ค่าความแข็งเกร็งต่อการเสียรูปทางด้านข้างของโครงสร้างPortalFrame

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันเสาร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ถาม-ตอบชวนสนุก” กันนะครับ

 

โดยที่ในวันนี้ประเด็นที่ผมได้เลือกนำเอามาตั้งเป็นคำถามประจำสัปดาห์นั้นจะมีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง ความรู้เรื่องวิศวกรรมการคำนวณ ที่ผมได้ทำการโพสต์ถึงในสัปดาห์ที่ผ่านมาและก็เหมือนเช่นเคยผมคงจะต้องออกตัวอีกครั้งหนึ่งว่า คำถามประจำสัปดาห์นี้สุดแสนจะง่ายมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ โดยที่โจทย์ในวันนี้ก็คือ

จากการที่เมื่อในหลายสัปดาห์ก่อนหน้านี้ ผมได้นำเอารูปๆ นี้มาทำการตั้งเป็นคำถามประจำสัปดาห์ไป โดยที่ในการโพสต์ครั้งก่อนหน้านั้นผมได้ถามไปว่า หากผมทำการสมมติและกำหนดเงื่อนไขเอาไว้ว่า เพื่อนๆ เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างในโครงการก่อสร้างแห่งนี้และเพื่อนๆ สามารถที่จะทำการก่อสร้างโครงสร้าง PORTAL FRAME ดังรูปได้ภายในระยะเวลาในการทำงานก่อสร้างที่ไม่ได้ถูกจำกัดอะไรมากมายนัก อีกทั้งการก่อสร้างตัวโครงสร้างคานในรูป ยังสามารถที่จะทำได้โดยที่ไม่ได้ปัญหาหรืออุปสรรคใดๆ เมื่อเงื่อนไขเป็นเช่นนั้น เพื่อนๆ ย่อมต้องการที่จะทำการก่อสร้างตัวฐานรากและเสาให้เกิดความประหยัดสูงที่สุด คำถามก็คือ เพื่อนๆ จะเลือกทำการจำลองโครงสร้าง PORTAL FRAME ของเพื่อนๆ ให้เป็นไปตามรูป (A) (B) หรือ (C) ดี ซึ่งคำตอบก็คือ ข้อ (A) แต่ว่าในวันนี้ผมอยากจะขอมาทำการถามเพื่อนๆ ใหม่ว่า จากเงื่อนไขที่ได้ให้เอาไว้ในข้างต้น หากผมอยากที่จะทราบว่า “ค่าความแข็งเกร็งต่อการเสียรูปทางด้านข้าง” ของโครงสร้างทั้ง 3 รูปนี้จะมีค่าเท่ากับเท่าใดกันบ้างครับ ?

 

ปล ผมใบ้ให้เพื่อนๆ เอาไว้นิดหนึ่งว่า เพื่อนๆ ไม่จำเป็นที่จะต้องทำการพิจารณาถึงค่าของการเสียรูปตามแนวแกนของทุกๆ ชิ้นส่วนภายในโครงสร้างของรูปทั้ง 3 นะครับ

 

#โพสต์ของวันเสาร์
#ถามตอบชวนสนุก
#ปัญหาเรื่องค่าความแข็งเกร็งต่อการเสียรูปทางด้านข้างของโครงสร้างPortalFrame

 

เฉลย

หากพิจารณาดูจากเงื่อนไขก็จะพบว่า ในโครงการก่อสร้างแห่งนี้เพื่อนๆ สามารถที่จะทำการก่อสร้างโครงสร้าง PORTAL FRAME ดังรูปได้ภายในระยะเวลาในการทำงานก่อสร้างที่ไม่ได้ถูกจำกัดอะไรมากมายนัก อีกทั้งการก่อสร้างตัวโครงสร้างคานในรูป ยังสามารถที่จะทำได้โดยที่ไม่ได้ปัญหาหรืออุปสรรคใดๆ ด้วย ดังนั้นหากเพื่อนๆ มีความต้องการที่จะทำการก่อสร้างตัวฐานรากและเสาให้เกิดความประหยัดสูงที่สุด นั่นก็แสดงว่าเราจะต้องเลือกทำการออกแบบให้เกิดโมเมนต์ดัดเกิดขึ้นในฐานรากและหัวเสาที่มีค่าน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ดังนั้นหากเราเลือกทำการออกแบบให้เป็นไปตามข้อ (B) และ (C) พฤติกรรมของโครงสร้างจะมีความเทียบเท่ากันทั้งทางด้านค่าการเสียรูปทางด้านข้างและค่าโมเมนต์ดัดที่จะเกิดขึ้นแต่จะมีความแตกต่างกันที่ข้อ (C) นั้นจะมีขั้นตอนของการก่อสร้างที่ยุ่งยากน้อยกว่าข้อ (B) ค่อนข้างจะมาก พูดง่ายๆ ก็คือ จากเงื่อนไขข้างต้นก็แสดงว่า ค่าความแข็งเกร็งต่อการเสียรูปทางด้านข้างของโครงสร้างในโครงสร้างของข้อ (A) นั้นก็จะต้องมีค่ามากกว่า ค่าความแข็งเกร็งต่อการเสียรูปทางด้านข้างของโครงสร้างในโครงสร้างของข้อ (B) และ (C) ซึ่งค่าความแข็งเกร็งต่อการเสียรูปทางด้านข้างของโครงสร้างในโครงสร้างของข้อ (B) และ (C) นั้นก็จะพบได้ว่ามีค่าที่เท่าๆ กันแต่จะมีความแตกต่างกันเฉพาะ ELASTIC CURVE ของโครงสร้างเพียงเท่านั้นนะครับ

 

ซึ่งหากเรามาทำการคำนวณหาค่าความแข็งเกร็งต่อการเสียรูปทางด้านข้างของโครงสร้างทั้งสามก็จะพบว่ามีความสอดคล้องกันกับข้อความข้างต้นจริง ซึ่งค่าความแข็งเกร็งต่อการเสียรูปทางด้านข้างของโครงสร้างในรูป A นั้นก็จะมีค่าเท่ากับ

K (A) = ∑Kc

K (A) = 2 x 12 E Ic / h^(3)

K (A) = 24 E Ic / h^(3) ◄

ค่าความแข็งเกร็งต่อการเสียรูปทางด้านข้างของโครงสร้างในรูป B นั้นก็จะมีค่าเท่ากับ

K (B) = ∑Kc

K (B) = 2 x 3 E Ic / h^(3)

K (B) = 6 E Ic / h^(3) ◄

ค่าความแข็งเกร็งต่อการเสียรูปทางด้านข้างของโครงสร้างในรูป C นั้นก็จะมีค่าเท่ากับ

K (C) = ∑Kc

K (C) = 2 x 3 E Ic / h^(3)

K (C) = 6 E Ic / h^(3) ◄

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์ของวันอาทิตย์
#ถามตอบชวนสนุก
#ตอบปัญหาเรื่องค่าความแข็งเกร็งต่อการเสียรูปทางด้านข้างของโครงสร้างPortalFrame

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com