รอยร้าวที่เกิดขึ้น เนื่องจากอาคารเกิดการเสียรูปแบบแยกตัวหรือว่าเกิดการทรุดตัวที่มีความแตกต่างกัน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

โดยที่ผมจะนำเอาภาพของปัญหาๆ หนี่งที่พวกเรามักพบกันอยู่บ่อยๆ ในงานการก่อสร้างใหม่หรืองานก่อสร้างต่อเติมระหว่างอาคาร 2 อาคารนั่นก็คือ รอยร้าวที่เกิดขึ้นเนื่องจากอาคารทั้งสองนี้เกิดการเสียรูปแบบแยกตัวหรือว่าเกิดการทรุดตัวที่มีความแตกต่างกัน นั่นเองนะครับ

จากรูปเพื่อนๆ จะสามารถเห็นได้ว่าที่บริเวณพื้นจะมีรอยร้าวเกิดขึ้นตลอดตามความกว้างของช่องทางเดิน ซึ่งก็จะเห็นได้ว่าได้มีการพยายามที่จะซ่อมแซมรอยร้าวดังกล่าวโดยการอุดด้วยวัสดุอุดรอยร้าวแต่ถึงกระนั้นก็ไม่สามารถที่จะทำให้รอยร้าวดังกล่าวหายไปได้อยู่ดีครับ

 

จริงๆ แล้วการที่เกิดรอยร้าวดังกล่าวนี้ขึ้นก็อาจจะไม่ได้ถือว่าเป็นปัญหาในการใช้งานโครงสร้างอาคารของเราเท่าใดนักนะครับ นั่นเป็นเพราะว่ารอยร้าวดังกล่าวนี้เกิดจากการที่อาคารทั้งสองนี้เกิดการการเสียรูปแบบแยกตัวหรือว่าเกิดการทรุดตัวที่มีความแตกต่างกัน จนในที่สุดทำให้รอยต่อระหว่างทั้งสองอาคารนี้เกิดการฉีกขาดจนเห็นเป็นรอยร้าวดังกล่าวก็เท่านั้นเอง ซึ่งหากเราจะนับปัญหาที่พวกเราอาจจะต้องพบเจอได้จริงๆ ก็จะถือได้ว่ามีอยู่น้อยมากๆ เลยนะครับ เช่น รอยร้าวที่เกิดขึ้นนี้จะทำให้เกิดน้ำรั่วซึมลงไปตามรอยร้าวได้ หรือ อาจจะทำให้เกิดความหงุดหงิดรำคาญทั้งทางสายตาและการใช้งานตัวโครงสร้างอาคารในส่วนรอยต่อนี้ เป็นต้นนะครับ

 

หากเราไม่ต้องการที่จะประสบและพบเจอเข้ากับปัญหาที่มีลักษณะแบบนี้ ก็อาจที่จะทำตามวิธีการดังต่อไปนี้ก็ได้ เช่น เราจำเป็นที่จะต้องทำการก่อสร้างอาคารทั้งสองนี้ให้อยู่บนระบบโครงสร้างฐานรากที่มีค่าความแข็งแกร่งหรือว่าค่า STIFFNESS ที่มีความใกล้เคียงหรือเท่าๆ กัน ซึ่งก็จะถือว่าวิธีการนี้จะทำได้ยากมากๆ อีกทั้งยังค่อนข้างมีความสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างเป็นอย่างมากอีกด้วย อีกวิธีการหนึ่งก็คือ ให้เราทำการแยกส่วนของโครงสร้างหรือทำให้รอยต่อนี้ ให้แยกออกจากกันโดยสิ้นเชิงเลย ทั้งนี้ก็เพื่อให้พื้นโครงสร้างที่ทำหน้าที่เชื่อมอาคารส่วนนี้เกิดความอิสระ เมื่ออาคารหนึ่งอาคารใดของเราเกิดการเสียรูปไป ก็จะไม่ทำให้เกิดการแตกร้าวอันเนื่องมาจากการเสียรูปที่มีความแตกต่างกันในระหว่างอาคารทั้งสองอาคาร ซึ่งหากพิจารณาดูดีๆ แล้วก็จะพบว่าวิธีการๆ นี้น่าที่จะมีความเป็นไปได้ในการทำการก่อสร้างมากกว่าวิธีการแรกค่อนข้างมากเพราะเราสามารถที่จะทำกากร่อสร้างได้ง่ายกว่า อีกทั้งวิธีการนี้ยังมีความประหยัดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างได้เป็นอย่างมากอีกด้วย เป็นต้นครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์ของวันอังคาร
#ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ
#ปัญหาเรื่องรอยร้าวที่เกิดขึ้นเนื่องจากอาคารทั้งสองนี้เกิดการเสียรูปแบบแยกตัวหรือว่าเกิดการทรุดตัวที่มีความแตกต่างกันตอนที่หนึ่ง

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com