การออกแบบการสั่น อันเนื่องมาจากเครื่องจักร

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ตามที่ผมได้รับปากกับเพื่อนๆ เอาไว้เมื่อสัปดาห์ก่อนว่าในวันนี้ผมจะขออนุญาตนำเอาเรื่องราวรายละเอียดต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่องการออกแบบการสั่นอันเนื่องมาจากเครื่องจักรเอามามาพูดถึงและอธิบายให้แก่เพื่อนๆ ให้มีความรู้และความเข้าใจที่มากยิ่งขึ้นและหากจะว่ากันด้วยเรื่องรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกันกับเรื่องๆ นี้แล้วเนื้อหาทั้งหมดของมันนั้นมีอยู่ด้วยกันค่อนข้างที่จะเยอะมากเลยทีเดียว ดังนั้นเพื่อให้การโพสต์ตลอดก่อนที่จะถึงช่วงปีใหม่นั้นมีความกระชับและได้ประโยชน์สูงสุดผมจึงจะขออนุญาตเลือกหัวข้อที่มีความสำคัญมาก 2 ประเด็นมาพูดถึงนั่นก็คือ
1. รูปแบบของการสั่นสะเทือนและวิธีในการทำการตรวจวัดการสั่นสะเทือนของเครื่องจักร
2. รูปแบบและวิธีแก้ไขการสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากเครื่องจักร

ซึ่งในสัปดาห์นี้ก็คือวันศุกร์ที่ 18 และในสัปดาห์สุดท้ายก็คือวันศุกร์ที่ 25 ซึ่งก็จะถือได้ว่าเป็นวันศุกร์สุดท้ายของปี พ.ศ. 2563 แล้ว เราก็น่าที่จะสามารถจบหัวข้อๆ นี้ได้แบบพอดิบพอดีเลย ดังนั้นในวันนี้เราจะมาพูดถึงหัวข้อที่ 1 นั่นก็คือ รูปแบบของการสั่นสะเทือนและวิธีในการทำการตรวจวัดการสั่นสะเทือนของเครื่องจักร กันก่อนเลยก็แล้วกันนะครับ
จริงๆ แล้วหากเป็นเพื่อนๆ ที่เป็นแฟนเพจขาประจำของคลิปในทุกๆ วันศุกร์น่าที่จะพอเข้าใจได้ว่าหากเราพูดถึงรูปแบบของการสั่นนั้นจะมีอยู่ด้วยกันเพียงไม่กี่รูปแบบเท่านั้น สำหรับกรณีของเครื่องจักรก็เช่นเดียวกันเพียงแต่ก็แน่นอนว่าเครื่องจักรนั้นจะมีรูปแบบของการสั่นเพียงแค่ 3 รูปแบบหลักๆ นั่นก็คือ

รูปแบบที่ 1 การสั่นตัวในรูปแบบที่มีความอิสระ หรือ FREE VIBRATION MODE ซึ่งรูปแบบของการสั่นแบบนี้ก็จะมีทิศทางในการสั่นตามชื่อของมันเลยนั่นก็คือ เกิดการสั่นได้โดยอิสระเลย ซึ่งรูปแบบของการสั่นนั้นก็จะเกิดขึ้นตามทิศทางของแรงขับที่ออกมาจากแหล่งกำเนิดพลังงานของเครื่องจักรนั้นๆ ซึ่งจุดสังเกตง่ายๆ อย่างหนึ่งของรูปแบบของการสั่นแบบนี้ก็คือ ส่วนใหญ่แล้วเครื่องจักรที่จะเกิดการสั่นในรูปแบบๆ นี้ได้ประมาณร้อยละ 90 ก็มักจะเกิดจากการที่เครื่องจักรนั้นๆ มีการวางตัวอยู่บนฐานรากหรือจุดรองรับที่จะมีลักษณะเป็น แบบมีความยืดหยุ่น หรือ FLEXIBLE FOUNDATION นะครับ

รูปแบบที่ 2 การสั่นตัวในรูปแบบ ซ้อนทับ หรือ ขบทับกัน หรือ MESHING VIBRATION หรืออาจจะเรียกได้อีกในชื่อหนึ่งว่าเป็นแบบเคลื่อนที่ผ่าน หรือ PASSING VIBRATION ก็ได้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วรูปแบบของการสั่นของเครื่องจักรแบบนี้จะเกิดขึ้นเนื่องจาก การทำงานของเครื่องจักรที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยแรงขับ หรือ หมุนหรือเคลื่อนที่ผ่านอย่างต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาที่ค่อนข้างจะมีความยาวนานในระดับหนึ่ง เช่น รูปแบบการสั่นของเฟืองที่ขบกัน รูปแบบการสั่นของใบพัดในเครื่องจักรที่หมุนผ่านอย่างตลอดและต่อเนื่องและยาวนานมากๆ เป็นต้นนะครับ
รูปแบบสุดท้ายก็คือรูปแบบที่ 3 การสั่นตัวเนื่องมาจากแรงเสียดทาน หรือ FRICTIONAL VIBRATION ซึ่งรูปแบบของการสั่นแบบนี้ก็จะเกิดขึ้นเนื่องมาจากแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นจากการหมุนโดยรอบหรือเคลื่อนที่ผ่านไปมาของชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องจักรนั่นเอง เช่น การหมุนโดยรอบ หรือ การเคลื่อนที่ผ่านไปมาของลูกปืนหรือตลับลูกปืน หรือ การเคลื่อนไถลของชิ้นส่วนที่ทำหน้าที่ในการรองรับการหมุนของเครื่องจักร เป็นต้น ซึ่งรูปแบบของการสั่นแบบนี้ก็มักจะเกิดจากการที่คนใช้งานเครื่องจักรนั้นขาดการดูแลรักษาเครื่องจักรอย่างเหมาะสมและดีเพียงพอเป็นหลักนะครับ
ซึ่งไม่ว่าการสั่นของเครื่องจักรนั้นจะเกิดจากเหตุผลกลใดจากทั้ง 3 วิธีการหลักๆ ข้างต้นก็ตามเราจะมีวิธีหลักๆ ในการทำการตรวจวัดการสั่นของเครื่องจักรได้จาก 2 วิธีการหลักๆ ดังต่อไปนี้

วิธีการที่ 1 ซึ่งเรามีชื่อเรียกการทดสอบว่า PROXIMITY MONITORING TEST ซึ่งวิธีในการทดสอบอาจจะเริ่มต้นทำได้โดยการติดตั้งอุปกรณ์การตรวจวัดเข้าไปในระบบภายในตำแหน่งที่คาดว่าการสั่นนั้นจะเกิดแบบมีความรุนแรงสูงที่สุดก่อน จากนั้นก็ทำการติดตั้งตัวอุปกรณ์ตรวจวัดในแต่ละแบริ่งเพื่อที่จะได้สามารถวัดระยะห่างระหว่างแกนหมุนกับแบริ่งออกมาให้ได้ หลังจากนั้นก็เริ่มต้นการตรวจวัด โดยที่จะต้องทำการตรวจสอบค่าการสั่นโดยรวมตลอดเวลาว่ามีอยู่ในระดับที่เรายอมรับได้หรือไม่ รวมถึงจะต้องทำการตรวจวัดอื่นๆ ด้วย เช่น เฟสของเครื่องจักรมีค่าเท่ากับเท่าใด มวลที่กระจายตัวอยู่ซึ่งอาจจะทำให้เครื่องจักรนั้นมีการทำงานแบบไม่สมดุลนั้นอยู่ในตำแหน่งใด เป็นต้น จะเห็นได้ว่าการทดสอบโดยวิธีการๆ นี้จะค่อนข้างมีความสลับซับซ้อนมากพอสมควร จะต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดเข้าไปในหลายๆ ตำแหน่งของเครื่องจักร นั่นจึงทำให้วิธีการนี้มีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้กับเครื่องจักรที่ค่อนข้างจะมีความสำคัญมากๆ หรือจะมีขนาดของเครื่องจักรเองที่ค่อนข้างจะใหญ่ในระดับหนึ่งนะครับ

วิธีการที่ 2 ซึ่งเรามีชื่อเรียกการทดสอบว่า SEISMIC MONITORING TEST ซึ่งวิธีในการทดสอบนี้จะทำได้ง่ายดายกว่าการทดสอบแบบแรกค่อนข้างมากเลย ดังนั้นในทางปฏิบัติแล้ววิธีการนี้จึงเป็นวิธีการที่นิยมนำมาใช้งานมากที่สุดเพราะว่าการทดสอบด้วยวิธีการๆ นี้จะมีความเหมาะสมต่อการนำไปใช้ในการทดสอบตัวเครื่องจักรที่จัดได้ว่าอยู่ในกรณีของเครื่องจักรที่มีการใช้งานอยู่ในเกณฑ์ทั่วๆ ไปหรือว่าตัวเครื่องจักรเองนั้นอาจจะไม่ได้มีขนาดใหญ่โตอะไรมากมายนัก ส่วนการทดสอบนั้นก็จะค่อนข้างมีความง่ายดายมากโดยอาจจะเริ่มต้นจากการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดที่ผิวด้านนอกของแบริ่งหลังจากนั้นก็ทำการตรวจวัดค่า MAXIMUM ABSOLUTE VIBRATION ที่เกิดขึ้นในตัวเครื่องจักรนั่นเองครับ
เอาเป็นว่าวันนี้ผมขอสรุปเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกันกับรูปแบบของการสั่นสะเทือนและวิธีในการทำการตรวจวัดการสั่นสะเทือนของเครื่องจักรเอาไว้เพียงเท่านี้ ไม่อย่างนั้นเนื้อหาในวันนี้มันคงจะยืดเยื้อและน่าเบื่อจนเกินไปและในสัปดาห์หน้าผมก็จะขออนุญาตนำเอาเรื่องราวรายละเอียดต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่องรูปแบบและวิธีแก้ไขการสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นเนื่องจากเครื่องจักรมาพูดถึงและอธิบายให้แก่เพื่อนๆ ให้มีความรู้และความเข้าใจที่มากยิ่งขึ้นเป็นหัวข้อสุดท้ายของปีนี้ หากเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจเนื้อเรื่องเกี่ยวกับหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษ ก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความเกี่ยวกับเรื่องๆ นี้ของผมได้ในการพบกันในครั้งต่อไปของเราได้นะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันศุกร์
#ความรู้เรื่องวิศวกรรมการคำนวณ
#การวิเคราะห์โครงสร้างเชิงพลศาสตร์
#สรุปขั้นตอนที่มีความสำคัญของการออกแบบการสั่นอันเนื่องมาจากเครื่องจักร
#ครั้งที่1
ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com