ระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหว

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

เนื่องจากเมื่อวันก่อนได้มีโอกาสไปให้การอบรมแก่วิศวกรโยธา ณ บริษัท ผรม เอกชนแห่งหนึ่ง ผมเห็นว่าน่าที่จะมีประโยชน์หากผมเตรียมเนื้อหาการสอนเกี่ยวกับเรื่องวิศวกรรมแผ่นดินไหวไปฝากกับน้องๆ ในโอกาสถัดไปด้วย วันนี้จึงนั่งเตรียมเนื้อหาบางส่วนไปพลางๆ ผมเห็นว่าเนื้อหาหลายๆ ส่วนน่าที่จะมีประโยชน์ จึงนำมาฝากแก่เพื่อนๆ ในวันนี้ด้วยนะครับ โดยเรื่องที่จะนำมาฝากกันในวันนี้ คือ เรื่องระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหว

เมื่อเราพูดถึงวิศวกรรมแผ่นดินไหวและโฟกัสไปที่เรื่องระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหว อย่างหนึ่งที่จะผุดขึ้นมาเป็นอย่างแรกในสมองของ SEISMIC ENGINEER เลยก็คือ ความเร่งตอบสนองเชิงสเปกตรัม (RESPONSE ACCELERATION) ที่จะต้องนำมาใช้ในการออกแบบอาคารที่ต้องต้านทานแรงกระทำจากแผ่นดินไหวนั่นเองครับ

วันนี้ผมจึงอยากที่จะมาอธิบายพอสังเขปแก่เพื่อนๆ จะได้พอที่จะมีความรู้ความเข้าใจถึงความหมายของคำๆ นี้กันนะครับ

เมื่อเกิดการสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว อาคารต่างๆ จะมีการตอบสนองต่อการสั่นสะเทือนที่มีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป โดยรูปแบบของการสั่นนี้จะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักๆ คือ คาบการสั่นพื้นฐานของอาคาร (NATURAL PERIOD) และ ปัจจัยอย่างอื่นประกอบกัน เช่น ค่าการหน่วงของโครงสร้าง (STRUCTURAL DAMPING) เป็นต้น ดังนั้นผลการตอบสนองของอาคารที่ผมกำลังอธิบายถึงอยู่นี้จึงจะแสดงอยู่ในรูปแบบของ “ความเร่งตอบสนองเชิงสเปกตรัม” ซึ่งจะมีค่าที่แปรเปลี่ยนไปตามคาบการสั่นพื้นฐานของอาคาร

เมื่อเราจะทำการออกแบบโครงสร้างอาคารใดๆ และ เราพูดถึงค่าความเร่งตอบสนองเชิงสเปกตรัมของแผ่นดินไหว เราจะทำการพิจารณาที่ค่าซึ่งมีความรุนแรงสูงสุดที่เราจะสามารถนำมาพิจารณาได้ (MAXIMUM CONSIDERED EARTHQUAKE) ซึ่งในการออกแบบตาม มยผ 1302-52 เราจะพิจารณาที่คาบการสั่นที่เวลา 0.20 วินาที ซึ่งเราจะเรียกว่า คาบการสั่นตัวที่ สั้น หรือ SHORT นั่นเอง (SS) และ คาบการสั่น 1 วินาที เราจะเรียกว่า คาบการสั่นตัวที่ 1.00 วินาที นั่นเอง (S1)

โดยเมื่อเราต้องทำการออกแบบโครงสร้างให้สามารถต้านทานต่อแรงกระทำจากแผ่นดินไหว ณ ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งบนโลกใบนี้ ค่าความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่จะเกิดขึ้นย่อมมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันออกไป โดยขึ้นกับปัจจัยหลายๆ อย่างประกอบกัน

ผมจะยก ตย ละกันนะครับ หากเราต้องทำการออกแบบอาคารให้สามารถต้านทานแรงกระทำจากแผ่นดินไหวในประเทศไทยสักหลังหนึ่ง เราจะต้องทราบที่ตั้งเสียก่อนว่าอาคารหลังนี้ตั้งอยู่ ณ อำเภอและจังหวัดใดของประเทศไทย (ยกเว้นในพื้นที่แอ่งกรุงเทพที่มีลักษณะดินอ่อนเป็นพิเศษ) เราสามารถดูได้จากตารางที่ 1.4-1 ในหน้าที่ 10 ถึง 20 ของ มยผ. 1302-52 โดยที่ค่าความเร่งตอบสนองที่ได้แสดงอยู่ในตารางๆ นี้ได้มาจากการวิเคราะห์ความเสี่ยงภัยของแผ่นดินไหว (SEISMIC RISK) โดยสมมุติให้สภาพชั้นดินในทุกๆ พื้นที่เป็นแบบดินแข็ง หรือ หิน ที่มีความเร็วคลื่นเฉือน S V โดยเฉลี่ยในช่วงจากผิวดินถึงความลึก 30 m เท่ากับ 760 m/s

ในกรณีของพื้นที่แอ่งกรุงเทพ ผลตอบสนองของอาคารได้ถูกแสดงในรูปของความเร่งตอบสนองเชิงสเปกตรัมสำหรับการออกแบบ ซึ่งได้รวมผลเนื่องจากสภาพดินอ่อนในพื้นที่นี้เข้าไปแล้วและสามารถนำไปใช้ในการออกแบบได้โดยตรง ดังรายละเอียดที่ได้กล่าวถึงในหัวข้อ 1.4.5.2 ของ มยผ. 1302-52 ซึ่งเพื่อนๆ สามารถที่จะหาดาวน์โหลดได้จากในเว็บไซต์ของ กรมโยธาธิการและผังเมือง ได้เลยโดยตรงนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com