การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างอาคารสูง (TALL BUILDING DESIGN หรือ TBD)

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างอาคารสูง (TALL BUILDING DESIGN หรือ TBD) นะครับ

ในการออกแบบโครงสร้างอาคารสูงใดๆ ระบบๆ หนึ่งที่เรามักที่จะพบเจออยู่บ่อยครั้งมากๆ เลยก็คือ ระบบพื้น คสล หรือ คอร แบบท้องเรียบ (RC OR POST-TENSIONED FLAT PLATE) ซึ่งผมเชื่อเหลือเกินว่าเพื่อนๆ ส่วนใหญ่นั้นทราบกันดีอยู่แล้วว่า ระบบโครงสร้างแผ่นพื้นแบบนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องทำการ ออกแบบ และ ตรวจสอบ หาว่า ค่ากำลังความสามารรถในการรับ แรงเฉือนทะลุ (PUNCHING SHEAR CAPACITY) ของพื้นนั้นจะมีค่ามากกว่า นน บรรทุกที่กระทำหรือไม่ แต่ หลายๆ ครั้งเราจะพบว่ามีข้อผิดพลาดประการหนึ่งที่ผู้ออกแบบมักที่จะหลงลืมไปเกี่ยวกับการออกแบบให้พื้นนั้นสามารถที่จะ รับแรงเฉือนทะลุได้ ซึ่งนั่นก็จะเป็นหัวข้อในวันนี้ นั่นก็คือ เมื่อเสานั้นมีการตัววางอยู่ในตำแหน่งที่ต่างกันก็จะทำให้มีขนาดของหน้าตัดวิกฤติของแผ่นพื้นที่ใช้ในการ รับแรงเฉือนทะลุ ที่มีค่าไม่เท่ากัน ซึ่งต่อให้เราใช้ขนาดของความหนาของแผ่นพื้น คสล หรือ คอร ที่เท่าๆ กัน หรือ ใช้ขนาดของเสา คสล ที่มีขนาดที่เท่าๆ กัน แต่ ก็ไม่ทำให้กรณีนี้เปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด

นั่นเป็นเพราะว่า หน้าตัดวิกฤติที่เราใช้ทำการคำนวณค่าในการ รับแรงเฉือนทะลุ จะมีค่าเท่ากับระยะ d/2 จากขอบของเสา ดังนั้นสำหรับกรณีที่เสานั้นมีการตัววางอยู่ในตำแหน่งที่ต่างกันออกไปก็จะทำให้ขนาดของหน้าตัดวิกฤติของแผ่นพื้นที่ใช้ในการ รับแรงเฉือนทะลุ นั้นมีค่าที่แตกต่างกันตามไปด้วย

หากเราให้เสาของเรานั้นมีรูปทรงเป็น สี่เหลี่ยมจัตุรัส และ ให้ระยะ B นั้นเป็นขนาดความกว้างของเสา และ เราจะให้ค่า d นั้นเป็นค่าความลึกประสิทธิผล (EFFECTIVE DEPTH) ของโครงสร้างแผ่นพื้น เราจะสามารถจำแนกประเภทของตำแหน่งข้างต้นออกได้เป็น 3 กรณีหลักๆ นั่นก็คือ

CASE 1: เสาต้นใน (INTERIOR COLUMN)
สำหรับตำแหน่งของเสาแบบนี้จะมีค่าขนาดความยาวของระยะวิกฤติ bo เท่ากับ 4(B+d) หรือเขียนใหม่ในรูปแบบของสมการได้ว่าเท่ากับ

bo = 4(B+d)

CASE 2: เสาต้นริม (EDGE COLUMN)
สำหรับตำแหน่งของเสาแบบนี้จะมีค่าขนาดความยาวของระยะวิกฤติ bo เท่ากับ 3B+2d หรือเขียนใหม่ในรูปแบบของสมการได้ว่าเท่ากับ

bo = 3B+2d

CASE 3: เสาต้นมุม (CORNER COLUMN)
สำหรับตำแหน่งของเสาแบบนี้จะมีค่าขนาดความยาวของระยะวิกฤติ bo เท่ากับ 2B+d หรือเขียนใหม่ในรูปแบบของสมการได้ว่าเท่ากับ

bo = 2B+d

โดยเราจะเห็นได้ว่าค่า bo สำหรับเสาในแต่ละกรณีนั้นจะมีค่าไม่เท่ากัน ดังนั้นเพื่อทำการเปรียบเทียบให้เห็นค่าเราจะมาทำการยก ตย ในการคำนวณให้ดูกันสักเล็กน้อยก็แล้วกันนะครับ

ผมมีเสาสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 50×50 CM แผ่นพื้นมีความหนาเท่ากับ 23 CM จงคำนวณหาค่า bo สำหรับเสาแต่ละกรณีที่มีความแตกต่างกัน

สำหรับปัญหาข้อนี้ค่า B นั้นจะมีค่าเท่ากับ 50 CM และ ระยะ d ของแผ่นพื้นนั้นจะมีค่าเท่ากับ 23 ลบด้วยระยะหุ้มคอนกรีตประมาณ 3 CM จะมีค่าเท่ากับ 20 CM ดังนั้น

CASE 1: เสาต้นใน
สำหรับตำแหน่งของเสาแบบนี้จะมีค่าขนาดความยาวของระยะวิกฤติ bo เท่ากับ

bo = 4(B+d)
bo = 4(50+20)
bo = 280 CM

CASE 2: เสาต้นริม
สำหรับตำแหน่งของเสาแบบนี้จะมีค่าขนาดความยาวของระยะวิกฤติ bo เท่ากับ

bo = 3B+2d
bo = 3×50+2×20
bo = 190 CM

CASE 3: เสาต้นมุม
สำหรับตำแหน่งของเสาแบบนี้จะมีค่าขนาดความยาวของระยะวิกฤติ bo เท่ากับ

bo = 2B+d
bo = 2×50+20
bo = 120 CM

เราจะเห็นได้ว่าค่า bo สำหรับกรณีที่ 1 นั้นจะมีค่าสูงสุดซึ่งเท่ากับ 280 CM และ สำหรับกรณีที่ 2 นั้นจะมีค่ารองลงมาซึ่งเท่ากับ 190 CM และ กรณีที่ 3 นั้นมีค่าน้อยที่สุดซึ่งเท่ากับ 120 CM และ หากเราทำการเปรียบเทียบทุกๆ กรณีกับกรณีที่ 1 จะพบว่า ค่า bo สำหรับกรณีที่ 2 นั้นจะมีค่าน้อยกว่าค่า bo ในกรณีที่ 1 ประมาณ 190/280 = 0.68 เท่า และ ค่า bo สำหรับกรณีที่ 3 นั้นจะมีค่าน้อยกว่าค่า bo ในกรณีที่ 1 ประมาณ 120/280 = 0.43 เท่า

จาก ตย ข้างต้นเราจะเห็นได้ว่า หากเราทำการคำนวณและตรวจสอบแผ่นพื้นเฉพาะกรณีของ เสาต้นใน เพียงกรณีเดียวโดยที่เราไม่ทำการตรวจสอบกรณีของ เสาต้นริม หรือ เสาต้นมุม ด้วย นั่นก็หมายความว่า แผ่นพื้นของเรานั้นก็จะมีความเป็นไปได้สูงมากที่จะไม่ปลอดภัยจาก แรงเฉือนทะลุ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในแผ่นพื้นนั่นเองนะครับ

ดังนั้นผมจึงอยากที่จะขออนุญาตย้ำเตือนกับเพื่อนๆ อีกสักครั้งหนึ่งนะครับว่า เมื่อทำการออกแบบและตรวจสอบ ค่าแรงเฉือนทะลุ ในแผ่นพื้นเมื่อใด ก็อย่าได้ประมาท หรือ หลงลืมที่จะตรวจสอบที่ตำแหน่งเสาอย่างน้อย 3 บริเวณด้วยกัน นั่นก็คือ เสาต้นกลาง เสาต้นริม และ เสาต้นมุม เสมอนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com