การออกแบบวิศวกรรมงานดินและฐานราก (GEOTECHNICAL & FOUNDATION ENGINEERING DESIGN หรือ GFE)

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การออกแบบวิศวกรรมงานดินและฐานราก (GEOTECHNICAL & FOUNDATION ENGINEERING DESIGN หรือ GFE) นะครับ

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาตอบคำถามของพี่ชายสุดที่รักของผมท่านหนึ่งที่เป็นวิศวกรเหมือนกันกับผม โดยที่ท่านได้ฝากคำถามเอาไว้ทางหลังไมค์ว่า

“ดีนครับ ขอปรึกษาเรื่องฐานรากนะครับ พี่มีฐานรากขนาด 700×700 มม ความลึก 800 มม แต่ ผรม มีการทำ แบบหล่อ ออกมามีขนาดใหญ่กว่าที่ได้ทำการออกแบบเอาไว้ คือ 700 x 800 มม แต่ ขนาดความลึกยังคงเท่าเดิม

อยากสอบถามว่าหากว่าระยะ COVERING นั้นมีขนาดที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น จะมีผลดี ผลเสีย หรือไม่ต่อโครงสร้างของฐานรากครับ ?”

ก่อนอื่นผมขอชื่นชมพี่ชายท่านนี้ก่อนนะครับ เพราะ คำถามๆ นี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงความใส่ใจในรายละเอียดของการทำงานการตรวจสอบและควบคุมการทำงานของผู้ควบคุมงานได้เป็นอย่างดี ขอชื่นชมนะครับพี่

ก่อนอื่นผมต้องขอเรียนว่าในการทำงานทุกๆ อย่างในการก่อสร้างย่อมที่จะเกิดระยะคลาดเคลื่อน (TOLERANCE) ขึ้นดังนั้นหากระยะความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นนี้ยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานงานก่อสร้างทีได้มีการกำหนดเอาไว้สำหรับการก่อสร้างในโครงการนั้นๆ แล้ว ย่อมถือว่าความคลาดเคลื่อนนั้นๆ ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้อยู่ โดยที่ผู้ควบคุมงานไม่ต้องกังวลใดๆ ไปนะครับ แต่ หากว่าระยะความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นนี้มีค่ามากจนเกินไปจากมาตรฐานทีได้มีการกำหนดเอาไว้ตั้งแต่แรก ก็อาจที่จะจำเป็นต้องทำการแจ้งเพื่อสอบถามกลับไปยังผู้ออกแบบ เพื่อหาแนวทางในการทำงานที่มีความถูกต้องและปลอดภัยต่อไปนะครับ

มาเข้าสู่ประเด็นคำถามของเราบ้างนะครับ หากเราพบว่าขนาดของฐานรากที่หน้างานนั้นมีขนาด ใหญ่กว่า ที่ทางผู้ออกแบบได้ทำการออกแบบเอาไว้ แสดงว่าระยะ COVERING นั้นเพิ่มมากยิ่งขึ้น หากระยะคอนกรีตที่หุ้มเหล็กเสริมในโครงสร้างที่อยู่ใต้ดินซึ่งมีโอกาสที่จะต้องอยู่กับความชื้นตลอดเวลาย่อมต้องส่งผลดีต่อตัวโครงสร้างอยู่แล้วครับ แค่ สิ่งที่อาจจะต้องทำการตรวจสอบสักเล็กน้อยทั้งนี้ก็เพื่อความแน่ใจจริง คือ

(1) เราควรที่จะต้องทำการตรวจสอบดูว่า SAFE LOAD ในเสาเข็มนั้นจะเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้หรือไม่? เพราะ ระยะที่เพิ่มเติมขึ้นมาจากการทำงานจริงๆ จากทีได้ทำการออกแบบเอาไว้ย่อมที่เป็นการเพิ่มเติม นน เข้าไปให้แก่ตัวฐานราก จะมากหรือน้อยก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง พูดง่ายๆ คือ เราควรที่จะต้องทำการตรวจสอบดูว่าในการคำนวณการรับ นน ของฐานรากนั้นได้มีการเผื่อ นน เอาไว้ในสัดส่วนที่มากหรือน้อย หรือ เป็นสัดส่วนที่เหมาะสมมากน้อยเพียงใด เพราะ ปกติแล้วโดยส่วนตัวนั้นผมจะใช้ค่าสัดส่วนการเผื่อเอาไว้ไม่น้อยกว่า 10% ถึง 20% เช่น SAFE LOAD ของฐานรากเท่ากับ 90 ตัน นน แสดงว่าจริงๆ แล้ว นน ที่เราจะสามารถทำการออกแบบตัวฐานรากได้จริงๆ จะต้องมีค่าไม่เกิน 90/1.1 = 82 ตัน เป็นต้นครับ ซึ่งประเด็นนี้ทางผู้ควบคุมงานอาจที่จะไม่ทราบว่าผู้ออกแบบนั้นเผื่อเอาไว้มากน้อยเพียงใด จึงอาจต้องทำการปรึกษาไปยังผู้ออกแบบเสียก่อนนะครับ

(2) เราควรที่จะทำการตรวจสอบดูว่าระยะและขนาดของฐานรากที่เพิ่มเติมขึ้นมานั้นจะส่งผลใดๆ ต่อเหล็กเสริมในฐานรากด้วยหรือไม่ ? เช่น เหล็กเสริมหลักที่ใช้เพื่อรับโมเมนต์ในฐานราก เหตุการณ์แบบนี้มักจะเกิดขึ้นเฉพาะในกรณีที่ฐานรากนั้นมีขนาดใหญ่มากๆ เท่านั้นเป็นเพราะว่า นน ของฐานรากที่เพิ่มสูงขึ้นจะทำให้ REACTIONS ในตัวฐานรากนั้นเพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งก็จะส่งผลทำให้โมเมนต์และแรงเฉือนที่เกิดขึ้นในฐานรากเพิ่มมากยิ่งขึ้นด้วย เหล็กเสริมรองที่ใช้เพื่อป้องกันการแตกร้าวในฐานราก เหตุการณ์แบบนี้มักจะเกิดขึ้นเฉพาะในกรณีที่เหล็กเสริมหลักภายในฐานรากนั้นถูกคำนวณออกมาแล้วมีค่าที่ น้อย ดังนั้นปริมาณของเหล็กเสริมจึงถูกควบคุมไว้ด้วยปริมาณเหล็กเสริมขั้นต่ำ (MINIMUM REINFORCEMENT) ซึ่งสำหรับฐานรากก็คือ เหล็กเสริมกันแตกร้าว (TEMPERATURE STEEL) ทั้งนี้เป็นเพราะว่าขนาดของตัวฐานรากที่เพิ่มสูงขึ้น ย่อมที่จะส่งผลทำให้ฐานรากต้องการเหล็กเสริมกันแตกร้าวในปริมาณที่เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย เป็นต้น ซึ่งประเด็นนี้ทางผู้ควบคุมงานอาจที่จะพอทำการคำนวณตรวจสอบด้วยตัวเองได้นะครับ

เอาเป็นว่าในการควบคุมงานการทำงานเข้า แบบหล่อ ที่หน้างานนั้นผมก็อยากที่จะให้คำแนะนำไว้ว่าให้เราพยายามควบคุมการทำงานให้ทาง ผรม นั้นทำตามแบบที่ทางผู้ออกแบบได้ทำการออกแบบไว้ตั้งแต่ทีแรกก็จะเป็นการดีที่สุดนะครับ หากว่าเราพยามหลีกเลี่ยงความผิดพลาดแล้วก็ยังเกิดความผิดพลาดคลาดเคลื่อนขึ้นอีก ก็ควรทำการตรวจสอบดูว่าความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นนั้นยังอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้หรือไม่ ? หากยังเกินอยู่อีกก็อาจที่จะต้องสอบถามไปยังผู้ออกแบบเพื่อที่จะสอบถามแนวทางในการแก้ไข หรือ อาจที่ต้องสั่งรื้อเพื่อทำแบบหล่อใหม่ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจและวิจารณญาณของทางวิศวกรผู้ควบคุมงานเป็นหลักนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com