ระยะการยุบตัว หรือ ที่เราเรียกกันในภาษาช่างว่า SLUMP

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาแชร์ความรู้แก่เพื่อนๆ ถึงประเด็นที่ต้องถือว่ามีความสำคัญมากอย่างหนึ่งในการทำงานก่อสร้างโครงสร้าง คสล แต่ ก็มักที่จะถูกมองข้ามไปอยู่เสมอๆ เลยนะครับ นั่นก็คือประเด็นในเรื่องของ ระยะการยุบตัว หรือ ที่เราเรียกกันในภาษาช่างว่า SLUMP นะครับ

เพื่อนๆ ทราบกันหรือไม่ครับว่าเพราะเหตุใดค่าการยุบตัว หรือ SLUMP นี้จึงมีความสำคัญมากในการทำงานก่อสร้างโครงสร้าง คสล ?

เพื่อนๆ ต้องไม่ลืมว่าในโครงสร้าง คสล นั้นนอกจาก คอนกรีต แล้วยังมี เหล็ก เป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย ดังนั้นเมื่อเราทำการเทคอนกรีตลงไปในแบบที่มีเหล็กเสริมอยู่ เราจึงต้องมั่นใจได้ว่า คุณสมบัติของวัสดุทั้งสองเมื่อรวมกันแล้วจะต้องไม่ทำให้โครงสร้างนั้นอ่อนแอลง เพื่อนๆ อาจจะมีความสงสัยว่าแล้วมันจะอ่อนแอลงได้อย่างไร ?

อย่างที่เราทราบกันดีว่าวัสดุคอนกรีตนั้นมีคุณสมบัติรับ แรงอัด ได้ดี และ มีราคาค่าวัสดุที่ ต่ำกว่า เหล็ก ส่วนวัสดุเหล็กนั้นมีคุณสมบัติรับ แรงดึง และ แรงอัด ได้ดี แต่ มีราคาค่าวัสดุที่ สูงกว่า คอนกรีต เราจึงเลือกนำทั้ง 2 วัสดุนี้มาใช้งานด้วยกัน โดยเลือกให้คอนกรีตเป็นวัสดุหลัก และ เลือกเสริมเหล็กในเฉพาะบริเวณโครงสร้างที่จำเป็นจะต้องรับแรงดึง

ปล ในบางครั้งเราก็อาจที่จะนำเหล็กไปใช้ทำการเสริมเพื่อที่จะช่วยรับ แรงอัด ส่วนเกินที่ตัวคอนกรีตเองไม่สามารถที่จะรับได้ด้วยนะครับ

ดังนั้นเพื่อให้วัสดุแต่ละตัวนั้นทำหน้าที่เด่นของตัวเองได้ดี เราจึงจำเป็นที่จะต้องแน่ใจได้ว่า ภายในโครงสร้างของเรานั้นจะต้องมีทั้ง คอนกรีต และ เหล็ก ประจำอยู่ในตำแหน่งที่ได้รับการออกแบบเอาไว้โดยผู้ออกบบงานวิศวกรรมโครงสร้างนะครับ ซึ่งแน่นอนในทุกๆ ที่ๆ ไม่มีคอนกรีตอยู่ ในตำแหน่งนั้นๆ ก็ต้องมีเหล็กเสริมอยู่ และ ในทางกลับกันในทุกๆ ที่ๆ ไม่มีเหล็กเสริมอยู่ ในตำแหน่งนั้นๆ ก็ต้องมีคอนกรีตอยู่ หรือ พูดง่ายๆ คือ ในโครงสร้าง คสล หากผู้ออกแบบไม่ได้ทำการออกแบบเอาไว้เป็นอย่างอื่น เมื่อเทคอนกรีตลงไปในแบบแล้ว นั่นก็แสดงว่าเนื้อคอนกรีตจะต้องมีเต็มอยู่ในทุกๆ ส่วนที่ไม่มีเหล็กเสริมอยู่

ดังนั้นนี่เองคือความจำเป็นของ ค่าการยุบตัว ที่มีความเหมาะสมของวัสดุคอนกรีตสำหรับการทำงานการก่อสร้างแต่ละงาน ทั้งนี้ก็เพื่อให้คอนกรีตสามารถที่จะมีความสามารถในการเทลงไปในแบบได้ (WORKABILITY) เมื่อเทลงไปแล้วไม่ได้มีความเหลวตัวจนทำให้กำลังของคอนกรีตนั้นตกหรือเสียไป และ ไม่ได้มีความข้นตัวจนไม่สามารถที่จะทำการเทลงไปในแบบได้โดยง่าย นั่นเองนะครับ

โดยรูปที่ผมนำมาฝากเพื่อนๆ ในวันนี้เป็นตารางที่แสดง ค่าการยุบตัว ที่เหมาะสมสำหรับการทำงานคอนกรีตในแต่ละงาน โดยเพื่อนๆ จะเห็นได้ว่าค่าการยุบตัวสำหรับการทำงานแต่ละงานนั้นจะมีค่าที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ก็ตามที่ผมได้อธิบายไปนะครับว่าเป็นเพราะอะไร จะเห็นได้ว่ายิ่งโครงสร้างที่เราทำงานนั้นมีความบางมากเท่าใด อาจจะทำการ กระทุ้ง หรือ การจี้ เพื่อให้การเทคอนกรีตนั้นออกมามีความแน่นตัวดี ในโครงสร้างทำได้ยากมากเพียงใด ก็จะยิ่งมีความต้องการ ค่าการยุบตัว ที่มากยิ่งขึ้นเท่านั้นนะครับ เช่น งาน CONCRETE FOR ARCH AND SIDE WALLS OF TUNNELS หรือก็คือ โครงสร้างคอนกรีตส่วนโค้งและผนังของอุโมงค์ โครงสร้างพวกนี้จะมีความต้องการ ค่าการยุบตัว สูงถึง 90 mm ถึง 100 mm เพราะ โครงสร้างผนังของอุโมงค์นั้นค่อนข้างจะมีความบางเมื่อเปรียบเทียบกับโครงสร้างอื่นๆ และ ยังมีขั้นตอนในการทำงานที่ค่อนข้างจะยากอีกด้วย ในทางกลับกันหากเปรียบเทียบกันกับงาน CONCRETE TO BE VIBRATED หรือโครงสร้างคอนกรีตที่ต้องได้รับการจี้อย่างแน่นอน โครงสร้างพวกนี้จะมีความต้องการ ค่าการยุบตัว เพียงแค่ 10 mm ถึง 25 mm เพราะ เรามั่นใจได้ว่าโครงสร้างเหล่านี้จะต้องได้รับการจี้ด้วยเครื่องสั่นอย่างแน่นอน ค่าการยุบตัว ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมากมายอะไรเป็นพิเศษ เป้นต้นนะครับ

ในวันพรุ่งนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการอธิบายถึงวิธีการในการสังเกตลักษณะของรูปแบบของวัสดุคอนกรีตเมื่อเราทำการทดสอบ ค่าการยุบตัว ด้วยนะครับ ว่าจะมีรูปแบบใดบ้าง และ แต่ละรูปแบบจะสามารถบ่งบอกคุณสมบัติที่สำคัญๆ ของคอนกรีตอะไรให้กับเราได้บ้างนะครับ เพื่อนๆ ท่านใดสนใจก็สามารถที่จะตอดตามได้นะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com