คำนวณออกแบบและการก่อสร้าง ค่าFFLและSFL

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ

 

ผมเชื่อว่าเวลาที่เพื่อนๆ ทุกคนได้อ่านข้อมูลจากแบบก่อสร้างไม่ว่าจะเป็นแบบสถาปัตยกรรมก็ดีหรือว่าแบบวิศวกรรมโครงสร้างก็ดี เพื่อนหลายๆ คนคงจะเคยเห็นอักษรย่อในภาษาอังกฤษว่า “FFL. xxx” และ “SFL. xxx” ที่จะอ้างอิงลงไปที่ตำแหน่งของระดับ “พื้น” ซึ่งผมก็เชื่ออีกเช่นกันว่าพวกเราหลายๆ คนในที่นี้ต่างก็รู้จักและมีความคุ้นเคยกับความหมายของคำทั้งสองนี้ดีอยู่แล้ว เอาเป็นว่าในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการอธิบายแก่เพื่อนๆ ที่อาจจะยังไม่รู้จักและมีความคุ้นเคยกับความหมายของคำทั้งสองนี้ก็แล้วกันนะครับ

เริ่มต้นจากคำว่า FFL. ก่อนก็แล้วกัน โดยที่ส่วนใหญ่แล้วเราจะพบคำๆ นี้ได้บ่อยๆ เวลาที่เปิดอ่านข้อมูลจากแบบสถาปัตยกรรม โดยดูได้จากรูปที่ 1 ที่ได้แนบมาในโพสต์ๆ นี้ประกอบได้ ซึ่งคำว่า FFL. ในที่นี้จะเป็นอักษรย่อที่มีความหมายว่า “F”INISHED “F”LOOR “L”EVEL ซึ่งก็จะมีความหมายถึง “ระดับของพื้นที่อ้างอิงไปถึงระยะที่จบด้วยงานสถาปัตยกรรมแล้ว” นะครับ

มาต่อกันที่คำว่า SFL. กันบ้าง โดยที่ส่วนใหญ่แล้วเราจะพบคำๆ นี้ได้บ่อยๆ เวลาที่เปิดอ่านข้อมูลจากแบบวิศวกรรมโครงสร้าง โดยดูได้จากรูปที่ 2 ที่ได้แนบมาในโพสต์ๆ นี้ประกอบได้ ซึ่งคำว่า SFL. ในที่นี้จะเป็นอักษรย่อที่มีความหมายว่า “S”TRUCTURAL “F”LOOR “L”EVEL ซึ่งก็จะมีความหมายถึง “ระดับของพื้นที่อ้างอิงไปถึงระยะที่จบด้วยงานวิศวกรรมโครงสร้างแล้ว” นะครับ

 

เพราะเหตุใดในแบบสถาปัตยกรรมหรือว่าแบบวิศวกรรมโครงสร้างของเราจึงต้องมีการอ้างอิงและใช้ทั้งคำว่า “ระดับของพื้นที่อ้างอิงไปถึงระยะที่จบด้วยงานสถาปัตยกรรมแล้ว” และ “ระดับของพื้นที่อ้างอิงไปถึงระยะที่จบด้วยงานวิศวกรรมโครงสร้างแล้ว” ลงไปในแบบ เพื่อนๆ พอที่จะทราบหรือไม่ครับ ?

 

เป็นเพราะว่าหลายๆ ครั้งในการก่อสร้างอะไรสักอย่างหนึ่ง พื้นผิวของโครงสร้างที่เราได้ทำการก่อสร้างแล้วเสร็จลงไป มักจะต้องมีการปิดทับลงไปด้วยวัสดุอื่นๆ ที่เป็นงานสถาปัตยกรรม ดังนั้นแน่นนอนว่าระยะทั้งสองข้างต้นนี้จะไม่ได้มีค่าของระดับที่เท่าๆ กันและแน่นอนว่า ระดับของค่า SFL. จะต้องมีค่าที่ “น้อยกว่า” หรือ .”เท่ากับ” ระดับของ FFL. เสมอนะครับ

เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ?

 

เป็นเพราะว่าหลายๆ ครั้งอีกเช่นกัน ในการก่อสร้างอะไรสักอย่างหนึ่ง พื้นผิวของโครงสร้างที่เราได้ทำการก่อสร้างแล้วเสร็จลงไปก็อาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องมีการปิดทับลงไปด้วยวัสดุอื่นๆ ที่เป็นงานสถาปัตยกรรมเช่นกัน เช่น พื้นผิวที่ถูกกำหนดให้เป็นพื้นขัดมัน หรือ พื้นผิวที่ถูกกำหนดให้เป็นพื้นขัดสด เป็นต้น หรือบางครั้งวัสดุที่ถูกนำมาใช้จบลงบนพื้นผิวนั้นๆ ก็จะมีค่าที่น้อยมากๆๆๆๆ เช่น พื้นผิวที่ถูกกำหนดให้เป็นพื้นลงด้วยวัสดุ EPOXY หรือ พื้นผิวที่ถูกกำหนดให้เป็นพื้นลงด้วยวัสดุ HARDENER เป็นต้น หากเป็นเช่นนี้เราก็อาจจะกล่าวได้ว่าค่า SFL. นั้นจะมีค่าเท่ากับค่า FFL. นะครับ

 

เอาเป็นว่าในครั้งต่อไปที่เราจะมาพบกัน ผมอยากจะขออนุญาตหยิบยกและนำเอากรณีตัวอย่างว่าเพราะเหตุใดเราจึงต้องมีการใช้งานทั้งค่า FFL. และ SFL. นี้ในการทำงานก่อสร้างของเพื่อนๆ เพื่อให้เพื่อนๆ ทุกคน ได้ทราบรับและรับชมก็แล้วกัน โดยหากว่ามีเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษก็สามารถที่จะติดตามได้ในการพบกันครั้งต่อๆ ไปของเราได้นะครับ

 

ผมคาดหวังไว้ว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อยและจนกว่าเราจะกลับมาพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์ของวันพุธ
#ความรู้เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง
#ความรู้เรื่องวิธีค่าFFLและSFL
#ตอนที่1

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com