การใช้ระบบของฐานรากอาคารที่มีความแตกต่างกัน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ

เมื่อไม่กี่วันมานี้ผมได้รับคำถามเดิมๆ ที่เคยได้ทำการให้คำตอบแก่เพื่อนๆ ไปก็หลายครั้งแล้ว โดยที่ใจความของคำถามข้อนี้ก็คือ

“เป็นไปได้หรือไม่ว่าในหนึ่งอาคาร วิศวกรจะใช้ระบบของ ฐานรากแบบตื้น หรือ SHALLOW FOUNDATION ซึ่งก็ได้แก่ ฐานรากแบบวางบนดิน หรือ BEARING FOUNDATION ร่วมกันกับ ฐานรากแบบลึก หรือ DEEP FOUNDATION ซึ่งก็ได้แก่ ฐานรากแบบเสาเข็ม หรือ PILE FOUNDATION ?”

เอาละ มันคงจะเป็นความผิดของผมเองที่ไม่ได้พูดหรือระบุลงไปให้ชัดเจนเองว่าคำตอบของประเด็นคำถามข้อนี้คืออะไร ผมหวังว่าครั้งนี้น่าจะเป็นครั้งสุดท้ายแล้วและหากเจอคำถามข้อนี้อีก ผมจะได้บอกเพื่อนท่านนั้นให้มาอ่านบทความในวันนี้เพื่อเป็นคำตอบนะครับ

 

ซึ่งคำตอบของคำถามข้อนี้ก็คือ “ได้ครับ” !!! แต่ก็ต้องมีข้อแม้เช่นกันนะ !!! นั่นก็คือ

  1. ระบบโครงสร้างที่ใช้ในการก่อสร้างตัวตอม่อและฐานรากของอาคารนั้นควรที่จะทำด้วยวัสดุชนิดเดียวกันเพื่อให้แน่ใจได้จริงๆ ว่าจะไม่มีประเด็นเรื่องความยืดหยุ่นตัวของโครงสร้างที่มีความแตกต่างกันมากจนเกินไปเข้ามามีผลต่อการทรุดตัวของโครงสร้างของอาคาร
  2. ดินที่รองรับใต้ระบบของฐานรากทั้งสองแบบนั้นจะต้องมีค่าความสามารถในการต้านทานการรับน้ำหนักที่เท่าๆ กันหรืออย่างน้อยก็ควรที่จะต้องมีค่าดังกล่าวที่ใกล้เคียงกัน
  3. ดินที่รองรับใต้ระบบของฐานรากทั้งสองแบบนั้นจะต้องมีค่าความสามารถในการต้านทานการทรุดตัวที่เท่าๆ กันหรืออย่างน้อยก็ควรที่จะต้องมีค่าดังกล่าวที่ใกล้เคียงกัน

 

ผมอธิบายช้าๆ ชัดๆ ลงไปแบบนี้น่าที่จะทำให้เข้าใจได้อย่างชัดเจนแล้ว ยังไงเพื่อเป็นการเพิ่มความมั่นใจอีก ผมจะขออนุญาตเพิ่มเติมคำตอบด้วยตัวอย่างอีกสักหนึ่งตัวอย่างจากรูปในโพสต์ๆ นี้นั่นก็คือ เราจะเห็นได้ว่าฐานรากต้นทางด้านซ้ายมือก็คือ ฐานราก F1A ซึ่งเป็นฐานรากแบบวางบนดิน ส่วนฐานรากต้นทางด้านขวามือก็คือ ฐานราก F1B ซึ่งเป็นฐานรากแบบเสาเข็ม หากเพื่อนๆ สังเกตดูได้ในทุกๆ โครงการที่มีการก่อสร้าง เพื่อนๆ ก็จะพบว่าจริงๆ แล้วอาคารหนึ่งๆ นั้นไม่ได้มีขนาดที่ใหญ่โตอะไรมากมายนัก ดังนั้นหากผมจะถามว่า คุณสมบัติของดินที่อยู่ใต้ฐานราก F1A นั้นจะมีความเหมือนหรือแตกต่างออกไปจากดินที่อยู่ใต้ฐานราก F1B มากหรือน้อยสักแค่ไหนกันเชียว ?

 

ผมเชื่อว่าเพื่อนๆ ที่พอที่จะมีความรู้เรื่องวิศวกรรมปฐพีหรือวิศวกรรมฐานรากอยู่บ้างก็น่าที่จะเข้าใจและตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า แทบจะเป็นไปไมได้เลยว่าคุณสมบัติของดินใต้ฐานราก F1A และ F1B นั้นจะมีความแตกต่างกันอย่างมากมายอย่างมีนัยยะสำคัญขนาดนั้น

 

สรุปเลยก็แล้วกันว่า หากเพื่อนๆ ไม่ต้องการที่จะทำให้โครงสร้างของเพื่อนๆ นั้นเกิดปัญหาการทรุดตัวที่ไม่เท่ากันหรือหากเพื่อนๆ ไม่ต้องการที่จะทำให้โครงสร้างของเพื่อนๆ นั้นเกิดปัญหาการแยกส่วนออกจากกันหรือเกิดการดึงรั้งกัน เพื่อนๆ ก็ควรที่จะเลือกใช้ระบบฐานรากที่ทำหน้าที่ในการรองรับน้ำหนักบรรทุกของโครงสร้างที่อยู่ทางด้านบนและก็จะทำหน้าที่ในการถ่ายน้ำหนักดังกล่าวนี้ต่อลงไปสู่ดินที่อยู่ข้างล่างโดยใช้เป็น “ระบบฐานรากแบบเดียวกัน” เพราะปัจจัยในเรื่องของดินนั้นไม่ใช่ปัจจัยที่เราควรที่จะเพิกเฉยหรือมองข้ามไป มิเช่นนั้นเพื่อนๆ จะต้องประสบพบเจอเข้ากับปัญหาหนึ่งปัญหาใดตามที่ผมได้ระบุไปข้างต้นอย่างแน่นอนครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์วันพฤหัสบดี
#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็ม
#ตอบปัญหาเรื่องการใช้ระบบของฐานรากอาคารที่มีความแตกต่างกัน

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com