การแปลงค่า Ksoil ให้เป็นค่า Kstructure ในโปรแกรม STAAD.PRO

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

เนื่องจากโพสต์ของผมเมื่อวานที่ผมได้ทำการอธิบายเกี่ยวกับการแปลงค่า Ksoil ให้เป็นค่า Kstructure แก่เพื่อนๆ ไป บังเอิญว่ามีเพื่อนผมท่านหนึ่งได้มาคอมเม้นต์ว่าให้ลองทำการ APPLY ปัญหาข้อนี้ในโปรแกรม MICROFEAP รุ่น P1 ดู

ผมต้องเรียนขออภัยเพื่อนท่านนี้มา ณ โอกาสนี้ด้วยนะครับ เพราะตัวผมนั้นไม่ได้ใช้โปรแกรมนี้ ผมเป็นเพียงผู้ติดตามผลงานและชื่นชอบในตัวท่าน ดร สมพร เท่านั้นเองน่ะครับ ผมจึงไม่สามารถที่จะใช้โปรแกรมนี้ได้ แต่ ผมก็ได้เรียนเพื่อนท่านนี้ไปว่า หากเพื่อนๆ ท่านอื่นๆ มีโปรแกรมๆ นี้ก็สามารถที่จะลองทำการใช้โปรแกรมวิเคราะห์ปัญหาข้อนี้ได้นะครับ

ส่วนในโปรแกรม STAAD.PRO ก็เหมือนที่ผมได้เรียนเพื่อนๆ ไปนะครับว่าเราสามารถที่จะจำลองจุดรองรับให้เป็นแบบ SPRING SUPPORT ได้เลยโดยตรงนะครับ โดยการเลือกหน้า TAB ที่มีชื่อว่า GENERAL / SUPPORT / CREATE / FIXED BUT และจึงไปทำการ INPUT ค่า PROPERTIES ต่างๆ ของ SPRING (ดูรูปที่ 1 ประกอบนะครับ)

(รูปที่ 1)

จากข้อมูลในโพสต์ก่อนหน้านี้ของผมนะครับ ผมได้ทำการแบ่งชิ้นส่วนออกเป็นท่อนละ 1 เมตร ดังนั้นค่า Aph สำหรับชิ้นส่วนทั่วๆ ไปจะเท่ากับ

Aph = (1+1)(0.4) = 0.8 m^(2)

และค่า Aph สำหรับชิ้นส่วนสุดท้ายจะเท่ากับ

Aph = (0.5+0.5)(0.4) = 0.4 m^(2)

ส่วนค่า Apv จะเท่ากับ

Apv = 0.4×0.4 = 0.16 m^(2)

สำหรับที่ความลึกตั้งแต่ 0-18 m
Ksh = (311)(0.8) = 249 T/m

ส่วนที่ความลึกตั้งแต่ 18-25 m
Ksh = (4,978)(0.8) = 3,982 T/m

และที่ระดับความลึกๆ ที่สุด
Ksh = (4,978)(0.4) = 1,991 T/m

สำหรับค่า kv จะเท่ากับ
Kvh = (9,956)(0.16) = 1,593 T/m

เราก็จะทำการ INPUT ค่าเหล่านี้เข้าไปได้เลยดดยตรงในโปรแกรมนะครับ

จากนั้นก็ทำการวิเคราะห์โครงสร้างนะครับ

(รูปที่ 2)

          จะพบว่า ด้วย LC ที่เป็น FACTORED LOAD (ดูรูปที่ 2 ประกอบ) จะพบว่าค่าโมเมนต์ดัดแบบเพิ่มค่าจะมีค่าเท่ากับ 10,241 kgf-m ซึ่งจะมีค่าเท่ากันกับการที่เราใช้ LINK BAR ในการจำลองแทนด้วย SUPPORT แบบ SPRING เลยนะครับ (ดูรูปที่ 3 ประกอบ)

(รูปที่ 3)

ดังนั้นไม่ว่าเพื่อนๆ จะมีโปรแกรมใดไว้ใช้งานก็ตามแต่ ไม่ว่าโปรแกรมนั้นๆ จะสามารถ INPUT ค่าคุณสมบัติต่างๆ ของจุดรองรับให้เป็น SPRING ได้หรือไม่ หรืออาจจะทำการ INPUT ได้แค่เป็นโครงสร้าง LINK BAR ก็ตามแต่ ไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตามเพื่อนๆ ก็ยังสามารถที่จะนำหลักการนี้ไป APPLY ใช้งานในการวิเคราะห์โครงสร้างได้อยู่ดีนะครับ เพียงแต่อาจจะต้องเหนื่อยเพิ่มเติมอีกนิดหน่อยในการ TRANSFORM ค่า Ksoil ให้เป็น Kstructure ก็เท่านั้นเองครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN