรับสลักเกลียวที่มีขนาดเท่ากับ 16 มม ก็จะใช้ระยะฝังนี้อย่างน้อยเท่ากับ 230 มม โดยต่อให้เพื่อนๆ นั้นทำการฝังสลักเกลียวด้วยระยะที่มากกว่าระยะๆ นี้ก็จะสามารถสังเกตเห็นได้ว่า ค่าแรงที่ได้รับการออกแบบนั้นก็จะไม่เพิ่มขึ้นเลยนั่นเองครับ ดังนั้นเราอาจเลือกทำการฝังให้สลักเกลียวของเรามีขนาดความลึกเท่ากับ

 

Lb = Lb yield

Lb > 230 mm

Lb = 250 mm

 

สรุปก็แล้วกันนะครับ เราจะทำการเลือกใช้งานเคมีภัณฑ์ยี่ห้อใดก็ได้ ขอเพียงแต่ให้เคมีภัณฑ์ที่เราเลือกใช้งานนั้นมีรายการคำนวณที่อ้างอิงมาตรฐานการออกแบบใดๆ ที่มีความน่าเชื่อถือเพียงพอ และ ถูกทำการผลิตออกมาโดยมีผลการวิจัยและผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการรับรองด้วย เพราะ ในที่สุดเมื่อเรานำไปใช้ หากมีการสอบถามจากบุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง เราจะได้สามารถทำการอ้างอิงถึงได้ และ สำคัญที่สุดคือ เรา และ เจ้าของงาน จะได้เกิดความสบายใจในการใช้งานเคมีภัณฑ์นั้นๆ นั่นเองครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com