ประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง โครงสร้าวราวกันตก

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ
ตามที่ผมได้รับปากกับเพื่อนๆ เอาไว้ในโพสต์ของเมื่อสัปดาห์ก่อนหน้านี้ว่า ภายในสัปดาห์นี้ที่เราจะได้กลับมาพบกันอีกครั้ง ผมก็จะขออนุญาตนำเอาเรื่องราวรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรฐานการออกแบบที่เพื่อนๆ จะสามารถนำไปใช้ในการทำงานออกแบบโครงสร้างราวกันตกได้ซึ่งก็น่าที่จะเป็นการดีเหมือนกัน ซึ่งมาตรฐานการออกแบบนี้มีชื่อเสียงเรียงนามแบบเต็มๆ ว่า มยผ . 1321-61 มาตรฐานการออกแบบราวกันตกในอาคารจอดรถยนต์ ซึ่งออกโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทยนะครับ


สาเหตุที่ทางกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ได้ทำการออกมาตรฐานการออกแบบฉบับนี้เป็นเพราะว่าในปัจจุบันนั้นมีอุบัติที่เกิดจากการที่รถยนต์โดยสารนั้นมักจะเกิดเหตุตกลงจากอาคารจอดรถยนต์ซึ่งได้ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นอย่างมาก ซึ่งสาเหตุหนึ่งก็อาจจะเกิดจากการก่อสร้างราวกันตกของอาคารจอดรถยนต์นั้นยังไม่มีรูปแบบหรือมาตรฐานใดๆ ที่มีการกำหนดขึ้นอย่างชัดเจน ทำให้รถยนต์โดยสารนั้นมีความเสี่ยงที่จะตกลงมาจากอาคารได้เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น ซึ่งทางกรมโยธาธิการและผังเมืองในฐานะที่เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีภารกิจในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งการออกแบบ การก่อสร้าง การบูรณะ และการบำรุงรักษา ได้ตระหนักถึงความสำคัญของความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในการเข้าใช้งานอาคารจอดรถยนต์โดยสารซึ่งแน่นอนว่าควรที่จะต้องได้รับความปลอดภัยอย่างเพียงพอ ทางกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย จึงได้ทำการศึกษาเรื่องการออกแบบราวกันตกในอาคารจอดรถยนต์นี้อย่างจริงจังและในที่สุดก็ได้ทำการจัดทำมาตรฐานฉบับนี้ขึ้นมา ซึ่งมาตรฐานฉบับนี้จะประกอบด้วยข้อกำหนดในการออกแบบและการก่อสร้าง หลักการในการคำนวณค่าของแรงกระแทกต่างๆ และตัวอย่างในการทำงานออกแบบราวกันตกด้วย เป็นต้นนะครับ

ซึ่งเพื่อนๆ อาจจะเห็นได้จากรูปภาพที่ผมใช้ประกอบในโพสต์ๆ นี้ว่า เนื้อหาภายในมาตรฐานฉบับนี้มีกล่าวถึงเรื่องราวต่างๆ อย่างค่อนข้างที่จะครบถ้วนเลยทีเดียว เช่น ตัวอย่างราวกันตกประเภทแข็งเกร็งหรือ RIGID BARRIER หรือ RIGID GUARD และตัวอย่างราวกันตกประเภทยืดหยุ่นหรือ FLEXIBLE BARRIER หรือ FLEXIBLE GUARD เหมือนกับที่ผมได้ทำการอธิบายไปแล้วเมื่อสัปดาห์ก่อน หลักการในการคำนวณหาค่าของแรงกระแทกสำหรับออกแบบราวกันตกในอาคารจอดรถยนต์ มีการอธิบายถึงรูปแบบและลักษณะของการยุบตัวของรถยนต์เมื่อชนหรือปะทะกับราวกันตก ที่สำคัญคือมีตัวอย่างการออกแบบและคำนวณราวกันตกอยู่ภายในมาตรฐานการออกแบบฉบับนี้ด้วย เป็นต้นนะครับ
ที่สำคัญก็คือ มาตรฐานการออกแบบฉบับนี้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เลย เพื่อนๆ สามารถที่จะหาดาวน์โหลดมาอ่านได้จากอินเตอร์เน็ตหรือลิงค์ที่ผมได้นำเอามาฝากไว้ได้เลยโดยตรงนครับ

http://subsites.dpt.go.th/…/images/pdf/sd_work/141261.pdf

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันพุธ
#ความรู้เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง
#โครงสร้าวราวกันตก
#ครั้งที่2
ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com